ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-สาขาพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ แบริ่ง 36


Leave a comment

ภาวะติดเชื้อที่ปอดในผู้สูงอายุ(Pneumonia)

images (1)

โรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อที่สามารถเกิดแรกซ้อนในผู้สูงอายุ วัยทำงานและเด็ก
สำหรับบุคคลส่วนใหญ่สามารถรักษาเองได้บ้าน ทานยา พักผ่อน หายภายใน1-2 สัปดาห์
แต่จะส่งผลได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุทารกอาจต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
การได้รับเชื้อโรคอาจเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสก็ได้ที่จะก่อให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อ
ผู้สูงอายุอาจมีโรคเรื้อรังอื่นรวมด้วยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายเช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ภาวะสำลักในผู้สูงอายุ
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สาเหตุ
1.การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปเช่น ไข้หวัดสายพันธ์ุเอ
2.หายใจแบคทีเรียจากจมูกและคอลงปอด
3.การสำลักอาหารและน้ำจากกระเพาะอาหารหรือการสำลักอาเจียนเข้าไปในปอด เนื่องจากมีปัญหาการกลืน(โรคหลอดเลือดสมอง,การชัก)
4.การเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)

อาการ
1.ในบุคคลวัยทำงานมักเริ่มจากเป็นไข้หวัด ไอจาม ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
2.ไอมีเสมหะเป็นสีเขียวหรือสีสนิมมีเลือปน
3.มีไข้สูง-หนาวสั่น
4.หายใจเร็วตื้น
5.เจ็บหน้าอกจากการไอมากๆหรือจาม
6.ชีพจรเต้นเร็วขึ้น
7.รู้สึกเหนื่อยมาก
8.คลื้นไส้อาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรค
1.ประวัติทางการแพทย์(โรคถุงลมโป่งพอง,ภูมิคุ้มกันบกพร่อง,หอบหืด)
2.การตรวจทางร่างกาย(จมูก,คอ,ระบบการกลืน)
3.การ ถ่ายภาพรังสีปอด
4.ตรวจสอบประเภทของเชื้อโรคจากสิ่งคัดหลั่ง น้ำมูก เสมหะเป็นต้น

การรักษา
1.การใช้ยาปฏิชีวนะ
2.ถ้าสูงอายุ>60ปี มีอาการพร่องออกซิเจน มีการให้ออกซิเจน Keep O2>95%
3.มีการดูดเสมหะในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถ ไออกเองได้
4.ในกรณีมีภาวะพร่องการกลืนจากโรคหลอดเลือดสมองแพทย์อาจพิจารณาให้อาหารทางสายยาง
5.ตรวจติดตามภาพรังสีของปอดเป็นระยะ

การป้องกัน
1.หลีกเลียงคนที่มีภาวะติดเชื้อ
2.อยู่ห่างจากบุคคลที่เป็นไข้หวัด(ญาติงดเยี่ยมหรือใส่หน้ากากอนามัย)
3.แจ้งเจ้าหน้าที่ดูแลทุกครั้งเพื่อขอคำแนะนำขณะเข้าเยี่ยม
4.ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด                                                                                                                          5.เฝ้าระวังในผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดสมองตีบ อาจมีภาวะแทรกซ้อน ปอดอักแสบ                                  6.มีปัญหาภาวะการกลืน สำลัก

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

 www.nursingthailand.org


3 Comments >

 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

          ห้างหุ้นส่วนแสนสิริ โฮม แคร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท มีปัญหาด้านหารช่วยเหลือตนเอง โดยเน้นการดูแลเสมือนบ้าน บรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ สะอาด ถูกหลักอนามัย โดยมีพยาบาลวิชาชีพดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีบุคลากรทางสุขภาพที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ อาทิเช่น นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ ยินดีให้บริการทุกท่านทั้ง  4 สาขา

สาขาสุขุมวิท107 (ซอยแบริ่ง 17บ้านเดี่ยว)

สาขาแบริ่ง 36

สาขาอนามัยงามเจริญ 23

รายละเอียดการบริการ

1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 18000/เดือน

(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000-25000/เดือน)

อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2800บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณสุธัญญา 090-569-7945
สาขาแบริ่ง 36 TEL.096-405-1562,02-051-5283

สาขาพระราม 2  TEL.02-003-2424

สาขาอนามัยงามเจริญ 23  095-869-3595

Website www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

www.sansirihomecare.com

http://sansiri-homecare.blogspot.com/

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ สาขาอนามัยงามเจริญ 23 พร้อมเปิดให้บริการสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว ต้องทานยาต่อเนื่องและควบคุมอาหาร ทั้งเบาหวาน ความมดัน ทำกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวช่วยเหลือตัวเองได้น้อย โดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ดูแลต่อเนื่องทุกอาทิตย์ (วัน จ-ศ จะมีพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลทำกายภาพต่อเนื่องตามคำแนะนำของนักกายภาพวิชาชีพ)

สภาพอาคารชั้นเดียว พื้นที่ 300 ตรว. เป็นห้องแอร์ ทีวี น้ำอุ่น กว้าง โปร่ง มีสวน ลานออกกำลังกาย เดินเล่น

แผนที่ศูนย์ดูแลแสนสิริ โฮมแคร์ ทั้ง4 สาขา


Leave a comment

กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์ เล็งเห็นประโยชน์การทำกายภาพบำบัดออกกำลังกาย ที่มีต่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยทุกแบบ จึงดำเนินการเปิดศูนย์กายภาพบำบัดโดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพประจำ ที่เน้นการดูแลฟื้นฟู โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิกกายภาพซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลา ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ

ราคาการทำกายภาพสำหรับลูกค้าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

Slide1

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและคลีนิกกายภาพบำบัด 096-405-1562

การทำกายภาพบำบัด มีผลต่อการทำงานของร่างกายแล้ว จะเห็นได้ว่า การออกกำลังสามารถทำให้ผู้สูงอายุ มีสมรรถภาพ ทางร่างกายดีขึ้น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และสามารถฟื้นฟูอวัยวะที่เสื่อมไปแล้วให้ดีขึ้นได้

                       ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อร่างกายผู้สูงอายุ อาจสรุปได้ดังนี้

1.    ทำให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
2.    ทำให้มีสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ สูง ทำงานต่าง ๆ ได้มากขึ้น ความเหนื่อย มีน้อยลง แรงกล้าม           เนื้อมากขึ้น ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง การทรงตัว
3.    ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวและทรวดทรง
4.    ป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อม เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคความดันเลือดสูงโรคข้อเสื่อมต่าง ๆ
5.    ช่วยฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีโรคจากความเสื่อม เช่น เส้นเลือดสมองทำให้มีอาการอ่อนแรงหรือฟื้นฟูหลัง             ผ่าตัด

6.   ผู้ป่วยฟื้นฟูและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุติดเตียงที่มีภาวะเสี่ยงข้อติด กล้ามเนื้อฝ่อ          ลีบ ปอดขยายตัวได้น้อย

7.   ช่วยควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงการออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น ลดภาวะ            พึ่งพาอินซูลิน และทำให้น้ำหนักลด

การทำกายภาพสำหรับลูกค้าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.sansiriphysiotherapy.com

www.sansirihomecare.com


Leave a comment

ภาวะพร่องโภชนาการ

S__14409730

ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มที่

2. ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition)
หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น

ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (under nutrition or nutritional deficiency) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน(kwashiorkor)โรคขาดพลังงาน (marasmus)หรือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (marasmic-kwashiorkor) โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น โรคเหน็บชา คอพอก
2.ภาวะโภชนาการเกิน (over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ เช่น การได้รับวิตามิน เอ และ ดี มากเกินความต้องการของร่างกาย และร่างกายเก็บสะสมไว้ทำให้เกิดภาวะไฮเปอร์วิตามินโนซีส เอ และ ดี (hyper vitaminosis A และ D)

สนใจขอคำแนะนะเพิ่มเติม TLE.090-569-7945

http://www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

 


Leave a comment

ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ

     467478309.jpg

       ภาวะกลืนลำบากเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน เช่น เป็นสาเหตุของการหายใจขัด ไอ หายใจไม่ออก ทั้งยังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะขาดน้ำ ขาอาหาร การสำลักอาหารเข้าปอดทำให้เกิดการติดเชื้อ มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นบ่อยๆ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงสำคัญมาก ได้รับเกียรติจาก คุณสมจิต รวมสุข นักกิจกรรมบำบัด หัวหน้างานแก้ไขการพูด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาแนะนำขั้นตอนและแนวทางการฟื้นฟูอันเป็นประโยชน์ ทั้งต่อผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล

ภาวะกลืนลำบาก หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยประสบความยากลำบากในการเริ่มต้นกลืนอาหาร หรือความยากลำบากในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลว จากปากให้ผ่านคอหอย และหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะกลืนลำบาก ได้แก่ ไม่สามารถกลืนได้ มีอาหารตกค้างกระพุ้งแก้ม รู้สึกเจ็บขณะกลืน มีน้ำลายไหล เสียงแหบเครือหลังการกลืน อาหารไหลย้อนกลับออกทางปาก และไอหรือสำลักขณะกลืน เป็นต้น

devour.jpg

ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแก้ไขปัญหาการกลืน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นในระยะใดของขั้นตอนการกลืน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่

• ระยะช่องปาก (Oral phase) เป็นระยะของการบดเคี้ยวและคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายภายในช่องปาก  ทำให้อาหารชิ้นเล็กลงเหมาะกับการกลืน โดยมีลิ้นช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากช่องปาก ไปยังคอหอยและหลอดอาหาร

• ระยะคอหอย (Pharyngeal phase) เป็นระยะที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารผ่านต่อมทอนซิลลงมายังคอหอย กล้ามเนื้อหลายมัดบริเวณคอหอยจะถูกกระตุ้นให้ทำงานร่วมกัน โดยหดตัวรับอาหารต่อจากลิ้นแล้วส่งต่อไปยังหลอดอาหาร ในระยะนี้หลอดลมจะถูกปิดกั้นชั่วขณะ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไหลเข้าสู่หลอดลมและปอด

• ระยะหลอดอาหาร (Esophageal phase) เป็นระยะที่หลอดอาหารจะบีบตัวและลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อยต่อไป

ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มักมีปัญหาในระยะช่องปาก หรือระยะช่องปากร่วมกับระยะคอหอย ในกรณีนี้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้การแก้ไขฟื้นฟูได้ ยกเว้นในรายที่เกิดปัญหาในระยะหลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารตีบ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง

 

download.png

การบำบัดฟื้นฟู

โดยทั่วไปการบำบัดฟื้นฟู สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ การบำบัดฟื้นฟูทางตรง และการบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม

• การบำบัดฟื้นฟูทางตรง เช่น การฝึกบริหารกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรได้ไม่ดี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างท่าบริหารดังกล่าว ได้แก่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น เม้มริมฝีปากแน่นแล้วคลายออก ทำปากจู๋สลับฉีกยิ้ม เป็นต้น

• การบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม เช่น การดูแลด้านโภชนาการ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหารและน้ำ เนื่องจากในการฝึกกลืนระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอ เพราะรับประทานได้น้อยในแต่ละมื้อ จึงควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร 5-6 มื้อต่อวัน และอาจพิจารณาเสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมด้วย อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ควรเป็นอาหารที่มีการดัดแปลงเนื้ออาหาร โดยพิจารณาจากลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มรับประทานอาหารทางปาก หรือไม่สามารถเคี้ยวอาหารหยาบได้ อาหารควรเป็นอาหารที่ได้รับการปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนอาหารเด็ก ช่วยให้กลืนได้ง่าย เช่น โจ๊กปั่นข้น โยเกิร์ตครีม ไข่ตุ๋น ฟักทองบด กล้วยขูด เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลว และอาหารที่มีเนื้ออาหารหลายรูปแบบ เพราะทำให้สำลักได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยเริ่มเคี้ยวได้บ้าง อาจปรับอาหารเป็นโจ๊กข้น ข้าวต้มข้นๆ หรือไข่ลวก ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงรูปแบบอาหารได้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการด้านการกลืนของผู้ป่วย

ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในส่วนนี้ นอกจากนี้อาจมีการปรับท่าทาง ดูว่าท่าทางแบบใด ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้ง่ายที่สุด ซึ่งต้องมีการทดสอบดูก่อนว่าท่าใดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการกลืนได้ง่ายที่สุด

จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูจะมีภาวการณ์กลืนที่ดีขึ้นกว่า 50% บางรายสามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติอีกครั้ง ในขณะที่บางรายสามารถเปลี่ยนจากการรับประทานโจ๊ก มาเป็นข้าวสวยนิ่มๆ ได้ สำหรับระยะเวลาในการบำบัดจนเห็นพัฒนาการจะอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย บวกกับความร่วมมือจากญาติผู้ดูแลร่วมด้วย ซึ่งปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยฝึกกลืน คือ การที่ผู้ดูแลแอบป้อนอาหารที่ถูกห้ามให้กับผู้ป่วยด้วยความสงสาร จุดนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก เกิดปัญหาปอดติดเชื้อตามมาจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกันมาหลายรายแล้ว จึงอยากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง

โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

http://www.sansirihomecare.com

ติดต่อเยี่ยมชมสถานที่ 096-405-1562

 


Leave a comment

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

67358_666904

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า                                        “อะเฟเซีย (Aphasia: การเสียการสื่อความ)” เป็นความบกพร่องของการสื่อสารเนื่องจากการมีพยาธิสภาพของสมองที่ควบคุมการพูดและภาษา ความผิดปกติทางภาษาและการพูดมักเกิดร่วมกับโรคอัม พาตซีกขวาในคนที่ถนัดมือขวา แต่เนื่องจากสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางการพูดและภาษา (Speech and language center) อยู่ที่สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา ดังนั้นการกล่าวถึงสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการพูดจึงหมายถึงสมองซีกซ้ายในคนถนัดขวา

สมองพิการเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก) หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ (Head injury) เช่น สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการกระทบกระเทือนจากผ่าตัดเอาเลือดคั่งหรือเนื้องอกในสมองออก ฯ

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เบื้องต้นควรเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากเคยพูดสื่อสารและทำงานได้อย่างดี แต่ต้องกลายมาเป็นภาระต่อครอบครัว และทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยต้องการเวลาในการปรับตัว และต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิด ครอบครัวจึงควรปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

  1. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน
  2. เรียกผู้ป่วยให้ฟังและสนใจก่อนสอนพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำอะไร หรือให้ตอบคำถามเสมอ
  3. ใช้ท่าทางและการพูดร่วมกันในการสื่อสารกับผู้ป่วย
  4. ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรกเช่นชี้ตาชี้หู ชี้ปากเป็นต้น
  5. รอให้ผู้ป่วยตอบสนองก่อน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำ ตอบ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย
  6. ช่วยพูดซ้ำๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป
  7. ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด
  8. ไม่ตกใจเมื่อผู้ป่วยพูดคำหยาบ
  9. กรณีที่ผู้ป่วยหัวเราะ หรือทำอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือ การฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ
  10. เวลาในการฝึกพูดแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที วันละประมาณ 3-4 ครั้ง
    1. ทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูด เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำผู้ป่วยไปติดตามการประเมินและการฝึกพูดเป็นระยะๆกับนักแก้ไขการพูดตามนัดเสมอ เพื่อปรับโปรแกรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

      ประเภทของความผิดปกติทางการพูดมี  2  แบบ

      1. การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders)

               การพูดไม่ชัดจากการบกพร่องของกลไกประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด(Dysarthria)
      ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดอ่อนแรง เป็นอัมพาต หรือ เกร็ง โดยจะพูดไม่ชัดมากขึ้นถ้าพูดยาวๆ หรือนานๆ ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายไหลที่มุมปากด้านใดด้านหนึ่งร่วมด้วยควรรักษาที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรัก ษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมิน และการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยได้

      การฝึกพูดในผู้ป่วย                                                                                                              hj      

      • การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด
        • การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก 2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ-เทอะ–เคอะ กระดกลิ้นซ้ำๆ
      • การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข
        • การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์
        • การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี
        • การท่องสูตรคูณ
        • การท่องพยัญชนะ ก–ฮ
        • การอ่านหนังสือออกเสียง
        • การถามตอบ
      • ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน
      • การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ
      2. การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)

      ทำให้การเรียบเรียงลำดับตำ แหน่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดบกพร่อง ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือวลี หรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจจะพูด  การรักษาควรที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรักษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาดังนี้                                                                1-1

      -การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ
      -การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก เช่น มอ ปอ พอ บอ เม เป เพ เบ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ เช่น ดา ตา ทา ชา จา กา คา งา ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น อาอู อีเอ แอเออ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น มาอู อีเบ แปเพอ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง

      โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-พระราม2-บางขุนเทียน

1 Comment

25171

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

บริการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ที่มีโรคประจำตัวต้องดูแและทานยาต่อเนื่อง

(เบาหวาน,ความดันสูง,มะเร็ง,กระดูกหัก,ข้อติด,การให้อาหารทางสายยาง,ผู้ป่วยเจาะคอ การดูแลแผลกดทับ

คำนวนสารอาหารที่ควรได้รับ/วัน

แสนสิริ โฮม แคร์ ยินดีให้บริการทุกท่านทั้ง 3 สาขา

สาขาสุขุมวิท101/1

สาขาบางนา-แบริ่ง 17

สาขาแบริ่ง  36

สาขาพระราม2-บางขุนเทียน

รายละเอียดการบริการ

1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 16000/เดือน

(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000/เดือน)

อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2000บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้

www.sansirihomecare.com

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 095-869-3595,02-003-2424


Leave a comment

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG)

e9d5994227290f9ac966be4f77d00af9--school-nursing-medical-school.jpg

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี คือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก ยิ้มได้น้อยลง หายใจลำบาก มีปัญหาการพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ปัจจุบัน การรักษาทำได้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมและเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โดยปกติแล้วมักไม่พบอาการเจ็บหรือปวด แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือปวดหลังมีประจำเดือนหรือหลังออกกำลังกาย อาการที่สังเกตได้ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา ใบหน้า ลำคอ แขนและขา โดยอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักมีรายละเอียดดังนี้

  • กล้ามเนื้อรอบดวงตา หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นอาการแรกที่สังเกตได้ รวมถึงพบปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มองไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น อาการจะดีขึ้นเมื่อหลับตาข้างใดข้างหนึ่งลง
  • ใบหน้า หากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกบนใบหน้าได้รับผลกระทบ จะทำให้การแสดงออกทางสีหน้าถูกจำกัด เช่น ยิ้มได้น้อยลง หรือกลายเป็นยิ้มแยกเขี้ยวเนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้
  • การหายใจ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อนอนราบอยู่บนเตียงหรือหลังออกกำลังกาย
  • การพูด การเคี้ยวและการกลืน เกิดจากกล้ามเนื้อรอบปาก เพดานอ่อน หรือลิ้นอ่อนแรง ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น พูดเสียงเบาแหบ พูดเสียงขึ้นจมูก เคี้ยวไม่ได้ กลืนลำบาก ไอ สำลักอาหาร บางกรณีอาจเป็นสาเหตุไปสู่การติดเชื้อที่ปอด
  • ลำคอ แขนและขา อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ มักเกิดขึ้นที่แขนมากกว่าที่ขา ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เดินเตาะแตะ เดินตัวตรงได้ยาก กล้ามเนื้อบริเวณคออ่อนแรง ทำให้ตั้งศีรษะหรือชันคอลำบาก เกิดปัญหาในการแปรงฟัน การยกของ รวมไปถึงการปีนบันได

หากพบว่ามีปัญหาด้านการมอง การหายใจ การพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นไปโดยลำบาก เช่น การใช้มือและแขน การทรงตัว การเดิน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disorder) โดยมีรายละเอียดสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนี้

  • สารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ (Antibodies) และการส่งสัญญาณประสาท ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตแอนติบอดี้ออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง แอนติบอดี้จะไปทำลายหรือขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) โดยถูกส่งไปที่ตัวรับ (Receptor) ซึ่งอยู่ที่ปลายระบบประสาทบนกล้ามเนื้อแต่ละมัด ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้
  • ต่อมไทมัส (Thymus Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกระดูกอก มีส่วนในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผลิตสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน เด็กจะมีต่อมไทมัสขนาดใหญ่และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีขนาดของต่อมไทมัสที่ใหญ่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยบางรายมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมไทมัส ซึ่งพบประมาณร้อยละ 10 ในผู้ป่วยสูงอายุ

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติและอาการของผู้ป่วยว่าอาการที่พบอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่ ขยับลูกตาและเปลือกตาได้ตามปกติหรือผิดปกติอย่างไร แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปให้นักประสาทวิทยาหรือจักษุแพทย์วินิจฉัยเพิ่มเติม และอาจมีการทดสอบด้วยวิธีดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • การตรวจระบบประสาท ด้วยการทดสอบการตอบสนอง กำลังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกจากการสัมผัส การทรงตัว หรือการมองเห็น เป็นต้น
  • การตรวจเลือด แพทย์จะตรวจนับจำนวนของแอนติบอดี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะมีจำนวนของแอนติบอดี้ที่ไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ส่วนมากจะตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด Anti-MuSK
  • การตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Test) ทำได้ 2 วิธี คือ Repetitive Nerve Stimulation Test เป็นการทดสอบด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำ ๆ เพื่อดูการทำงานของมัดกล้ามเนื้อ โดยการติดขั้วไฟฟ้าที่ผิวหนังบริเวณที่พบอาการอ่อนแรง และส่งกระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยเข้าไปเพื่อตรวจสอบความสามารถของเส้นประสาทในการส่งสัญญาณไปที่มัดกล้ามเนื้อ และการตรวจด้วยไฟฟ้า (Electromyography) เป็นการวัดกระแสไฟฟ้าจากสมองที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อดูการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อเพียงเส้นเดียว (Single-fiber Electromyography หรือ EMG)
  • Edrophonium Test หรือ Tensilon Test โดยการฉีด Edrophonium Chloride ปกติกล้ามเนื้อหดตัวทำงานจากการที่สารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ไปจับตัวรับที่กล้ามเนื้อ จากนั้นจะมีกระบวนการที่ทำให้แอซิติลโคลีนปล่อยจากตัวรับที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว การฉีด Edrophonium จะไปยับยั้งขั้นตอนการปล่อยตัวจากตัวรับ ทำให้แอซิติลโคลีนเกาะตัวกับตัวรับนานขึ้นจึงทำให้กล้ามเนื้อยังคงทำงานหดตัวได้นานขึ้น ไม่เกิดอาการอ่อนแรง แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปัญหาการเต้นของหัวใจและการหายใจ แพทย์จะวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดและการตรวจด้วยไฟฟ้า ทำโดยแพทย์ประสาทวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญและมีอุปกรณ์ครบครัน จึงเป็นผลให้แพทย์ไม่นิยมวินิจฉัยด้วยวิธีนี้
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography) หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อหาเนื้องอกหรือความผิดปกติที่บริเวณต่อมไทมัส
  • การทดสอบการทำงานของปอด (Pulmonary Function Tests) เพื่อประเมินสภาพการทำงานของปอดและการหายใจ
  • Ice Pack Test เป็นการทดสอบเสริม โดยแพทย์จะนำถุงน้ำแข็งมาวางในจุดที่มีอาการตาตกเป็นเวลา 2 นาที และวิเคราะห์การฟื้นตัวจากหนังตาตกเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ในปัจจุบัน การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่รักษาตามอาการและเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละราย เช่น อายุ ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

  • การรับประทานยา
    • ยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors เช่น ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) เหมาะแก่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับเบาหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ โดยยาจะช่วยเพิ่มการทำงานระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและแข็งแรงขึ้น การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ เหงื่อออกและน้ำลายไหลมาก เป็นต้น
    • ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาชนิดเม็ดที่ใช้ในปริมาณต่ำ เพื่อยับยั้งการผลิตแอนติบอดี้ การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น กระดูกบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงโรคเบาหวาน
    • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เช่น อะซาไธโอพรีน, ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล, ไซโคลสปอริน, เมทโธเทร็กเต หรือทาโครลิมัส การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงตับและไตอักเสบ การใช้ยานี้จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงจะเห็นผล ควรตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันและผลข้างเคียงอื่น ๆ
  • การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (Plasmapheresis) โดยเป็นการกำจัดแอนติบอดี้ที่จะไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากร่างกาย โดยวิธีการรักษานี้จะให้ผลอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ความดันเลือดลดลง มีเลือดไหล จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • การบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous Immunoglobulin) หรือ IVIg จะช่วยเพิ่มจำนวนแอนติบอดี้ที่มีความเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การรักษาด้วยวิธีนี้เสี่ยงน้อยกว่าการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า เห็นผล 3-6 สัปดาห์ แต่ส่งผลข้างเคียงในระดับที่ไม่รุนแรงนัก เช่น หนาวสั่น วิงเวียน ปวดศีรษะ และบวมน้ำ การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • การฉีดยา Rituximab เข้าเส้นเลือด จะใช้กับผู้ป่วยในบางกรณี มีผลในการกำจัดเซลล์เม็ดเลือดขาว และเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การผ่าตัดต่อมไทมัส พบว่าในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวน 15% มีเนื้องอกเกิดขึ้นที่บริเวณต่อมไทมัส ซึ่งเป็นต่อมที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แพทย์จะผ่าตัดต่อมไทมัสเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น เนื้องอกที่ต่อมไทมัสที่อาจกระจายสู่หน้าอก เป็นต้น

แนวทางปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงและคนใกล้ชิด

  • พักผ่อนให้มาก เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้
  • ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด
  • เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า
  • รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก แบ่งมื้ออาหารเป็นหลาย ๆ มื้อ และเพลิดเพลินกับการรับประทานและการเคี้ยวในช่วงที่กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ผ้าปิดตาในผู้ป่วยที่เห็นภาพซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เขียนหรืออ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และเพื่อลดการเกิดภาพซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รักษาให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น

  • ภาวะหายใจล้มเหลว (Myasthenic Crisis) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจอยู่ในภาวะอ่อนแอ แทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
  • เนื้องอกที่ต่อมไทมัส มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 15% ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งต้อมไทมัสนี้เป็นต่อมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroid) หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญ หากเกิดการแทรกซ้อนของภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการขี้หนาว น้ำหนักขึ้น ส่วนในผู้ป่วยที่มีการแทรกซ้อนของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จะมีอาการขี้ร้อน น้ำหนักลดลง
  • มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรดเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus) หรือที่รู้จักในชื่อโรคพุ่มพวง

การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ในปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินไป
  • ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป
  • ควบคุมความเครียด

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์


Leave a comment

Parkinson

Untitled

Parkinson

พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิสภาพที่ basal ganglia บริเวณ substantia nigra ทำให้มีการผลิตสารสื่อประสาทที่ชื่อ สารโดปามีนน้อยลง ส่งผลให้สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงานของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่

ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทาน หากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

ลักษณะอาการในระยะแรกที่ชัดเจนในผู้ป่วยพาร์กินสัน  คือปัญหาด้านกล้ามเนื้อ ดังนี้

– akinesia (มีปัญหาในการเริ่มการเคลื่อนไหว)

– bradykinesia (การเคลื่อนไหวช้า)

– muscle rigidity (กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง)

– resting tremor (มีอาการสั่นขณะพัก)

– abnormalities of posture, gait, and balance (มีลักษณะการเดินที่ช้าลง ไหล่งุ้ม และล้มง่าย)

อาการอื่นๆที่พบคือ

– การเขียนตัวอักษรเล็กลง

– มีปัญหาด้านการพูด แบบ dysarthria

– ขณะเดินมีการแกว่งแขนน้อยลง

– เดินแบบก้าวสั้นๆ และโน้มตัวไปก่อนที่จะก้าวขา ที่เรียกว่า shuffling gait

– ไม่ค่อยกระพริบตา มีอาการตาแห้ง

– มีอาการเครียด วิตกกังวล

– มีปัญหานอนไม่หลับและมีความดันโลหิตลดลง

– ผิวหนังมีปัญหา เช่น รังแค หรือผิวมันผิดปกติ

– เกิดอาการความดันตกในขณะเปลี่ยนท่า ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้ม

– การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ

– สูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย

–  มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการรับความรู้สึก เช่น มีอาการปวด ชา ปวดแสบร้อน ปวดศีรษะ

ปวดหลังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

Untitled.png0

การรักษาโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้

การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน

การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation)  เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)

  1.  ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

– musculoskeletal problem (ปัญหาเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อ)

– cardiopulmonary condition (ปัญหาเรื่องหัวใจและปอด)

– psycho-social deteriorate

  1.  พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพโดย ใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น
  2.  ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
  3.  ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 

    การรักษาโรคพาร์กินสัน

    ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้

    การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน

    การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation)  เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

    บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

    1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)

    1.  ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

    – musculoskeletal problem (ปัญหาเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อ)

    – cardiopulmonary condition (ปัญหาเรื่องหัวใจและปอด)

    – psycho-social deteriorate

    1.  พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพโดย ใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น
    2.  ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
    3.  ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน  Untitled.png00โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์