
การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ
หลายคนเคยมีอาการมือไม้สั่นขณะตื่นเต้นซึ่งทุกคนมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่อาการมือสั่นบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณกำลังมีความผิดปกติทางระบบประสาท อาการมือสั่นสามารถจำแนกออกเป็นหลายรูปแบบ ทั้งแบบปกติ และไม่ปกติ ดังนั้นเราจึงควรทราบว่าลักษณะใดที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ เพื่อให้เราคอยหมั่นตรวจสอบตนเองและคนรอบข้าง
ลักษณะของอาการมือสั่นมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะบ่งบอกตำแหน่งความผิดปกติทางระบบประสาทที่แตกต่างกันออกไป สำหรับบทความนี้จะขอหยิบยกลักษณะอาการมือสั่นที่พบได้บ่อย ซึ่งมีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้

การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ
ลักษณะที่ 1 อาการมือสั่นขณะที่ร่างกายอยู่เฉยๆ ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะขยับ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนี้ได้หรือที่เรียกว่า Resting tremor เป็นหนึ่งในลักษณะอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วน substantia nigra ที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine)
ลักษณะที่ 2 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อตั้งใจจะเคลื่อนไหวหรือมีเป้าหมายในการเคลื่อนไหว เช่น การเอื้อมมือหยิบสิ่งของ ในทางการแพทย์เรียกว่า Intention tremor อาการนี้มักพบความผิดปกติของสมองส่วน Cerebellum (สมองน้อย) หรือส่วนก้านสมอง (Brain stem) ซึ่งอาจเกิดในกรณีที่สมองส่วนนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีเนื้องอก หรืออาจพบได้ในผู้ป่วยที่ทานยากันชักเกินขนาด หรือคนที่ติดสุราเรื้อรัง
ลักษณะที่ 3 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อแขนหรือขาอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วงโลก หรือ Postural tremor เป็นอาการที่มีสาเหตุจากภาวะเครียด,ตื่นเต้น, ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal) นอกจากนี้อาจเป็นลักษณะของโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุ (Essential tremor)
ลักษณะที่ 4 อาการสั่นจากสภาวะจิตใจ หรือ Psychogenic tremor เป็นอาการสั่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใด อาการสามารถดีขึ้นได้เอง เป็นการสั่นที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เมื่อไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นอาการสั่นจะดีขึ้น ลักษณะนี้เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง
จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นว่าอาการมือสั่นมีหลากหลายรูปแบบซึ่งมีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพที่แตกต่างกัน การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้รับแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้น การหมั่นสังเกตอาการดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับท่านเองและเพื่อคนที่ท่านรัก
หลังจากที่ทราบลักษณะอาการมือสั่นรูปแบบต่างๆ แล้ว ลำดับถัดไปจะขอนำเสนอรอยโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการในแต่ละลักษณะ เริ่มจากอาการแรก นั่นคือ
อาการมือสั่นจากโรคพาร์กินสัน หรือ Resting tremor เป็นอาการสั่นขณะร่างกายอยู่เฉยๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะอาการที่จะพบได้ในผู้ปวยโรคพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสันมักพบมากในผู้ที่มีอายุ 55-60 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยเช่นกัน เรียกว่า Young-onset Parkinson’s disease (YOPD) โรคนี้พบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีอาการเหมือนผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แต่มีการดำเนินโรคที่ต่างกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาความผิดปกติทางการรับรู้ และมีปัญหาการเดินน้อยกว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอายุมาก แต่ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อการรักษาทางยาไม่ดี ดังนั้นทำให้การดำเนินโรคค่อนข้างเร็วกว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอายุมาก
เมื่อพูดถึงโรคพาร์กินสันแล้ว หลายคนจะนึกถึงอาการมือสั่นเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริงแล้วการเสื่อมของ Substantia nigra ทำให้การผลิตสารสื่อประสาท dopamine ลดลง ซึ่งเป็นสารที่เชื่อมโยงไปยังสมองส่วน Corpus striatum ทำให้การควบคุมการทำงานและการประสานงานของกล้ามเนื้อลดลง
นอกจากอาการสั่นขณะอยู่เฉยๆ แล้ว ผู้ป่วยยังแสดงอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia), อาการแข็งเกร็ง (Ragidity) และอาการทรงตัวไม่มั่นคง (Postural instability) ในการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันต้องมีลักษณะอาการอย่างน้อย 3 ใน 4 ของอาการที่กล่าวมา อาการเหล่านี้ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเป็นไปได้ยาก เช่น ลุกขึ้นยืนยาก, หยิบจับสิ่งของได้ลำบาก หรือ เดินไม่มั่นคง ซึ่งลักษณะการเดินจะเป็นแบบเดินซอยเท้าถี่ๆ (Shuffle), โน้มตัวไปด้านหน้า (Festination) หรือก้าวขาไม่ออกเหมือนเท้าติดอยู่กับพื้น (Freezing gait)
การรักษา
ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ทำให้อาการหายขาดได้ เนื่องจากส่วนของสมองที่เสื่อมไปแล้วไม่สามารถฟื้นตัวหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นจึงทำได้เพียงเพิ่มสารสื่อประสาท dopamine ในสมองให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ยาที่ใช้ในปัจจุบันคือ ยากลุ่ม LEVODOPA และ DOPAMINE AGONIST นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว การทำกายภาพบำบัดจะเป็นอีกแนวทางการรักษาหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยชะลอการดำเนินโรคให้เกิดช้าลงด้วย แนวทาวการรักษาทางกายภาพบำบัดเน้นการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ, ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวของแขนและขา, การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ, การฝึกการทรงตัวขณะยืนและเดิน เป็นต้น

อาการผู้ป่วยพาร์กินสัน
การรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เริ่มแรกต้องรักษาตามพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดความผิดปกติของสมองน้อย (Cerebellum) เมื่ออาการคงที่แล้ว การฟื้นฟูร่างกายเป็นสิ่งสำคัญในลำดับถัดมา ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักกายภาพบำบัดที่จะทำการฟื้นฟูร่างกายให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่สูญเสียการควบคุมให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งร่วมกับการฝึกการทรงตัว
ลักษณะการสั่นลำดับถัดไปคือ Postural tremor อาการสั่นที่เกิดเมื่อแขนหรือขาอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วง เป็นลักษณะที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรืออยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุ (Essential tremor) โดยทั่วไป อาการมักใกล้เคียงกับอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้ดังนี้
ในด้านการรักษา หากมีอาการสั่นไม่มากจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เพียงแต่พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้น การฝึกสมาธิทำให้เกิดความผ่อนคลายช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ถ้ามีอาการสั่นมากอาจต้องใช้ยาเพื่อความคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาการสั่นอาจทำให้เสียบุคลิกภาพและทำให้ขาดความมั่นใจในการทำกิจกรรม
ลักษณะสุดท้ายอาการมือสั่นจากสภาวะทางจิต เป็นลักษณะอาการสั่นที่มีลักษณะแตกต่างจากการสั่นประเภทอื่น ดังนี้
- เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด อยู่ๆ ก็สั่นขึ้นเอง
- มีลักษณะอาการสั่นหลายรูปแบบ อาจจะสั่นขณะอยู่เฉยๆ หรือขณะอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วง หรือขณะตั้งใจทำการเคลื่อนไหว
- อาการสั่นลดลงเมื่อมีสิ่งรบกวน หรือสูญเสียสมาธิ
- การสั่นมีหลากหลายความถี่
- มีอาการอื่นร่วมด้วย นอกจากอาการสั่น
ในด้านการรักษา ไม่มียาที่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ ทางกายภาพบำบัดสามารถช่วยในด้านการให้คำแนะนำ การป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะข้อติดแข็งจากการเคลื่อนไหวร่างกายไม่สุดการเคลื่อนไหว อาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์