ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-สาขาพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ แบริ่ง 36


Leave a comment

กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์ เล็งเห็นประโยชน์การทำกายภาพบำบัดออกกำลังกาย ที่มีต่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยทุกแบบ จึงดำเนินการเปิดศูนย์กายภาพบำบัดโดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพประจำ ที่เน้นการดูแลฟื้นฟู โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิกกายภาพซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลา ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ

ราคาการทำกายภาพสำหรับลูกค้าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

Slide1

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและคลีนิกกายภาพบำบัด 096-405-1562

การทำกายภาพบำบัด มีผลต่อการทำงานของร่างกายแล้ว จะเห็นได้ว่า การออกกำลังสามารถทำให้ผู้สูงอายุ มีสมรรถภาพ ทางร่างกายดีขึ้น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และสามารถฟื้นฟูอวัยวะที่เสื่อมไปแล้วให้ดีขึ้นได้

                       ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อร่างกายผู้สูงอายุ อาจสรุปได้ดังนี้

1.    ทำให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
2.    ทำให้มีสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ สูง ทำงานต่าง ๆ ได้มากขึ้น ความเหนื่อย มีน้อยลง แรงกล้าม           เนื้อมากขึ้น ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง การทรงตัว
3.    ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวและทรวดทรง
4.    ป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อม เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคความดันเลือดสูงโรคข้อเสื่อมต่าง ๆ
5.    ช่วยฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีโรคจากความเสื่อม เช่น เส้นเลือดสมองทำให้มีอาการอ่อนแรงหรือฟื้นฟูหลัง             ผ่าตัด

6.   ผู้ป่วยฟื้นฟูและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุติดเตียงที่มีภาวะเสี่ยงข้อติด กล้ามเนื้อฝ่อ          ลีบ ปอดขยายตัวได้น้อย

7.   ช่วยควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงการออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น ลดภาวะ            พึ่งพาอินซูลิน และทำให้น้ำหนักลด

การทำกายภาพสำหรับลูกค้าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.sansiriphysiotherapy.com

www.sansirihomecare.com


Leave a comment

ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ

     467478309.jpg

       ภาวะกลืนลำบากเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน เช่น เป็นสาเหตุของการหายใจขัด ไอ หายใจไม่ออก ทั้งยังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะขาดน้ำ ขาอาหาร การสำลักอาหารเข้าปอดทำให้เกิดการติดเชื้อ มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นบ่อยๆ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงสำคัญมาก ได้รับเกียรติจาก คุณสมจิต รวมสุข นักกิจกรรมบำบัด หัวหน้างานแก้ไขการพูด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาแนะนำขั้นตอนและแนวทางการฟื้นฟูอันเป็นประโยชน์ ทั้งต่อผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล

ภาวะกลืนลำบาก หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยประสบความยากลำบากในการเริ่มต้นกลืนอาหาร หรือความยากลำบากในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลว จากปากให้ผ่านคอหอย และหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะกลืนลำบาก ได้แก่ ไม่สามารถกลืนได้ มีอาหารตกค้างกระพุ้งแก้ม รู้สึกเจ็บขณะกลืน มีน้ำลายไหล เสียงแหบเครือหลังการกลืน อาหารไหลย้อนกลับออกทางปาก และไอหรือสำลักขณะกลืน เป็นต้น

devour.jpg

ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแก้ไขปัญหาการกลืน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นในระยะใดของขั้นตอนการกลืน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่

• ระยะช่องปาก (Oral phase) เป็นระยะของการบดเคี้ยวและคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายภายในช่องปาก  ทำให้อาหารชิ้นเล็กลงเหมาะกับการกลืน โดยมีลิ้นช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากช่องปาก ไปยังคอหอยและหลอดอาหาร

• ระยะคอหอย (Pharyngeal phase) เป็นระยะที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารผ่านต่อมทอนซิลลงมายังคอหอย กล้ามเนื้อหลายมัดบริเวณคอหอยจะถูกกระตุ้นให้ทำงานร่วมกัน โดยหดตัวรับอาหารต่อจากลิ้นแล้วส่งต่อไปยังหลอดอาหาร ในระยะนี้หลอดลมจะถูกปิดกั้นชั่วขณะ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไหลเข้าสู่หลอดลมและปอด

• ระยะหลอดอาหาร (Esophageal phase) เป็นระยะที่หลอดอาหารจะบีบตัวและลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อยต่อไป

ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มักมีปัญหาในระยะช่องปาก หรือระยะช่องปากร่วมกับระยะคอหอย ในกรณีนี้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้การแก้ไขฟื้นฟูได้ ยกเว้นในรายที่เกิดปัญหาในระยะหลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารตีบ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง

 

download.png

การบำบัดฟื้นฟู

โดยทั่วไปการบำบัดฟื้นฟู สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ การบำบัดฟื้นฟูทางตรง และการบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม

• การบำบัดฟื้นฟูทางตรง เช่น การฝึกบริหารกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรได้ไม่ดี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างท่าบริหารดังกล่าว ได้แก่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น เม้มริมฝีปากแน่นแล้วคลายออก ทำปากจู๋สลับฉีกยิ้ม เป็นต้น

• การบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม เช่น การดูแลด้านโภชนาการ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหารและน้ำ เนื่องจากในการฝึกกลืนระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอ เพราะรับประทานได้น้อยในแต่ละมื้อ จึงควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร 5-6 มื้อต่อวัน และอาจพิจารณาเสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมด้วย อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ควรเป็นอาหารที่มีการดัดแปลงเนื้ออาหาร โดยพิจารณาจากลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มรับประทานอาหารทางปาก หรือไม่สามารถเคี้ยวอาหารหยาบได้ อาหารควรเป็นอาหารที่ได้รับการปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนอาหารเด็ก ช่วยให้กลืนได้ง่าย เช่น โจ๊กปั่นข้น โยเกิร์ตครีม ไข่ตุ๋น ฟักทองบด กล้วยขูด เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลว และอาหารที่มีเนื้ออาหารหลายรูปแบบ เพราะทำให้สำลักได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยเริ่มเคี้ยวได้บ้าง อาจปรับอาหารเป็นโจ๊กข้น ข้าวต้มข้นๆ หรือไข่ลวก ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงรูปแบบอาหารได้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการด้านการกลืนของผู้ป่วย

ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในส่วนนี้ นอกจากนี้อาจมีการปรับท่าทาง ดูว่าท่าทางแบบใด ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้ง่ายที่สุด ซึ่งต้องมีการทดสอบดูก่อนว่าท่าใดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการกลืนได้ง่ายที่สุด

จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูจะมีภาวการณ์กลืนที่ดีขึ้นกว่า 50% บางรายสามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติอีกครั้ง ในขณะที่บางรายสามารถเปลี่ยนจากการรับประทานโจ๊ก มาเป็นข้าวสวยนิ่มๆ ได้ สำหรับระยะเวลาในการบำบัดจนเห็นพัฒนาการจะอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย บวกกับความร่วมมือจากญาติผู้ดูแลร่วมด้วย ซึ่งปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยฝึกกลืน คือ การที่ผู้ดูแลแอบป้อนอาหารที่ถูกห้ามให้กับผู้ป่วยด้วยความสงสาร จุดนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก เกิดปัญหาปอดติดเชื้อตามมาจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกันมาหลายรายแล้ว จึงอยากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง

โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

http://www.sansirihomecare.com

ติดต่อเยี่ยมชมสถานที่ 096-405-1562

 

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-พระราม2-บางขุนเทียน

1 Comment

25171

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

บริการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ที่มีโรคประจำตัวต้องดูแและทานยาต่อเนื่อง

(เบาหวาน,ความดันสูง,มะเร็ง,กระดูกหัก,ข้อติด,การให้อาหารทางสายยาง,ผู้ป่วยเจาะคอ การดูแลแผลกดทับ

คำนวนสารอาหารที่ควรได้รับ/วัน

แสนสิริ โฮม แคร์ ยินดีให้บริการทุกท่านทั้ง 3 สาขา

สาขาสุขุมวิท101/1

สาขาบางนา-แบริ่ง 17

สาขาแบริ่ง  36

สาขาพระราม2-บางขุนเทียน

รายละเอียดการบริการ

1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 16000/เดือน

(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000/เดือน)

อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2000บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้

www.sansirihomecare.com

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 095-869-3595,02-003-2424


Leave a comment

Parkinson

Untitled

Parkinson

พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิสภาพที่ basal ganglia บริเวณ substantia nigra ทำให้มีการผลิตสารสื่อประสาทที่ชื่อ สารโดปามีนน้อยลง ส่งผลให้สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงานของกล้ามเนื้อ

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่

ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้

ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทาน หากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

ลักษณะอาการในระยะแรกที่ชัดเจนในผู้ป่วยพาร์กินสัน  คือปัญหาด้านกล้ามเนื้อ ดังนี้

– akinesia (มีปัญหาในการเริ่มการเคลื่อนไหว)

– bradykinesia (การเคลื่อนไหวช้า)

– muscle rigidity (กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง)

– resting tremor (มีอาการสั่นขณะพัก)

– abnormalities of posture, gait, and balance (มีลักษณะการเดินที่ช้าลง ไหล่งุ้ม และล้มง่าย)

อาการอื่นๆที่พบคือ

– การเขียนตัวอักษรเล็กลง

– มีปัญหาด้านการพูด แบบ dysarthria

– ขณะเดินมีการแกว่งแขนน้อยลง

– เดินแบบก้าวสั้นๆ และโน้มตัวไปก่อนที่จะก้าวขา ที่เรียกว่า shuffling gait

– ไม่ค่อยกระพริบตา มีอาการตาแห้ง

– มีอาการเครียด วิตกกังวล

– มีปัญหานอนไม่หลับและมีความดันโลหิตลดลง

– ผิวหนังมีปัญหา เช่น รังแค หรือผิวมันผิดปกติ

– เกิดอาการความดันตกในขณะเปลี่ยนท่า ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้ม

– การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ

– สูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย

–  มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการรับความรู้สึก เช่น มีอาการปวด ชา ปวดแสบร้อน ปวดศีรษะ

ปวดหลังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน

Untitled.png0

การรักษาโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้

การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน

การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation)  เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)

  1.  ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

– musculoskeletal problem (ปัญหาเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อ)

– cardiopulmonary condition (ปัญหาเรื่องหัวใจและปอด)

– psycho-social deteriorate

  1.  พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพโดย ใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น
  2.  ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
  3.  ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน 

    การรักษาโรคพาร์กินสัน

    ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้

    การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน

    การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation)  เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

    บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

    1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)

    1.  ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา

    – musculoskeletal problem (ปัญหาเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อ)

    – cardiopulmonary condition (ปัญหาเรื่องหัวใจและปอด)

    – psycho-social deteriorate

    1.  พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพโดย ใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น
    2.  ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
    3.  ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน  Untitled.png00โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์


Leave a comment

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในระยะ 1 – 3 สัปดาห์แรก จะมีอาการอ่อนแรงในลักษณะอ่อนปวกเปียก ภายหลังจากนี้กล้ามเนื้อจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระยะการเกร็งตัวซึ่งจะทำงานในลักษณะหดสั้นตลอดเวลา ยกเว้นขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อใดที่มีการเกร็งตัวมากก็จะมีการหดตัวมาก

ปัญหาของผู้ป่วยที่มีการเจ็บปวดข้อไหล่และมือค่อนข้างสูง เนื่องจาก

  1. การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก หัวไหล่และศอก
  2. การเคลื่อนไหวข้อไหล่ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การ เหวี่ยง หรือ การกระชากแขน การทิ้งแขนห้อยข้างลำตัวหรือการนอนทับเป็นเวลานาน
  3. การลดลงของการเคลื่อนไหวข้อไหล่หรือแขน เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. จากผู้เฝ้าไข้ดึงแขนของผู้ป่วยแทนการยกตัวจากการดึงเข็มขัด
    ส่งผลให้ เนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่ เกิดการ หดรั้ง และ สั้น อีกทั้งยังมีการเลื่อนหล่นของข้อไหล่ เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อไม่แข็งแรง หรือไม่สมดุล

วงจรจากการเจ็บปวดข้อไหล่

 

 

Picture15

  1. ท่ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
    นอนหงายจับบริเวณศอก ข้อมือและนิ้วมือ ให้ เหยียดตรง
    ยกแขนขึ้นจนติดศีรษะ แล้วเอาลง สลับกันShoulder_pain-02
  2. ท่ากางแขนพร้อมหมุนออก
    นอนหงายจับข้อศอก ข้อมือและนิ้วมือให้อยู่ใน แนวตรง แล้วกางแขนออกห่างจากลำตัว พร้อมหมุนแขนออก (ฝ่ามือหงายขึ้น) จากนั้นหุบแขนเข้า ทำสลับ                              Shoulder_pain-03
  3.                                                                                                                                                                ท่ายืดสะบักไปด้านหน้าและกลับด้านหลัง
    นอนตะแคงวางแขนผู้ป่วยบนแขนท่อนล่างของเรา จัดให้ข้อศอกอยู่ในแนวตรง มืออีกด้านจับบริเวณสะบักให้ออกแรงที่มือด้านนี้   ขยับสะบักมาด้านหน้าจนสุดแล้วดันกลับไปด้านหลัง ทำสลับกัน                           Shoulder_pain-04   
  4.  ท่าเหยียดแขนไปด้านหลัง
    นอนตะแคง มือด้านหนึ่งจับที่ศอก อีกด้านจับที่นิ้วมือให้เหยียดตรง ญาติช่วยขยับแขนไปด้านหลัง จากนั้นเคลื่อนกลับที่ข้างลำตัว                                                               Shoulder_pain-05
  5. ท่างอและเหยียดข้อมือและนิ้วมือ
    นอนหงายหรือนั่งจับมือผู้ป่วยแล้วขยับข้อมืองอและเหยียดสลับกัน สำหรับนิ้วมือให้จับแบบมือให้สุดและกำมือ ดังภาพ ในกรณีมีหลังมือบวมให้เน้นแบบมือ ห้ามกำมือโดยเด็ดขาด                   Shoulder_pain-06
  6.   ท่านั่งจัดให้ผู้ป่วยนั่งเท้าแขน หรือจัดหมอนรองรับ ดังภาพ                                  Shoulder_pain-07             Shoulder_pain-08.jpg                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             www.sansiriphysiotherapy.com


Leave a comment

การผื่นผ้าอ้อมในผู้สูงอายุ(Napply Rash)

candida-1024px-e1408168954341

การผื่นผ้าอ้อมในผู้สูงอายุ(Napply Rash)

ผื่นผ้าอ้อม นั้นเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดคือ

1.ผื่นที่เกิดจาการแพ้และเสียดสีกับผ้าอ้อม

2.ผื่นที่เกิดจากเชื้อราแคนดิดา(Candidiasis)

อาการและอาการแสดงของโรค

1.มักจะพบผื่นบริเวนร่มผ้าภายในส่วนที่ใส่ผ้าอ้อม              โดยเฉพาะส่วนที่เป็นซอกหลืบ อับทึบ

2.ลักษณะผื่นเป็นทั้งแบบตุ่มแดง(Papule),ปื้นแดง(Plaque)

หรือผื่นที่มีหนังลอกออกเป็นแผ่นๆ

3.รอยผื่นแดงเล็กๆ บางที่จะรวมตัวกันเป็นผื่นใหญ่(Coalescing)

5f652a44ff3d5df934e591bcbb448097

การดูแลรักษาโรคนี้ด้วยตนเอง

1.พยายามใส่ผ้าอ้อมให้น้อยลง เพื่อลดความอับชื้น ไม่ชื้นแฉะอยู้ตลอดเวลา

2.ใช้ครีมหรือ Ointment ทาเพื่อเคลือบปกป้องผิวเด็ก เช่าน Zinc Oxide Paste หรือ Petrolatum(วาสลีน)และเปลี่ยนผ้าอ้อม

3.ทำความสะอาดผิวเนื้อส่วนที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆด้วยน้ำเปล่าหรือสบู่อ่อนๆ

4.ใช้ยาฆ่าเชื้อราแบบครีม Clotimazole

5.ถ้ายังไม่ดีขึนแนะนำให้ไปพบแพทย์

ข้อมูลโดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

#ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและรับดูแลฟื้นฟูกายภาพบำบัด

 

 


Leave a comment

กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างไร

Physiotherapists

กายภาพบำบัด (Physical Therapy) คือ ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์พิเศษ เพื่อรักษาผู้ป่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวตามปกติได้มากที่สุด การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้บำบัดผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อตั้งแต่เกิด ผู้ใหญ่ที่เกิดอาการปวดขาแบบไซอาติกา (Sciatica) อันเนื่องมาจากกระดูกทับเส้น ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ผู้สูงอายุที่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง หรือผู้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายจากการป่วยหรือความบกพร่องทางร่างกาย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดความเจ็บปวดตามอวัยวะที่เกิดปัญหาน้อยลง และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติหรือเกือบปกติ เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้รู้จักวิธีป้องกันการได้รับบาดเจ็บอันเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหว

ผู้ที่ควรเข้ารับกายภาพบำบัดได้แก่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ดังนี้

  • ปวดหลังหรือปวดคอ
  • จำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Rehabilitation)
  • ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือประสบอุบัติเหตุ
  • ป่วยเป็นมะเร็ง
  • ต้องรับการรักษาบาดแผล
  • พิการที่แขนหรือขา
  • ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยเด็กจะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพต่อไปนี้
    • มีพัฒนาการช้า
    • สมองพิการ
    • ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม
    • พิการหรือได้รับบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ
    • มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด
    • มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
    • ได้รับยาหรือแอลกอฮอล์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เป้าหมายในการทำกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยที่มีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคอื่นอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ทั้งนี้ การทำกายภาพบำบัดมีวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วย ดังนี้

  • ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ จะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้จักเลี่ยงไม่ให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บอีก โดยนักกายภาพบำบัดจะทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย ตั้งแต่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อน (กล้ามเนื้อ เอ็น และกล้ามเนื้อเอ็น) เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่น การทำงาน และพิสัยการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร รวมทั้งแนะนำวิธีที่ช่วยให้เกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุด
  • รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรังและปัญหาสุขภาพของเด็ก ผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) ข้ออักเสบ หรือโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ สามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะคิดแผนการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งประกอบไปด้วยพิสัยการเคลื่อนไหว การเสริมสร้างความแข็งแรง และการออกกำลังสร้างความทนทานร่างกาย ส่วนเด็กที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น สมองพิการ (Cerebral Palsy) จะได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วย โดยนักกายภายบำบัดจะช่วยรักษาพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน และการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งพิจารณาการเจริญเติบโตและความจำเป็นทางพัฒนาการของเด็กร่วมด้วย
  • เสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องรับการฟื้นฟูร่างกาย ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอันส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด โรคเรื้อรัง สามารถเกิดภาวะพิการตามมาได้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะมีบุคลากรหลายรายร่วมกันช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักบำบัดการพูด และนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วย โดยจะช่วยระบุพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน ความปลอดภัย และการเคลื่อนไหวร่างกาย (เดิน ขึ้นลงบันได ลุกขึ้นยืนจากเตียงหรือเก้าอี้) ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำและสอนให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง เช่น อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) หรือเก้าอี้รถเข็นวีลแชร์ (Wheelchair)

ประเภทของกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและฟื้นฟูอาการป่วยมีหลายประเภท ซึ่งประกอบด้วยการออกกำลังกาย  เทคนิคบำบัดด้วยมือ การฝึกผู้ป่วย วิธีรักษาพิเศษ และวิธีบำบัดอื่น ๆ แต่ละวิธีมีรายดังละเอียด ดังนี้

  • การออกกำลังกาย โดยทั่วไปแล้ว การทำกายภาพบำบัดมักเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดมีรูปแบบการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ อาการป่วย หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ การออกกำลังกายคือกิจกรรมที่เพิ่มเติมมาจากกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทานของร่างกายและการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ  อีกทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในการทำกิจกรรมแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่ทำกายภาพบำบัดประกอบด้วย
    • ยืดกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงแข็งของข้อต่อ
    • เพิ่มความแข็งแรงร่างกาย ออกกำลังกายที่ฝึกความสมดุลของร่างกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ท้อง หรือสะโพก
    • ยกน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
    • ออกกำลังกายรูปแบบอื่น การเดินหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ก็ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง และความทนทานของร่างกาย
  • เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Therapy) วิธีนี้คือการทำกายภาพบำบัดด้วยมือ เพื่อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกาย เทคนิคบำบัดด้วยมือประกอบด้วย
    • นวด นักกายภาพบำบัดจะนวดให้ผู้ป่วย โดยออกแรงกดลงไปตามร่างกาย การนวดจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการเจ็บปวดได้บ้าง
    • ขยับข้อต่อ (Mobilization) ผู้ป่วยที่เนื้อเยื่อเกิดอาการตึงหรือข้อติด จะได้รับการขยับข้อต่อโดยนักกายภาพบำบัดจะพิจารณากระดูกและข้อต่อ และบิด ดึง หรือดันกระดูกและข้อต่อให้กลับเข้าตำแหน่งช้า ๆ การขยับข้อต่อจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่อยู่รอบข้อต่อตึงน้อยลง รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นและจัดกระดูกให้อยู่ในแนวมากขึ้น
    • ดัดข้อต่อ (Manipulation) นักกายภาพบำบัดจะออกแรงกดไปที่ข้อต่อ โดยอาจใช้มือหรืออุปกรณ์พิเศษ นักกายภาพบำบัดจะค่อย ๆ ดัดข้อ หรือดัดข้อต่ออย่างรวดเร็ว รวมทั้งอาจลงน้ำหนักเบาหรือแรงเพื่อดัดข้อต่อแตกต่างกันอย่างระมัดระวัง
  • การฝึกผู้ป่วย ผู้ที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัดจะได้รับการฝึกเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการออกกำลังกาย เพื่อช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ฝึกใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น การใช้ไม้ค้ำยันหรือเก้าอี้วีลแชร์ ฝึกทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ความแข็งแรงหรือความสมดุลของร่างกาย การฝึกด้านต่าง ๆ นี้จะช่วยป้องกันผู้ป่วยไม่ให้ได้รับบาดเจ็บที่ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อซ้ำอีกครั้ง
  • วิธีรักษาพิเศษ ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยวิธีพิเศษอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยนักกายภาพบำบัดจะได้รับการฝึกทำกายภาพวิธีพิเศษเพื่อรักษาผู้ป่วย ดังนี้
    • ฟื้นฟูระบบการทรงตัว (Vestibular Rehabilitation) ผู้ป่วยโรคบ้านหมุน หรือผู้ทีรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุนหรือเอียงนั้น จะได้รับการรักษาด้วยวิธีฟื้นฟูการทรงตัว เพื่อช่วยปรับความสมดุลของหูชั้นในที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายนอก เมื่อได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ป่วยจะสามารถรับมือกับอาการบ้านหมุนที่เกิดขึ้นได้
    • รักษาดูแลบาดแผล บาดแผลที่มีลักษณะร้ายแรงหรือไม่สามารถหายได้ เกิดจากระบบไหลเวียนโลหิตไหลไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้ที่เกิดแผลลักษณะนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาบาดแผลอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะทำความสะอาดและพันแผลให้เรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดด้วยออกซิเจนหรือกระตุ้นไฟฟ้า การทำกายภาพบำบัดจึงช่วยให้ผู้ป่วยขยับหรือจัดท่า เพื่อให้การรักษาบาดแผลนั้นดีขึ้น
    • กายภาพบำบัดสำหรับปัญหาอุ้งเชิงกราน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานจะได้รับการทำกายภาพบำบัดสำหรับรักษาปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยที่ประสบภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือผู้ที่ปวดท้องน้อย จะได้รับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อควบคุมหรือบรรเทาอาการของโรคให้ทุเลาลง
    • กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการของโรค หรือได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา อันส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวจะได้รับการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อรักษาปัญหาดังกล่าวให้หาย
    • นวดกระตุ้นระบบน้ำเหลือง ผู้ที่ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนไม่ดี จะได้รับการนวดเพื่อกระตุ้นระบบน้ำเหลือง โดยวิธีนี้จะช่วยลดอาการบวมน้ำเหลืองที่เกิดจากการที่น้ำเหลืองไม่ไหลออกจากเนื้อเยื่อภายในร่างกาย
  • วิธีบำบัดอื่น ๆ  การทำกายภาพบำบัดประกอบด้วยวิธีรักษาลักษณะอื่นอีกหลายประการ ดังนี้
    • ประคบเย็น การประคบเย็นด้วยน้ำแข็งจะช่วยบรรเทาอาการปวด บวม และอักเสบจากการได้รับบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพ เช่น โรคข้ออักเสบ โดยจะใช้น้ำแข็งประคบครั้งละ 20 นาที วันละหลายครั้ง ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดยังใช้โลชั่นหรือสเปรย์สูตรเย็นในการรักษาผู้ป่วย
    • ประคบร้อน ผู้ที่มีอาการข้อต่อติดแข็งจากโรคข้อเข่าเสื่อมหรือขยับร่างกายไม่ได้ ควรประคบร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนคลายตัวและมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยง ทั้งนี้ การประคบร้อนยังช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวก่อนออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและประคบร้อนเร็วเกินไป อาจเกิดอาการบวมที่บริเวณดังกล่าวมากขึ้น
    • รักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) วิธีนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงบรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุก ช่วยคลายกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดและอักเสบ รวมทั้งกระตุ้นให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น
    • กระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) วิธีนี้จะใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นการทำงานของร่างกาย โดยใช้กระแสไฟฟ้าระดับต่ำรักษาอาการเจ็บปวด หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อให้บีบตัวทั้งนี้ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าถูกนำมาศึกษาเพื่อใช้เป็นวิธีรักษาบาดแผลและกระดูกหักด้วย
    • วารีบำบัด (Hydrotherapy) วิธีนี้คือการรักษาโรคและดูแลสุขภาพด้วยการทำกิจกรรมอยู่ในน้ำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การออกกำลังในน้ำ (Water Exercise) วารีบำบัดจะใช้รักษาผู้ที่ป่วยโรคข้อเสื่อม ประสบภาวะปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนหรือโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรือเกิดอาการปวดหลัง
    • 70878-8186544

กายภาพบำบัดทำอย่างไร

การทำกายภาพบำบัดใช้รักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ปวดคอ ได้รับบาดเจ็บ หรือป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ก่อนเลือกรักษาอาการป่วยด้วยวิธีกายภาพบำบัด โดยคำนึงถึงคำแนะนำแพทย์ว่าจำเป็นต้องเข้ารับการทำหรือมีข้อควรระวังหรือไม่

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดจะต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา โดยนักกายภาพบำบัดจะตรวจร่างกายและสอบถามอาการและกิจกรรมของผู้ป่วยในแต่ละวัน จากนั้นจะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้ข้อต่อของผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูและเสริมสร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทาน ความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่อเข้ารับการทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะเริ่มบำบัดด้วยเทคนิคบำบัดด้วยมือ ฝึกผู้ป่วย และเทคนิคอื่น ๆ เช่น ประคบร้อน ประคบเย็น รักษาด้วยอัลตราซาวด์ และกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดบวม

ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยการออกกำลังกายยืดเส้น ฝึกความแข็งแรงของร่างกาย ยกน้ำหนัก หรือฝึกเดิน โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยฝึกการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยจนสามารถทำได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจเกิดอาการปวดแสบหรือบวมที่กล้ามเนื้อขึ้นมาบ้าง ซึ่งสามารถปรึกษานักกายภาพได้ในกรณีที่อาการดังกล่าวทำให้รู้สึกไม่สบายตัวมากเกินไป

www.sansiriphysiotherapy.com

 


Leave a comment

โรคตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

images

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกับโรคที่พบ

โรคเพมฟิกัส (pemphigus) เป็นโรคตุ่มน้ำพองเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีการสร้างแอนติบอดีที่มาทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันโดยง่าย ทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย มีรายงานอุบัติการณ์ 0.5 – 3.2 รายต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยที่เป็นโรคมักมีอายุเฉลี่ยที่ 50 – 60 ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถพบได้ทุกวัย รวมถึงในเด็ก เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคเท่ากัน

อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพอง หรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกาย หรือเยื่อบุ โดยที่ 50 – 70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังโดยเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้

นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่นๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย ส่วนอาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่น ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

  โรคเพมฟิกัสแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นลึก (pemphigus vulgaris) ซึ่งพบบ่อยที่สุด
2.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นตื้น (pemphigus foliaceus)

สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีการสร้างภูมิต้านทานต่อเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง ร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรมและ
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การได้รับยาที่มีผลต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย มีบทบาทร่วมกันในการก่อโรค

images (1)

อาการและอาการแสดง
อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพองหรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกายหรือเยื่อบุ โดยที่ 50-70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก
ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้ นอกจากนี้อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่น ๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย

อาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย (flaccid bullae) กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่นใหญ่ (รูปที่ 2, 3) ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

การวินิจฉัยแยกโรค
ต้องวินิจฉัยแยกโรคในกลุ่มตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะโรคเพมพิกอยด์ (bullous pemphigoid) เนื่องจากเป็นอีกโรคที่พบบ่อย สามารถแยกจากกันได้จากลักษณะตุ่มน้ำในโรคเพมพิกอยด์จะเป็นตุ่มน้ำเต่งแตกยาก (tense bullae) และพบแผลในเยื่อบุเพียง 20-30% ลักษณะทางชิ้นเนื้อในโรคเพมพิกอยด์จะพบการแยกชั้นผิวหนังบริเวณรอยต่อของหนังแท้และหนังกำพร้า (subepidermal separation) และการตรวจพิเศษทางอิมมูนจะพบการเรืองแสงเป็นเส้นที่บริเวณรอยต่อของหนังกำพร้าและหนังแท้ต่อ IgG และ C(IgG and C3 deposit in basement membrane zone)

การรักษา
ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน ในช่วงที่โรคกำเริบ การรักษามีจุดประสงค์ในการลดการเกิดตุ่มน้ำใหม่และเร่งการสมานแผลให้เร็วที่สุด ยาที่ใช้รักษาหลักคือยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานโดยใช้ในขนาดสูง 0.5-1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมากหรือมีผื่นในบริเวณกว้าง จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ เช่นยา cyclophosphamide หรือยา azathioprine ร่วมด้วย แล้วค่อย ๆ ปรับลดยาลงช้า ๆ โดยใช้ยาที่น้อยที่สุดที่จะควบคุมโรคได้ ยาอื่น ๆ ที่อาจเป็นทางเลือกในการรักษาร่วมกับยาสเตียรอยด์ ได้แก่ยา dapsone หรือยา mycophenolic acid

การพยากรณ์โรค
โรคกลุ่มนี้เป็นโรคเรื้อรัง อาจมีอาการโรคกำเริบและสงบสลับกันไป ผู้ป่วยบางรายอาจเข้าสู่ระยะโรคสงบหลังรักษา 3-5 ปี แต่มีผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานและอาจเสียชีวิตจากความรุนแรงของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ผู้ป่วยที่มีอายุมาก เป็นรุนแรง มีผื่นในบริเวณกว้าง จะมีพยากรณ์โรคไม่ดี ผู้ป่วยเพมฟิกัสชนิดตื้น มักมีความรุนแรงน้อยกว่าและตอบสนองต่อการรักษาดีกว่า

คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น
1. ควรมาพบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดยาเอง
2. ควรทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลให้ใช้น้ำเกลือทำความสะอาด ใช้แปรงขนอ่อนทำความสะอาดลิ้นและฟัน ไม่แกะเกาผื่น
3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำจากยาที่ใช้รักษา จึงควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อ
4. ไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยที่มีแผลในปาก ควรงดอาหารรสจัด งดรับประทานอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ของขบเคี้ยว เนื่องจากอาจกระตุ้นการหลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก
5. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดคับ เพื่อลดการถลอกที่ผิวหนัง

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอาจพบได้หลักการดูแล
1.ส่งไปพบแพทย์เพื่ออวินิจฉัยและรับยา
2.ปรับความคิดว่าไม่ได้เป็นโรคที่น่ารังเกียจแต่ควรดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษ
3.ดูแลความสะอาดแผลป้องกันการติดเชื้อ
4.ดูแลให้ได้รับยาตามแพทย์

โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.nursingthailand.org

 


Leave a comment

การผื่นผ้าอ้อมในผู้สูงอายุ(Napply Rash)

candida-1024px-e1408168954341

การผื่นผ้าอ้อมในผู้สูงอายุ(Napply Rash)

ผื่นผ้าอ้อม นั้นเป็นโรคผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดคือ

1.ผื่นที่เกิดจาการแพ้และเสียดสีกับผ้าอ้อม

2.ผื่นที่เกิดจากเชื้อราแคนดิดา(Candidiasis)

อาการและอาการแสดงของโรค

1.มักจะพบผื่นบริเวนร่มผ้าภายในส่วนที่ใส่ผ้าอ้อม              โดยเฉพาะส่วนที่เป็นซอกหลืบ อับทึบ

2.ลักษณะผื่นเป็นทั้งแบบตุ่มแดง(Papule),ปื้นแดง(Plaque)

หรือผื่นที่มีหนังลอกออกเป็นแผ่นๆ

3.รอยผื่นแดงเล็กๆ บางที่จะรวมตัวกันเป็นผื่นใหญ่(Coalescing)

5f652a44ff3d5df934e591bcbb448097

การดูแลรักษาโรคนี้ด้วยตนเอง

1.พยายามใส่ผ้าอ้อมให้น้อยลง เพื่อลดความอับชื้น ไม่ชื้นแฉะอยู้ตลอดเวลา

2.ใช้ครีมหรือ Ointment ทาเพื่อเคลือบปกป้องผิวเด็ก เช่าน Zinc Oxide Paste หรือ Petrolatum(วาสลีน)และเปลี่ยนผ้าอ้อม

3.ทำความสะอาดผิวเนื้อส่วนที่อยู่ในผ้าอ้อมเบาๆด้วยน้ำเปล่าหรือสบู่อ่อนๆ

4.ใช้ยาฆ่าเชื้อราแบบครีม Clotimazole

5.ถ้ายังไม่ดีขึนแนะนำให้ไปพบแพทย์

ข้อมูลโดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์