ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-สาขาพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ แบริ่ง 36


Leave a comment

การป้องกันการเกิดแผลกดทับและวิธีดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ 

1827

  1. การกดทับ โดยมีข้อสังเกตุดังนี้
    1.1 บริเวณที่มีกล้ามเนื้อมากจะทนต่อแรงกดทับได้ดี
    1.2 มีรายงานว่า แรงกดประมาณ 70 มม.ปรอท กดทับเป็นเวลา 1 – 2 ชั่วโมง ติดต่อกันจะทำให้เกิด
    การขาดเลือดขึ้น
    1.3 แรงกดจำนวนมากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้ เท่ากับแรงกดน้อยๆ แต่
    ระยะเวลานาน
    1.4 แผลกดทับมักพบในผู้ป่วยอัมพาตช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
  2. แรงไถและความเสียดทาน ซึ่งจะทำให้เกิดการปริแตกของเนื้อเยื่อได้ง่าย และมักจะพบในผู้ป่วยอัมพาตที่นั่ง
    รถเข็น โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนตัวบนรถเข็น
  3. อุณหภูมิ ผลของการเพิ่มอุณหภูมิ จะทำให้มีการเพิ่มของเมตาบอลิสซึมของเซลล์ ส่งเสริมให้เนื้อเยื่อขาด
    เลือดและตายได้ง่ายขึ้น
  4. ความมีอายุ
  5. ภาวะทางโภชนาการ การขาดโปรตีนจะทำให้การเสริมสร้างเนื้อเยื่อช้าลง ส่งผลให้แผลหายช้า พบว่าผู้ป่วย
    เหล่านี้ทำให้แผลหายช้าลง
  6. การบวมน้ำ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการส่งผ่านอาหาร และออกซิเจนจากเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิด
    แผลกดทับได้ง่ายขึ้น และหายช้าลงด้วย
  7. ภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
  8. ปัจจัยอื่นๆ เช่นความชื้นจากเหงื่อ อุจจาระ

การป้องกันแผลกดทับ และการพยาบาล

  1. ดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ หรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ
  2. ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
  • ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
  • การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี
  • ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี
  • ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี
  • ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเพราะผู้ป่วย จะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลทำนวนมาก น้ำอย่างสมดุลย์ด้วย
  • ดูแลทำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ มีแนวทางปฎิบัติ ดังนี้

8.1 การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย
– ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล
– น้ำยาที่ใช้ล้างแผลต้องไม่มีพิษต่อเซลล์ ได้แก่ น้ำเกลือนอร์มัล ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น Povidone – Iodine , Chlorhexidine, Dekin- solution, Hydrogen peroxide ไม่ควรใช้ในระยะงอกขยาย เพราะจะทำลายเซลล์ที่จำเป็นในซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้า

8.2 การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย
– ใช้การชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย
– ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล ( น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อจากการปนเปื้อน
– กำจัดเศษเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้แบคทีเรียเจริญได้ดี จึงควรตัดเล็บออกให้หมด และเซลล์ใหม่จะงอกขยายเจริญมาปกคลุมแผลได้ดี
– กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แบคทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม

  1. อธิบาย ให้คำแนะนำ รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพริกตะแคงตัวและการทำความสะอาดแผล

สนสใจสอบถาม-ปรึกษษเพิ่มเติมไม่เสียค่าใช้จ่าย

TEL 090-569-7945


Leave a comment

ภาวะพร่องโภชนาการ

S__14409730

ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มที่

2. ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition)
หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น

ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (under nutrition or nutritional deficiency) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน(kwashiorkor)โรคขาดพลังงาน (marasmus)หรือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (marasmic-kwashiorkor) โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น โรคเหน็บชา คอพอก
2.ภาวะโภชนาการเกิน (over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ เช่น การได้รับวิตามิน เอ และ ดี มากเกินความต้องการของร่างกาย และร่างกายเก็บสะสมไว้ทำให้เกิดภาวะไฮเปอร์วิตามินโนซีส เอ และ ดี (hyper vitaminosis A และ D)

สนใจขอคำแนะนะเพิ่มเติม TLE.090-569-7945

http://www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

 


Leave a comment

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

67358_666904

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า                                        “อะเฟเซีย (Aphasia: การเสียการสื่อความ)” เป็นความบกพร่องของการสื่อสารเนื่องจากการมีพยาธิสภาพของสมองที่ควบคุมการพูดและภาษา ความผิดปกติทางภาษาและการพูดมักเกิดร่วมกับโรคอัม พาตซีกขวาในคนที่ถนัดมือขวา แต่เนื่องจากสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางการพูดและภาษา (Speech and language center) อยู่ที่สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา ดังนั้นการกล่าวถึงสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการพูดจึงหมายถึงสมองซีกซ้ายในคนถนัดขวา

สมองพิการเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก) หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ (Head injury) เช่น สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการกระทบกระเทือนจากผ่าตัดเอาเลือดคั่งหรือเนื้องอกในสมองออก ฯ

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เบื้องต้นควรเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากเคยพูดสื่อสารและทำงานได้อย่างดี แต่ต้องกลายมาเป็นภาระต่อครอบครัว และทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยต้องการเวลาในการปรับตัว และต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิด ครอบครัวจึงควรปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

  1. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน
  2. เรียกผู้ป่วยให้ฟังและสนใจก่อนสอนพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำอะไร หรือให้ตอบคำถามเสมอ
  3. ใช้ท่าทางและการพูดร่วมกันในการสื่อสารกับผู้ป่วย
  4. ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรกเช่นชี้ตาชี้หู ชี้ปากเป็นต้น
  5. รอให้ผู้ป่วยตอบสนองก่อน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำ ตอบ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย
  6. ช่วยพูดซ้ำๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป
  7. ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด
  8. ไม่ตกใจเมื่อผู้ป่วยพูดคำหยาบ
  9. กรณีที่ผู้ป่วยหัวเราะ หรือทำอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือ การฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ
  10. เวลาในการฝึกพูดแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที วันละประมาณ 3-4 ครั้ง
    1. ทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูด เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำผู้ป่วยไปติดตามการประเมินและการฝึกพูดเป็นระยะๆกับนักแก้ไขการพูดตามนัดเสมอ เพื่อปรับโปรแกรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

      ประเภทของความผิดปกติทางการพูดมี  2  แบบ

      1. การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders)

               การพูดไม่ชัดจากการบกพร่องของกลไกประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด(Dysarthria)
      ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดอ่อนแรง เป็นอัมพาต หรือ เกร็ง โดยจะพูดไม่ชัดมากขึ้นถ้าพูดยาวๆ หรือนานๆ ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายไหลที่มุมปากด้านใดด้านหนึ่งร่วมด้วยควรรักษาที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรัก ษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมิน และการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยได้

      การฝึกพูดในผู้ป่วย                                                                                                              hj      

      • การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด
        • การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก 2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ-เทอะ–เคอะ กระดกลิ้นซ้ำๆ
      • การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข
        • การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์
        • การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี
        • การท่องสูตรคูณ
        • การท่องพยัญชนะ ก–ฮ
        • การอ่านหนังสือออกเสียง
        • การถามตอบ
      • ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน
      • การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ
      2. การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)

      ทำให้การเรียบเรียงลำดับตำ แหน่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดบกพร่อง ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือวลี หรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจจะพูด  การรักษาควรที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรักษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาดังนี้                                                                1-1

      -การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ
      -การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก เช่น มอ ปอ พอ บอ เม เป เพ เบ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ เช่น ดา ตา ทา ชา จา กา คา งา ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น อาอู อีเอ แอเออ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น มาอู อีเบ แปเพอ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง

      โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-พระราม2-บางขุนเทียน

1 Comment

25171

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

บริการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ที่มีโรคประจำตัวต้องดูแและทานยาต่อเนื่อง

(เบาหวาน,ความดันสูง,มะเร็ง,กระดูกหัก,ข้อติด,การให้อาหารทางสายยาง,ผู้ป่วยเจาะคอ การดูแลแผลกดทับ

คำนวนสารอาหารที่ควรได้รับ/วัน

แสนสิริ โฮม แคร์ ยินดีให้บริการทุกท่านทั้ง 3 สาขา

สาขาสุขุมวิท101/1

สาขาบางนา-แบริ่ง 17

สาขาแบริ่ง  36

สาขาพระราม2-บางขุนเทียน

รายละเอียดการบริการ

1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 16000/เดือน

(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000/เดือน)

อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2000บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้

www.sansirihomecare.com

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 095-869-3595,02-003-2424


Leave a comment

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG)

e9d5994227290f9ac966be4f77d00af9--school-nursing-medical-school.jpg

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี คือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก ยิ้มได้น้อยลง หายใจลำบาก มีปัญหาการพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ปัจจุบัน การรักษาทำได้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมและเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โดยปกติแล้วมักไม่พบอาการเจ็บหรือปวด แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือปวดหลังมีประจำเดือนหรือหลังออกกำลังกาย อาการที่สังเกตได้ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา ใบหน้า ลำคอ แขนและขา โดยอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักมีรายละเอียดดังนี้

  • กล้ามเนื้อรอบดวงตา หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นอาการแรกที่สังเกตได้ รวมถึงพบปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มองไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น อาการจะดีขึ้นเมื่อหลับตาข้างใดข้างหนึ่งลง
  • ใบหน้า หากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกบนใบหน้าได้รับผลกระทบ จะทำให้การแสดงออกทางสีหน้าถูกจำกัด เช่น ยิ้มได้น้อยลง หรือกลายเป็นยิ้มแยกเขี้ยวเนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้
  • การหายใจ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อนอนราบอยู่บนเตียงหรือหลังออกกำลังกาย
  • การพูด การเคี้ยวและการกลืน เกิดจากกล้ามเนื้อรอบปาก เพดานอ่อน หรือลิ้นอ่อนแรง ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น พูดเสียงเบาแหบ พูดเสียงขึ้นจมูก เคี้ยวไม่ได้ กลืนลำบาก ไอ สำลักอาหาร บางกรณีอาจเป็นสาเหตุไปสู่การติดเชื้อที่ปอด
  • ลำคอ แขนและขา อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ มักเกิดขึ้นที่แขนมากกว่าที่ขา ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เดินเตาะแตะ เดินตัวตรงได้ยาก กล้ามเนื้อบริเวณคออ่อนแรง ทำให้ตั้งศีรษะหรือชันคอลำบาก เกิดปัญหาในการแปรงฟัน การยกของ รวมไปถึงการปีนบันได

หากพบว่ามีปัญหาด้านการมอง การหายใจ การพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นไปโดยลำบาก เช่น การใช้มือและแขน การทรงตัว การเดิน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disorder) โดยมีรายละเอียดสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนี้

  • สารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ (Antibodies) และการส่งสัญญาณประสาท ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตแอนติบอดี้ออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง แอนติบอดี้จะไปทำลายหรือขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) โดยถูกส่งไปที่ตัวรับ (Receptor) ซึ่งอยู่ที่ปลายระบบประสาทบนกล้ามเนื้อแต่ละมัด ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้
  • ต่อมไทมัส (Thymus Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกระดูกอก มีส่วนในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผลิตสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน เด็กจะมีต่อมไทมัสขนาดใหญ่และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีขนาดของต่อมไทมัสที่ใหญ่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยบางรายมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมไทมัส ซึ่งพบประมาณร้อยละ 10 ในผู้ป่วยสูงอายุ

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติและอาการของผู้ป่วยว่าอาการที่พบอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่ ขยับลูกตาและเปลือกตาได้ตามปกติหรือผิดปกติอย่างไร แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปให้นักประสาทวิทยาหรือจักษุแพทย์วินิจฉัยเพิ่มเติม และอาจมีการทดสอบด้วยวิธีดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • การตรวจระบบประสาท ด้วยการทดสอบการตอบสนอง กำลังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกจากการสัมผัส การทรงตัว หรือการมองเห็น เป็นต้น
  • การตรวจเลือด แพทย์จะตรวจนับจำนวนของแอนติบอดี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะมีจำนวนของแอนติบอดี้ที่ไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ส่วนมากจะตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด Anti-MuSK
  • การตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Test) ทำได้ 2 วิธี คือ Repetitive Nerve Stimulation Test เป็นการทดสอบด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำ ๆ เพื่อดูการทำงานของมัดกล้ามเนื้อ โดยการติดขั้วไฟฟ้าที่ผิวหนังบริเวณที่พบอาการอ่อนแรง และส่งกระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยเข้าไปเพื่อตรวจสอบความสามารถของเส้นประสาทในการส่งสัญญาณไปที่มัดกล้ามเนื้อ และการตรวจด้วยไฟฟ้า (Electromyography) เป็นการวัดกระแสไฟฟ้าจากสมองที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อดูการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อเพียงเส้นเดียว (Single-fiber Electromyography หรือ EMG)
  • Edrophonium Test หรือ Tensilon Test โดยการฉีด Edrophonium Chloride ปกติกล้ามเนื้อหดตัวทำงานจากการที่สารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ไปจับตัวรับที่กล้ามเนื้อ จากนั้นจะมีกระบวนการที่ทำให้แอซิติลโคลีนปล่อยจากตัวรับที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว การฉีด Edrophonium จะไปยับยั้งขั้นตอนการปล่อยตัวจากตัวรับ ทำให้แอซิติลโคลีนเกาะตัวกับตัวรับนานขึ้นจึงทำให้กล้ามเนื้อยังคงทำงานหดตัวได้นานขึ้น ไม่เกิดอาการอ่อนแรง แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปัญหาการเต้นของหัวใจและการหายใจ แพทย์จะวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดและการตรวจด้วยไฟฟ้า ทำโดยแพทย์ประสาทวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญและมีอุปกรณ์ครบครัน จึงเป็นผลให้แพทย์ไม่นิยมวินิจฉัยด้วยวิธีนี้
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography) หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อหาเนื้องอกหรือความผิดปกติที่บริเวณต่อมไทมัส
  • การทดสอบการทำงานของปอด (Pulmonary Function Tests) เพื่อประเมินสภาพการทำงานของปอดและการหายใจ
  • Ice Pack Test เป็นการทดสอบเสริม โดยแพทย์จะนำถุงน้ำแข็งมาวางในจุดที่มีอาการตาตกเป็นเวลา 2 นาที และวิเคราะห์การฟื้นตัวจากหนังตาตกเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ในปัจจุบัน การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่รักษาตามอาการและเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละราย เช่น อายุ ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

  • การรับประทานยา
    • ยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors เช่น ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) เหมาะแก่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับเบาหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ โดยยาจะช่วยเพิ่มการทำงานระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและแข็งแรงขึ้น การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ เหงื่อออกและน้ำลายไหลมาก เป็นต้น
    • ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาชนิดเม็ดที่ใช้ในปริมาณต่ำ เพื่อยับยั้งการผลิตแอนติบอดี้ การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น กระดูกบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงโรคเบาหวาน
    • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เช่น อะซาไธโอพรีน, ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล, ไซโคลสปอริน, เมทโธเทร็กเต หรือทาโครลิมัส การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงตับและไตอักเสบ การใช้ยานี้จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงจะเห็นผล ควรตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันและผลข้างเคียงอื่น ๆ
  • การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (Plasmapheresis) โดยเป็นการกำจัดแอนติบอดี้ที่จะไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากร่างกาย โดยวิธีการรักษานี้จะให้ผลอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ความดันเลือดลดลง มีเลือดไหล จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • การบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous Immunoglobulin) หรือ IVIg จะช่วยเพิ่มจำนวนแอนติบอดี้ที่มีความเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การรักษาด้วยวิธีนี้เสี่ยงน้อยกว่าการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า เห็นผล 3-6 สัปดาห์ แต่ส่งผลข้างเคียงในระดับที่ไม่รุนแรงนัก เช่น หนาวสั่น วิงเวียน ปวดศีรษะ และบวมน้ำ การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • การฉีดยา Rituximab เข้าเส้นเลือด จะใช้กับผู้ป่วยในบางกรณี มีผลในการกำจัดเซลล์เม็ดเลือดขาว และเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การผ่าตัดต่อมไทมัส พบว่าในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวน 15% มีเนื้องอกเกิดขึ้นที่บริเวณต่อมไทมัส ซึ่งเป็นต่อมที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แพทย์จะผ่าตัดต่อมไทมัสเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น เนื้องอกที่ต่อมไทมัสที่อาจกระจายสู่หน้าอก เป็นต้น

แนวทางปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงและคนใกล้ชิด

  • พักผ่อนให้มาก เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้
  • ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด
  • เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า
  • รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก แบ่งมื้ออาหารเป็นหลาย ๆ มื้อ และเพลิดเพลินกับการรับประทานและการเคี้ยวในช่วงที่กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ผ้าปิดตาในผู้ป่วยที่เห็นภาพซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เขียนหรืออ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และเพื่อลดการเกิดภาพซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รักษาให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น

  • ภาวะหายใจล้มเหลว (Myasthenic Crisis) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจอยู่ในภาวะอ่อนแอ แทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
  • เนื้องอกที่ต่อมไทมัส มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 15% ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งต้อมไทมัสนี้เป็นต่อมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroid) หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญ หากเกิดการแทรกซ้อนของภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการขี้หนาว น้ำหนักขึ้น ส่วนในผู้ป่วยที่มีการแทรกซ้อนของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จะมีอาการขี้ร้อน น้ำหนักลดลง
  • มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรดเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus) หรือที่รู้จักในชื่อโรคพุ่มพวง

การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ในปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินไป
  • ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป
  • ควบคุมความเครียด

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์


การออกกำลังกาย Range of motion exercise (ROM exercise)ตอนที่ 2

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน

(strength training and endurance exercise)

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength) หมายถึง ความตึงสูงสุดหรือแรงสูงสุดที่กล้ามเนื้อทำได้จากการหดตัว

ความทนทานของกล้ามเนื้อ (muscle endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะหดตัวทำงานซ้ำๆได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีความทนทาน (endurance) อีกความหมายหนึ่งคือความทนทานของทั้งร่างกาย (general endurance) หรือ สมรรถภาพของหัวใจ ปอดและระบบไหลเวียนโลหิต(cardiopulmonary fitness)

หลักการ

การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training, strengthening) ต้องให้กล้ามเนื้อหดตัวด้วยแรงสูงสุดหรือเกือบสูงสุด ส่วนการออกกำลังเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ(endurance exercise) ให้ใช้แรงต้านน้อยแต่ให้ทำซ้ำจนกล้ามเนื้อล้า ซึ่งการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบมีผลต่อกล้ามเนื้อต่างกัน การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงจะเพิ่ม myofibrillar protein มากกว่าส่วนการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานจะเพิ่ม sarcoplasmic protein และ oxidative enzyme (ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ใช้ออกซิเจน) มากกว่า

อย่างไรก็ตามความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไปด้วยกัน คือแม้ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงก็จะพบว่ากล้ามเนื้อนั้นมีความทนทานเพิ่มขึ้นด้วย และการออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อทนทานก็จะทำให้ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

สามารถแบ่งการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานออกเป็น 3 แบบคือ

  1. การออกกำลังแบบ isometric หรือ static คือ การเกร็งกล้ามเนื้อโดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของ

ข้อซึ่งอาจเกร็งต้านวัตถุที่อยู่นิ่งหรือจากร่างกายตัวเอง

ข้อดี

  • ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อ ใช้ได้ในกรณีข้ออักเสบระยะแรกที่ยังไม่ต้องการให้มีการขยับข้อ
  • ใช้ในกรณีที่ขยับไม่ได้ เช่น อยู่ในเฝือก ข้อติดแข็ง
  • ทำได้ง่าย
  • ไม่ต้องใช้อุปกรณ์

ข้อเสีย

  • มีผลต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ
  • ถ้าทำไม่ถูกต้องโดยกลั้นหายใจจะเกิด valsava effect ทำให้หน้ามืดได้
  • ความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นจะเป็นเฉพาะมุม (angle-specific) คือออกกำลังกล้ามเนื้อในมุมไหนจะ ได้ความแข็งแรงที่มุมนั้น เช่น ถ้าออกกำลังกล้ามเนื้อเหยียดเข่าในท่าเข่าเหยียดตรง กล้ามเนื้อ   quadriceps ก็จะแข็งแรงเฉพาะในท่าที่เข่าเหยียดตรง ไม่ใช่ในท่าเข่างอ 90 องศาเป็นต้น

แนะนำ

ออกแรงเกร็งต้านประมาณ 5-6 วินาทีต่อครั้ง พัก 1-2 วินาทีระหว่างครั้ง ทำ 8-10 ครั้งต่อ 1รอบ(set)  2-3 รอบ(set) ต่อวัน ควรทำในหลายๆมุมเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงทุกมุม

ถ้าต้องการให้กล้ามเนื้อแข็งแรง (strength) แนะนำให้ออกแรงเกร็งต้านสูงสุดหรือเกือบสูงสุด

  1. การออกกำลังกายแบบ isotonic หรือ dynamic คือ การออกกำลังที่มีแรงต้านตลอดการ

เคลื่อนไหวของข้อ แต่ความยาวของกล้ามเนื้อ แรงตึงตัว (tension) และความเร็วมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถใช้แรงโน้มถ่วงต้านหรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น Dumbell Barbell และ เครื่องมืออื่นที่เห็นใน fitnessหรือ Gym

ข้อดี

  • ไม่ค่อยมีผลต่อความดันโลหิต สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  • ทำได้ง่าย ตั้งแต่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือประยุกต์ใช้อุปกรณ์ใกล้ตัว อุปกรณ์มีขายอยู่ทั่วไปหรือมีใน fitness/gym

ข้อเสีย

  • มีข้อจำกัดของแรงต้านต่อกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงในมุมต่างๆ คือกล้ามเนื้อจะมีแรงตึงตัวในมุมต่างๆเปลี่ยนแปลงไปตลอดการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อไม่สามารถออกแรงสูงสุดได้ทุกมุมของการเคลื่อนไหว
  • มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ

Progressive Resistive Exercise (PRE) ของ DeLome คือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ ตามสัดส่วน เริ่มต้นจากการหา 10 RM คือน้ำหนักมากที่สุดที่สามารถยกได้เพียง 10 ครั้ง โดยเริ่มยกน้ำหนักจาก 50%, 75% และ 100% ของ 10 RM รอบละ 10 ครั้ง (ผู้ทำจะเกิด muscle fatique) ทำ 3-5 วันต่อสัปดาห์

แนะนำการออกกำลังในชีวิตประจำวัน

  • เพื่อเพิ่มความแข็งแรง : ใช้น้ำหนักมากกว่า 70% ของน้ำหนักที่ยกได้สูงสุดหรือน้ำหนักที่ยกได้8-10 ครั้งต่อเนื่อง ทำ 8-12 ครั้งต่อรอบ(set) 3 รอบ(set) ต่อวัน โดยทำช้าๆ ทั้งขาขึ้น(concentric) และขาลง(eccentric)  และให้มีช่วงพัก 2-5 วินาที หลีกเลี่ยงการทำโดยการเหวี่ยงช่วย

ความหนักที่เหมาะสมคือใช้น้ำหนักหรือแรงต้านซึ่งทำแล้ว 8-12 ครั้งเกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อ (muscle fatique)

  • เพื่อเพิ่มความทนทาน : ใช้น้ำหนัก15-40% ของน้ำหนักที่ยกได้สูงสุด ทำ 20-30 ครั้งขึ้นไปต่อรอบ (set) จนเกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อ
  1. การออกกำลังกายแบบ isokinetic คือการออกกำลังต้านการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วคงที่ซึ่ง

สามารถปรับความเร็วได้ตามต้องการ

ข้อดี

  • กล้ามเนื้อสามารถออกแรงได้สูงสุดตลอดการเคลื่อนไหว
  • ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ
  • สามารถฝึกได้ทั้งความแข็งแรงและความเร็ว

ข้อเสีย

  • ต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะซึ่งราคาแพงมาก
  • ไม่สามารถใช้ในบางตำแหน่งของร่างกาย

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของทั้งร่างกาย (general endurance) ซึ่งก็คือการออกกำลังกายแบบ aerobic นั่นเอง

การออกกำลังกายแบบ aerobic  คือการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องกันนานพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นกว่าในภาวะปกติ ซึ่งได้แก่การออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ต่อเนื่องกันนานเกิน 15 นาที ให้รู้สึกเหนื่อยปานกลาง และทำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อพูดถึงการออกกำลังกายแบบ aerobic จะมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องแนะนำผู้ป่วยคือ

  1. ความหนักของการออกกำลังกาย (intensity)

ความหนักน้อยที่สุดที่ทำให้ร่างกายมีการปรับตัวคือ ความหนักที่ทำให้ชีพจร 55% ของชีพจรสูงสุด  American College of Sport Medicine 1998 แนะนำใช้ความหนักประมาณ 55-90% ของชีพจรสูงสุด ซึ่งชีพจรสูงสุดคำนวณจาก 220- อายุ (ใช้ในผู้ที่มีสุขภาพดีทั่วไป) ในปัจจุบันมีเครื่องออกกำลังกายที่สามารถจับชีพจรขณะออกกำลังกายได้ หรือเป็นนาฬิกาจับชีพจรทำให้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถจับชีพจรได้โดยทั่วไปใช้ระดับของความเหนื่อยในการบอก intensity คือความเหนื่อยปานกลางที่ทำให้ยังสามารถพูดเป็นประโยคต่อเนื่องได้

  1. ความนานของการออกกำลังกาย (duration)

กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากระบบ aerobic หลังออกกำลังกายได้ 3 นาที ส่วนหัวใจ ปอดและระบบหลอดเลือดโดยทั่วไปจะได้ประโยชน์เมื่อออกกำลังกายนาน 15 นาทีขึ้นไป จึงแนะนำการออกกำลังกายต่อเนื่องนานเกิน 15 นาที ซึ่ง American College of Sport Medicine 1998 แนะนำให้ออกกำลังกาย20-60 นาทีต่อเนื่อง หรือ อย่างน้อยครั้งละ 10 นาที สะสมให้ได้เวลาครบ เนื่องจากพบว่าการออกกำลังกายแบบสะสมก็ได้ประโยชน์ต่อหัวใจและปอดโดยเฉพาะคนที่สภาพร่างกายไม่แข็งแรงหรือไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนแนะนำให้เริ่มออกกำลังกายแบบนี้จะมีโอกาสร่วมมือและทำได้มากกว่า

  1. ความถี่ของการออกกำลังกาย (frequency)

ควรแนะนำการออกกำลังกายแบบ aerobic สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ควรมีวันพักไม่ควรทำทุกวัน

  1. วิธีออกกำลังกาย (mode of exercise)

การออกกำลังกายแบบ aerobic เน้นการใช้กลุ่มกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ไม่ได้จำเพาะที่มัดใดมัดหนึ่ง ซึ่งสามารถปรับหรือแนะนำให้เหมาะกับแต่ละคนตามสภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ความถนัดหรือความชอบ เช่น ถ้ามีปัญหาที่ข้อเข่า ข้อเท้า หรือน้ำหนักตัวมาก ควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนักกระแทกที่เข่าและข้อเท้ามาก เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดินเร็ว

นอกจากนี้ก่อนการออกกำลังกายแบบ aerobic ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย (warm-up) ซึ่งรวมถึงการยืดกล้ามเนื้อ 10-15 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายและกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกาย และการผ่อนความหนัก (cool-down) หลังการออกกำลังกายไม่ควรหยุดออกกำลังกายทันทีเนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อยังขยายตัว เลือดไหวเวียนกลับหัวใจไม่ทันมีผลให้เกิดอาการหน้ามืดได้โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายวิธีใดก็ตามควรค่อยๆเพิ่มความหนัก/ความเหนื่อย และความนาน ไม่หักโหม เริ่มจากการ warm-up และการยืดกล้ามเนื้อที่จะใช้ออกกำลังกาย เช่น ถ้าออกกำลังกายโดยการเดินเร็วก็ยืดกล้ามเนื้อขา จากนั้นค่อยๆเพิ่มความหนัก คือ ค่อยๆเดินเร็วขึ้น จนถึงระดับที่เหนื่อยปานกลางแล้วคงไว้ที่ระดับนี้นานตามเวลาที่กำหนด แล้วค่อยๆลดระดับความเหนื่อยลงหรือ cool-down คือค่อยๆเดินช้าลงเรื่อยๆ และตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อ ให้ระยะเวลาการออกกำลังกายค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่จะได้ประโยชน์เต็มที่เมื่อออกกำลังกายต่อเนื่องกันนาน 20-60 นาที

บุคคลทั่วไปที่สุขภาพดี ชายอายุน้อยกว่า 40ปี หญิงอายุน้อยกว่า 50ปี สามารถเริ่มออกกำลังกายแบบ aerobic ได้เลยดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวหรือมีอาการผิดปกติที่ไม่เคยออกกำลังกายเป็นประจำ อยากเริ่มออกกำลังกายไม่ควรเริ่มจากออกกำลังกายอย่างหนักเลย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน หรือเริ่มออกกำลังกายจากเบาและค่อยๆเพิ่มความหนักและระยะเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การออกกำลังกายเพื่อลดไขมัน

ช่วงแรกของการออกกำลังกาย ร่างกายจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานหลัก แต่ถ้าออกกำลังกายต่อเนื่องไปจะมีสัดส่วนการใช้ไขมันมากขึ้นหลัง 30 นาทีและจะเห็นผลชัดเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่องนาน 60 นาที ดังนั้นถ้าหวังผลการลดไขมันจะแนะนำให้ออกกำลังกายต่อเนื่องนานเกิน 30 นาที โดยให้ความหนักน้อยกว่าปกติเพื่อให้ทำได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

การออกกำลังกายเพื่อฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและทักษะ

(Exercise for coordination and skill)

การประสานงานของกล้ามเนื้อ (muscle coordination) คือ ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกต้องในเวลาและจังหวะถูกต้องด้วยแรงที่เหมาะสม

ทักษะ (skill) คือ ความสามารถที่จะทำงานเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การที่กล้ามเนื้อสามารถทำงานประสานกันได้ดีต้องอาศัยการทำงานในระดับต่างๆ คือ

  • ระดับสมองและระบบประสาท

สมองและระบบประสาทจะควบคุมการเคลื่อนไหวโดยสั่งผ่านลงมาให้กล้ามเนื้อทำงานและมีการรับรู้ (feedback) ตลอดเวลา เช่น จะหยิบแก้วน้ำ สมองจะสั่งไปที่แขนให้ยกขึ้นเอื้อมไปยังแก้วน้ำ การรับรู้ของข้อและสายตาจะส่งสัญญาณกลับไปบอกสมองว่าขณะนี้แขนอยู่ใกล้เป้าหมายหรือยัง เพื่อให้การเคลื่อนไหวราบรื่นและแม่นยำ ปัญหาการเคลื่อนไหวที่เกิดจากสมอง เช่น CVA, cerebral palsy

  • ระดับกล้ามเนื้อ

การเคลื่อนไหวอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ 4 กลุ่มที่ประสานกันอย่างดีคือ

  1. Prime mover (agonist) คือกล้ามเนื้อหลักที่ทำงาน เช่น กล้ามเนื้อ biceps เป็นกล้ามเนื้อหลักในการงอข้อศอก
  2. Antagonist คือกล้ามเนื้อที่ทำงานตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหลัก เช่น กล้ามเนื้อ tricepsเป็น antagonist ของกล้ามเนื้อ biceps ซึ่งในงานที่หนักมากกล้ามเนื้อ antagonist จะเกร็งช่วย prime mover ด้วย
  3. Synergist คือกล้ามเนื้อที่ช่วย prime mover ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทางเดียวกัน เช่น  กล้ามเนื้อ brachialis เป็น synergist ของกล้ามเนื้อ biceps ในการงอข้อศอก
  4. Stabilizer คือกล้ามเนื้อที่หดตัวเพื่อตรึงการเคลื่อนไหวของข้อที่อยู่ต้นกว่าในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของข้อที่อยู่ถัดไป เช่น เมื่องอข้อศอกโดยไม่มีอะไรรองรับแขน กล้ามเนื้อrotator cuff จะทำหน้าที่เป็น stabilizer ประคองข้อไหล่ให้ข้อศอกเกิดการเคลื่อนไหวอย่างที่ต้องการ

สาเหตุการเคลื่อนไหวที่ขาดการประสานงานในระดับกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อบางกลุ่มขาดความแข็งแรงหรือทนทานเพียงพอ

โดยทั่วไปการเคลื่อนไหวที่ทำซ้ำๆร่วมกับการปรับปรุงการเคลื่อนไหวนั้นให้ดีขึ้น ประมาณ20,000 – 30,000 ครั้ง จะเกิดเป็นการเคลื่อนไหวที่ทำได้อัตโนมัติ และถ้าทำซ้ำไปเป็นล้านครั้งก็จะเกิดเป็น ทักษะ

การฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและทักษะมีหลักการคือ เริ่มจากการการฝึกกล้ามเนื้อprime mover โดยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ไม่เครียด ผู้ฝึกช่วยทำ passive exercise พร้อมกับการกระตุ้นความรู้สึกในการเคลื่อนไหว (proprioception) จากนั้นให้ผู้ป่วยขยับเป็น active assistive exercise และ active exercise ตามลำดับ โดยเน้นการทำงานของกล้ามเนื้อ prime mover และหลีกเลี่ยงการทำงานของกล้ามเนื้อมัดอื่น เมื่อทำได้คล่องแล้วจึงฝึก neuromuscular coordination คือฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อหลายมัดมากขึ้น จากง่ายไม่ซับซ้อนทำซ้ำๆ เมื่อทำได้ดีแล้วจึงฝึกการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนขึ้น ใช้กล้ามเนื้อหลายกลุ่มมากขึ้น

โดยที่การฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและทักษะควรหลีกเลี่ยงภาวะเหล่านี้คือ

–          ความเครียด กังวล

–          กล้ามเนื้อล้า

–          ความเจ็บปวด

–          กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงหรือกล้ามเนื้อเกร็ง

การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย

(Relaxation exercise)

การออกกำลังกายเพื่อความผ่อนคลายใช้ในกรณีที่มีอารมณ์ตึงเครียด กล้ามเนื้อเกร็งตัวจนเป็นสาเหตุของอาการปวดและความทุกข์ทรมาน เช่น กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) โรคปอดเรื้อรังอย่าง COPD ซึ่งมีการเกร็งของกล้ามเนื้อการหายใจทำให้ประสิทธิภาพในการหายใจแย่ลง เป็นต้น

หลักการคือให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความแตกต่างของกล้ามเนื้อที่หดตัวและผ่อนคลาย ตอนแรกฝึกโดยผู้ป่วยรู้ตัว (consciously) เมื่อทำจนคล่องแล้วจะสามารถทำได้โดยไม่รู้ตัว (unconsciously)

การฝึกเริ่มจากจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ผ่อนคลาย ปราศจากสิ่งกระตุ้น ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่กล้ามเนื้อผ่อนคลายที่สุด จากนั้นให้เริ่มเกร็งกล้ามเนื้อแต่ละส่วนทั้งแขน ขา ใบหน้า และลำตัวเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างการเกร็งกล้ามเนื้อและการผ่อนคลาย ทำซ้ำๆจนสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ต้องการได้เต็มที่และทำได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมถึงทำได้แม้ไม่รู้ตัว

1299


Leave a comment

Parkinson’s Disease

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ

หลายคนเคยมีอาการมือไม้สั่นขณะตื่นเต้นซึ่งทุกคนมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่อาการมือสั่นบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณกำลังมีความผิดปกติทางระบบประสาท อาการมือสั่นสามารถจำแนกออกเป็นหลายรูปแบบ ทั้งแบบปกติ และไม่ปกติ ดังนั้นเราจึงควรทราบว่าลักษณะใดที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ เพื่อให้เราคอยหมั่นตรวจสอบตนเองและคนรอบข้าง

ลักษณะของอาการมือสั่นมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะบ่งบอกตำแหน่งความผิดปกติทางระบบประสาทที่แตกต่างกันออกไป สำหรับบทความนี้จะขอหยิบยกลักษณะอาการมือสั่นที่พบได้บ่อย ซึ่งมีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้

การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ

การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ

 

ลักษณะที่ 1 อาการมือสั่นขณะที่ร่างกายอยู่เฉยๆ ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะขยับ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนี้ได้หรือที่เรียกว่า Resting tremor เป็นหนึ่งในลักษณะอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วน substantia nigra ที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine)

ลักษณะที่ 2 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อตั้งใจจะเคลื่อนไหวหรือมีเป้าหมายในการเคลื่อนไหว เช่น การเอื้อมมือหยิบสิ่งของ ในทางการแพทย์เรียกว่า Intention tremor อาการนี้มักพบความผิดปกติของสมองส่วน Cerebellum (สมองน้อย) หรือส่วนก้านสมอง (Brain stem) ซึ่งอาจเกิดในกรณีที่สมองส่วนนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีเนื้องอก หรืออาจพบได้ในผู้ป่วยที่ทานยากันชักเกินขนาด หรือคนที่ติดสุราเรื้อรัง

ลักษณะที่ 3 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อแขนหรือขาอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วงโลก หรือ Postural tremor เป็นอาการที่มีสาเหตุจากภาวะเครียด,ตื่นเต้น, ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal) นอกจากนี้อาจเป็นลักษณะของโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุ (Essential tremor)

ลักษณะที่ 4 อาการสั่นจากสภาวะจิตใจ หรือ Psychogenic tremor เป็นอาการสั่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใด อาการสามารถดีขึ้นได้เอง เป็นการสั่นที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เมื่อไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นอาการสั่นจะดีขึ้น ลักษณะนี้เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นว่าอาการมือสั่นมีหลากหลายรูปแบบซึ่งมีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพที่แตกต่างกัน การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้รับแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้น การหมั่นสังเกตอาการดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับท่านเองและเพื่อคนที่ท่านรัก

หลังจากที่ทราบลักษณะอาการมือสั่นรูปแบบต่างๆ แล้ว ลำดับถัดไปจะขอนำเสนอรอยโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการในแต่ละลักษณะ เริ่มจากอาการแรก นั่นคือ

อาการมือสั่นจากโรคพาร์กินสัน หรือ Resting tremor เป็นอาการสั่นขณะร่างกายอยู่เฉยๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะอาการที่จะพบได้ในผู้ปวยโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสันมักพบมากในผู้ที่มีอายุ 55-60 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยเช่นกัน เรียกว่า Young-onset Parkinson’s disease (YOPD) โรคนี้พบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีอาการเหมือนผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แต่มีการดำเนินโรคที่ต่างกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาความผิดปกติทางการรับรู้ และมีปัญหาการเดินน้อยกว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอายุมาก แต่ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อการรักษาทางยาไม่ดี ดังนั้นทำให้การดำเนินโรคค่อนข้างเร็วกว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอายุมาก

เมื่อพูดถึงโรคพาร์กินสันแล้ว หลายคนจะนึกถึงอาการมือสั่นเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริงแล้วการเสื่อมของ Substantia nigra ทำให้การผลิตสารสื่อประสาท dopamine ลดลง ซึ่งเป็นสารที่เชื่อมโยงไปยังสมองส่วน Corpus striatum ทำให้การควบคุมการทำงานและการประสานงานของกล้ามเนื้อลดลง

 

นอกจากอาการสั่นขณะอยู่เฉยๆ แล้ว ผู้ป่วยยังแสดงอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia), อาการแข็งเกร็ง (Ragidity) และอาการทรงตัวไม่มั่นคง (Postural instability) ในการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันต้องมีลักษณะอาการอย่างน้อย 3 ใน 4 ของอาการที่กล่าวมา อาการเหล่านี้ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเป็นไปได้ยาก เช่น ลุกขึ้นยืนยาก, หยิบจับสิ่งของได้ลำบาก หรือ เดินไม่มั่นคง ซึ่งลักษณะการเดินจะเป็นแบบเดินซอยเท้าถี่ๆ (Shuffle), โน้มตัวไปด้านหน้า (Festination) หรือก้าวขาไม่ออกเหมือนเท้าติดอยู่กับพื้น (Freezing gait)

การรักษา

ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ทำให้อาการหายขาดได้ เนื่องจากส่วนของสมองที่เสื่อมไปแล้วไม่สามารถฟื้นตัวหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นจึงทำได้เพียงเพิ่มสารสื่อประสาท dopamine ในสมองให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ยาที่ใช้ในปัจจุบันคือ ยากลุ่ม LEVODOPA และ DOPAMINE AGONIST นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว การทำกายภาพบำบัดจะเป็นอีกแนวทางการรักษาหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยชะลอการดำเนินโรคให้เกิดช้าลงด้วย แนวทาวการรักษาทางกายภาพบำบัดเน้นการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ, ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวของแขนและขา, การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ, การฝึกการทรงตัวขณะยืนและเดิน เป็นต้น

1747-0550x0475

อาการผู้ป่วยพาร์กินสัน

การรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เริ่มแรกต้องรักษาตามพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดความผิดปกติของสมองน้อย (Cerebellum) เมื่ออาการคงที่แล้ว การฟื้นฟูร่างกายเป็นสิ่งสำคัญในลำดับถัดมา ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักกายภาพบำบัดที่จะทำการฟื้นฟูร่างกายให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่สูญเสียการควบคุมให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งร่วมกับการฝึกการทรงตัว

ลักษณะการสั่นลำดับถัดไปคือ Postural tremor อาการสั่นที่เกิดเมื่อแขนหรือขาอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วง เป็นลักษณะที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรืออยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุ (Essential tremor) โดยทั่วไป อาการมักใกล้เคียงกับอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้ดังนี้

ในด้านการรักษา หากมีอาการสั่นไม่มากจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เพียงแต่พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้น การฝึกสมาธิทำให้เกิดความผ่อนคลายช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ถ้ามีอาการสั่นมากอาจต้องใช้ยาเพื่อความคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาการสั่นอาจทำให้เสียบุคลิกภาพและทำให้ขาดความมั่นใจในการทำกิจกรรม

ลักษณะสุดท้ายอาการมือสั่นจากสภาวะทางจิต เป็นลักษณะอาการสั่นที่มีลักษณะแตกต่างจากการสั่นประเภทอื่น ดังนี้

  1. เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด อยู่ๆ ก็สั่นขึ้นเอง
  2. มีลักษณะอาการสั่นหลายรูปแบบ อาจจะสั่นขณะอยู่เฉยๆ หรือขณะอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วง หรือขณะตั้งใจทำการเคลื่อนไหว
  3. อาการสั่นลดลงเมื่อมีสิ่งรบกวน หรือสูญเสียสมาธิ
  4. การสั่นมีหลากหลายความถี่
  5. มีอาการอื่นร่วมด้วย นอกจากอาการสั่น

ในด้านการรักษา ไม่มียาที่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ ทางกายภาพบำบัดสามารถช่วยในด้านการให้คำแนะนำ การป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะข้อติดแข็งจากการเคลื่อนไหวร่างกายไม่สุดการเคลื่อนไหว อาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.sansirihomecare.com

 


การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise)ตอนที่ 1

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา 

การออกกำลังกาย (Exercise) คือการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise) คือการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทุกส่วนของร่างกายเพื่อการบำบัดรักษา ลดอาการของผู้ป่วย หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษาเริ่มมีมานานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มมีการจารึกสมัยจีนโบราณ และมีการนำการออกกำลังกายมาใช้ในการแพทย์อย่างจริงจังสมัยกรีกโดยมี Herodicus ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการบำบัดรักษาโดยวิธีออกกำลัง ต่อมาในสมัยโรมันการออกกำลังกายเป็นที่นิยมมากจนมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เมื่อการแพทย์เจริญมากขึ้นสามารถอธิบายกลไก ประโยชน์และข้อระวังของการออกกำลังกายจนในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับและเข้าใจว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดรักษาผู้ป่วย

การแบ่งชนิดของการออกกำลังกาย แบ่งได้หลายวิธี

  1. ตามวัตถุประสงค์ หรือผลที่ต้องการ เช่น
  • เพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ (range of motion)
  • เพื่อเพิ่มความแข็งแรง (strength) และความทนทาน (endurance)
  • เพื่อเพิ่มการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ (coordination) และทักษะ (skill)
  • เพื่อการผ่อนคลาย (relaxation)
  1. ตามผู้ออกแรง
  • Active exercise คือการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยเป็นผู้เกร็งกล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวเองทั้งหมด
  • Active-assistive exercise คือการออกกำลังกายที่ให้ผู้ป่วยออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อร่วมกับมีแรงจากภายนอกช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว
  • Passive exercise คือการอาศัยให้ผู้อื่นหรือแรงจากภายนอกทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย
  1. ตามลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • Static หรือ isometric exercise คือการเกร็งกล้ามเนื้อโดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ ความยาวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลงแต่ความตึงตัว (tension) ของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้น
  • Dynamic หรือ isotonic  exercise คือการออกกำลังกายที่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อ น้ำหนักหรือแรงต้านการเคลื่อนไหวคงที่แต่ความเร็วในการเคลื่อนไหวข้ออาจไม่คงที่ ซึ่งแบ่งได้เป็น

Concentric exercise คือ กล้ามเนื้อมีความยาวสั้นลงในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น การงอข้อศอกจากท่าเหยียดศอกสุด กล้ามเนื้อ biceps brachii หดสั้นลงจึงเรียกได้ว่าเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ concentric contraction ของกล้ามเนื้อ biceps หรือเหยียดเข่าตรงจากท่านั่งห้อยขา ขณะที่กล้ามเนื้อ quadriceps เกร็งเพื่อเหยียดเข่าตรงก็เป็นการทำงานแบบ concentric contraction เช่นเดียวกัน

Eccentric exercise คือ กล้ามเนื้อมีความยาวเพิ่มขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น เมื่อมือถือน้ำหนักแล้วค่อยๆเหยียดศอกจากท่างอศอกเพื่อวางของ ขณะนั้นกล้ามเนื้อ biceps brachii จะเกร็งตัวเพื่อชะลอให้การเคลื่อนไหวช้าและนุ่มนวลแขนไม่ตกลงทันที เรียกการเคลื่อนไหวขณะนั้นว่า eccentric contraction

  • Isokinetic exercise คือ การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวของข้อด้วยความเร็วคงที่ โดยแรงต้านอาจเปลี่ยนตลอดการเคลื่อนไหว

การนำการออกกำลังกายไปใช้ในการบำบัดรักษาก่อนอื่นต้องรู้วัตถุประสงค์ที่ต้องการจากการออกกำลังกาย แล้วจึงพิจารณาชนิด (mode) ความแรง (intensity) จำนวนครั้ง-เวลา (repetition-time)ความถี่(frequency) ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

(range of motion exercise : ROM)

เมื่อมีการอักเสบ บาดเจ็บ หรือขาดการเคลื่อนไหว (immobilization) จะมีผลทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อค่อยๆลดลง ในผู้ที่ยังไม่มีข้อติดแต่เสี่ยงต่อภาวะข้อติดเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง หรือบวมรอบๆข้อ การขยับข้อให้สุดพิสัยการเคลื่อนไหวทำเพื่อป้องกันข้อติด แต่ในผู้ป่วยที่มีข้อติดแล้วการขยับข้อทำเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

การยึดติดของข้อเกิดจากการหดสั้นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ การหล่อลื่นของข้อลดลง การเพิ่มของเนื้อเยื่อชนิด collagen และ reticulin ทำให้ connective tissue แปลงสภาพจาก loose connective tissue กลายเป็น dense connective tissue ซึ่งจะเกิดในข้อที่ขาดการเคลื่อนไหว (immobility)นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือถ้ามีการอักเสบหรือการขาดเลือดมาเลี้ยง การเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งเร็วขึ้น

Range of motion exercise (ROM exercise) แบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

  1. Active exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อเองทั้งหมด
  2. Acitive-assistive exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับให้เต็มที่ก่อนแล้วใช้แรงจากภายนอกหรือผู้อื่นช่วยขยับต่อจนสุดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
  3. Passive  exercise คือให้ผู้ช่วยหรือใช้แรงจากภายนอกเป็นผู้ขยับตลอดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ โดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย
  4. Passive stretching exercise คือผู้ช่วยหรือผู้บำบัดช่วยดัดยืดเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อในกรณีที่มีข้อติด

หลักการ

  • ถ้ายังไม่มีข้อติด ทำเพื่อป้องกัน โดยเคลื่อนไหวข้อจนครบพิสัยของข้อนั้นอย่างน้อยวันละ 2รอบ (set) รอบละ 3 ครั้ง (repetition) ซึ่งจะทำเป็น active หรือ passive ROM exercise ก็ได้
  • ถ้ามีข้อติด ต้องใช้การดัดยืด (stretching) คือมีแรงมากระทำที่มากพอจนทำให้เนื้อเยื่อนั้นมีการเปลี่ยนรูป (deformation) ซึ่งต้องทำบ่อยและค้างไว้นานพอ (ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลา จำนวนครั้งและความถี่) โดยทั่วไปดัดค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที

การดัดยืด (stretching exercise)

  • ควรใช้แรงขนาดที่ทำให้เกิดการเจ็บตึงเล็กน้อย แต่อาการเจ็บนั้นควรหายไปหลังสิ้นสุดการดัดข้อ
  • ควรใช้แรงน้อยๆแต่นาน ดีกว่าใช้แรงมาก แต่ทำด้วยเวลาสั้นๆ หรือออกแรงกระตุก
  • ควรให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อจนสุดพิสัยที่ทำได้เองก่อน (active  exercise) แล้วผู้ช่วยจึงออกแรงช่วยดัดต่อ (passive stretching exercise) ในขณะที่ให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อ หรือในกรณีที่ติดมากผู้ป่วยไม่สามารถขยับได้เลยให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อแล้วให้ผู้ช่วยดัด
  • การให้ความร้อนก่อนหรือระหว่างการดัดข้อจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การแช่น้ำร้อน การใช้paraffin กระเป๋าน้ำร้อน หรือใช้ความร้อนลึกเช่น ultrasound และใช้ความเย็นประคบข้อหลังดัดข้อเพื่อลดอาการปวดระบม
  • ในกรณีที่มีภาวะเกร็ง (spastic) มากควรรักษาภาวะเกร็งร่วมด้วย เช่น การใช้ยารับประทาน การฉีดยาลดเกร็ง (neurolysis) การแก้ไขสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการเกร็ง
  • ต้องระมัดระวังการดัดข้อที่มีการบวมหรือการอักเสบเนื่องจาก tensile strength ของเนื้อเยื่อรอบข้อน้อยลงได้ถึง 50% ทำให้มีโอกาสเกิดการฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้ง่าย

– ข้อศอกเป็นข้อที่ไม่แข็งแรง เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้อได้ง่าย อาจเกิดภาวะ myositis ossificans ซึ่งทำให้ข้อติดมากขึ้นได้ การดัดข้อศอกจึงต้องระมัดระวังและไม่ใช้แรงดัดมากเกินไป

– ข้อนิ้วมือควรมีการขยับ (mobilization) นวด (massage) เนื้อเยื่อรอบๆก่อนการดัด

– ข้อสะโพก ในผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ มีโอกาสเกิดข้อสะโพกติดในท่างอจึงควรดัดสะโพกร่วมด้วยในผู้ป่วยที่ต้องนอนนาน

– ข้อเท้า มักติดในท่าเท้าตก (equines deformity) ควรดัดโดยใช้มือจับส้นเท้า แขนสัมผัสทั้งฝ่าเท้า แล้วโน้มตัวดัดให้ทั้งฝ่าเท้ากระดกขึ้น ไม่ควรออกแรงแต่ที่ปลายเท้าเพราะจะทำให้เกิด Rocker-bottom deformity ได้

ข้อห้ามของการดัดข้อ

  • bony block
  • recent fracture
  • acute inflammation / infection ของข้อหรือบริเวณรอบข้อที่จะทำการดัด
  • hematoma / uncontrolled bleeding
  • joint effusion
  • contracture ที่ทำให้เกิดความมั่นคงของข้อ การยืดดัดอาจทำให้เสียความมั่นคงของข้อได้

การทำกายภาพบำบัด(เครดิตคุณหมอโจ)

—————-มีต่อตอนที่ 2——————————–

การทำกายภาพบำบัด Range of motion exercise (ROM exercise)


Leave a comment

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาพระราม 2 -อนามัยงามเจริญ23

cropped-25171.jpg

ด้วยประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยด้านสมอง เช่นอ่อนแรง อัมพฤก อัมพาต กายภาพบำบัดจึงได้ก่อตั้งสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุด้วยราคาเป็นธรรม เรียกได้หลายอย่าง เกี่ยวกับการดูแลและบริการ เช่น ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุป่วย สถานดูแลผู้ป่วยพักฟื้น สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานฟื้นฟูผู้ป่วย ศูนย์พยาบาลผู้ป่วย ศูนย์พยาบาลผู้ป่วย ที่พักผู้ปวย บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานบริบาลผู้ป่วย สถานรับเลี้ยงผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา ศูนย์ดูแลคนสูงอายุ บ้านพักคนชรา บ้านพักผู้สูงอายุ ศูนย์รับดูแลผู้ป่วย ศูนย์บริบาลผู้ป่วยสูงอายุ สถานดูแลคนชรา เนอร์สซิ่งโฮม

สนใจเยี่ยมชม ใช้บริการทั้ง 3 สาขาบางขุนเทียน บางนา สุขุมวิท สมุทรปราการ บางมด ท่าข้าม บางบอน บางแค ท่าพระ ดาวคะนอง สุขสวัสดิ์ ประชาอุทิศ เจริญกรุง ตลิ่งชัน หรือ มหาชัย สมุทรสาตร ถนนเอกชัย ก็สามารถมาใช้บริการได้

แผนที่

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาอนามัยงามเจริญ 23

เลขที่ 1/1 ซอยอนามัยงามเจริญ 23 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน

กรุงเทพฯ 10150 สำนักงาน 02-050-1900 มือถือ 095-869-3595

ID:0958693595

7566

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสาขาอนามัยงามเจริญ 23

GoogleMapsเดินทางไปสาขาอนามัยงามเจริญ23

www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

www.sansirihomecare.com


Leave a comment

กายภาพบำบัด ช่วยฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างไร

Physiotherapists

กายภาพบำบัด (Physical Therapy) คือ ศาสตร์ฟื้นฟูสุขภาพด้วยการออกกำลังกายและใช้อุปกรณ์พิเศษ เพื่อรักษาผู้ป่วยให้กลับมาเคลื่อนไหวตามปกติได้มากที่สุด การรักษาด้วยวิธีนี้ใช้บำบัดผู้ป่วยอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ทารกที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อตั้งแต่เกิด ผู้ใหญ่ที่เกิดอาการปวดขาแบบไซอาติกา (Sciatica) อันเนื่องมาจากกระดูกทับเส้น ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือได้รับผลกระทบจากการผ่าตัด ผู้สูงอายุที่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังจากป่วยเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง หรือผู้มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายจากการป่วยหรือความบกพร่องทางร่างกาย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยลดความเจ็บปวดตามอวัยวะที่เกิดปัญหาน้อยลง และสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตามปกติหรือเกือบปกติ เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งช่วยให้รู้จักวิธีป้องกันการได้รับบาดเจ็บอันเป็นสาเหตุให้ร่างกายเสื่อมสมรรถภาพในการเคลื่อนไหว

ผู้ที่ควรเข้ารับกายภาพบำบัดได้แก่ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ดังนี้

  • ปวดหลังหรือปวดคอ
  • จำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจสำหรับผู้ป่วยที่ประสบปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiac Rehabilitation)
  • ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือประสบอุบัติเหตุ
  • ป่วยเป็นมะเร็ง
  • ต้องรับการรักษาบาดแผล
  • พิการที่แขนหรือขา
  • ป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยเด็กจะต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพต่อไปนี้
    • มีพัฒนาการช้า
    • สมองพิการ
    • ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรม
    • พิการหรือได้รับบาดเจ็บที่กระดูกและกล้ามเนื้อ
    • มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจและปอด
    • มีความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
    • ได้รับยาหรือแอลกอฮอล์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์

เป้าหมายในการทำกายภาพบำบัด

ผู้ป่วยที่มีปัญหาหรือป่วยเป็นโรคอื่นอันส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกาย ควรเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพการเคลื่อนไหวให้ดีขึ้น ทั้งนี้ การทำกายภาพบำบัดมีวัตถุประสงค์ในการรักษาผู้ป่วย ดังนี้

  • ฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายหลังได้รับบาดเจ็บ ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บจากสาเหตุต่าง ๆ จะได้รับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ รวมทั้งรู้จักเลี่ยงไม่ให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บอีก โดยนักกายภาพบำบัดจะทำกายภาพบำบัดให้ผู้ป่วย ตั้งแต่ช่วยบรรเทาอาการบาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อน (กล้ามเนื้อ เอ็น และกล้ามเนื้อเอ็น) เสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ และเพิ่มความยืดหยุ่น การทำงาน และพิสัยการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะประเมินว่าผู้ป่วยควรเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างไร รวมทั้งแนะนำวิธีที่ช่วยให้เกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุด
  • รักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรังและปัญหาสุขภาพของเด็ก ผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ (Spinal Stenosis) ข้ออักเสบ หรือโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ สามารถเข้ารับการทำกายภาพบำบัดเพื่อให้อาการของโรคดีขึ้น โดยนักกายภาพบำบัดจะคิดแผนการทำกายภาพบำบัดที่เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งประกอบไปด้วยพิสัยการเคลื่อนไหว การเสริมสร้างความแข็งแรง และการออกกำลังสร้างความทนทานร่างกาย ส่วนเด็กที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีปัญหาสุขภาพร้ายแรง เช่น สมองพิการ (Cerebral Palsy) จะได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วย โดยนักกายภายบำบัดจะช่วยรักษาพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน และการเคลื่อนไหวของร่างกาย รวมทั้งพิจารณาการเจริญเติบโตและความจำเป็นทางพัฒนาการของเด็กร่วมด้วย
  • เสริมสร้างสุขภาพให้แก่ผู้ที่จำเป็นต้องรับการฟื้นฟูร่างกาย ผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพอันส่งผลต่อระบบการทำงานของร่างกายหลายระบบ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลัง และป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจหรือปอด โรคเรื้อรัง สามารถเกิดภาวะพิการตามมาได้ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการทำกายภาพบำบัด ซึ่งจะมีบุคลากรหลายรายร่วมกันช่วยฟื้นฟูผู้ป่วย ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด นักกิจกรรมบำบัด นักบำบัดการพูด และนักจิตวิทยา นักกายภาพบำบัดมีบทบาทสำคัญในการทำกายภาพบำบัดให้แก่ผู้ป่วย โดยจะช่วยระบุพิสัยการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง ความทนทาน ความปลอดภัย และการเคลื่อนไหวร่างกาย (เดิน ขึ้นลงบันได ลุกขึ้นยืนจากเตียงหรือเก้าอี้) ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดจะช่วยแนะนำและสอนให้ผู้ป่วยใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยเคลื่อนไหวได้อย่างถูกต้อง เช่น อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) หรือเก้าอี้รถเข็นวีลแชร์ (Wheelchair)

ประเภทของกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาและฟื้นฟูอาการป่วยมีหลายประเภท ซึ่งประกอบด้วยการออกกำลังกาย  เทคนิคบำบัดด้วยมือ การฝึกผู้ป่วย วิธีรักษาพิเศษ และวิธีบำบัดอื่น ๆ แต่ละวิธีมีรายดังละเอียด ดังนี้

  • การออกกำลังกาย โดยทั่วไปแล้ว การทำกายภาพบำบัดมักเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เนื่องจากการทำกายภาพบำบัดมีรูปแบบการรักษาที่ช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ อาการป่วย หรือปัญหาสุขภาพต่าง ๆ รวมทั้งช่วยป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ การออกกำลังกายคือกิจกรรมที่เพิ่มเติมมาจากกิจกรรมทั่วไปที่ทำในแต่ละวัน ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทานของร่างกายและการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ  อีกทั้งเสริมสร้างสมรรถภาพร่างกายในการทำกิจกรรมแต่ละวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การออกกำลังกายสำหรับผู้ป่วยที่ทำกายภาพบำบัดประกอบด้วย
    • ยืดกล้ามเนื้อ ลดอาการตึงแข็งของข้อต่อ
    • เพิ่มความแข็งแรงร่างกาย ออกกำลังกายที่ฝึกความสมดุลของร่างกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลัง ท้อง หรือสะโพก
    • ยกน้ำหนัก เพิ่มความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
    • ออกกำลังกายรูปแบบอื่น การเดินหรือทำกิจกรรมทางน้ำ ก็ช่วยเพิ่มสมรรถภาพการเคลื่อนไหว ความแข็งแรง และความทนทานของร่างกาย
  • เทคนิคบำบัดด้วยมือ (Manual Therapy) วิธีนี้คือการทำกายภาพบำบัดด้วยมือ เพื่อช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ลดอาการเจ็บปวด และเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่ร่างกาย เทคนิคบำบัดด้วยมือประกอบด้วย
    • นวด นักกายภาพบำบัดจะนวดให้ผู้ป่วย โดยออกแรงกดลงไปตามร่างกาย การนวดจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือด และลดอาการเจ็บปวดได้บ้าง
    • ขยับข้อต่อ (Mobilization) ผู้ป่วยที่เนื้อเยื่อเกิดอาการตึงหรือข้อติด จะได้รับการขยับข้อต่อโดยนักกายภาพบำบัดจะพิจารณากระดูกและข้อต่อ และบิด ดึง หรือดันกระดูกและข้อต่อให้กลับเข้าตำแหน่งช้า ๆ การขยับข้อต่อจะช่วยให้เนื้อเยื่อที่อยู่รอบข้อต่อตึงน้อยลง รวมทั้งเพิ่มความยืดหยุ่นและจัดกระดูกให้อยู่ในแนวมากขึ้น
    • ดัดข้อต่อ (Manipulation) นักกายภาพบำบัดจะออกแรงกดไปที่ข้อต่อ โดยอาจใช้มือหรืออุปกรณ์พิเศษ นักกายภาพบำบัดจะค่อย ๆ ดัดข้อ หรือดัดข้อต่ออย่างรวดเร็ว รวมทั้งอาจลงน้ำหนักเบาหรือแรงเพื่อดัดข้อต่อแตกต่างกันอย่างระมัดระวัง
  • การฝึกผู้ป่วย ผู้ที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัดจะได้รับการฝึกเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการออกกำลังกาย เพื่อช่วยฟื้นฟูอาการบาดเจ็บและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ฝึกใช้อุปกรณ์เสริมที่ช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น การใช้ไม้ค้ำยันหรือเก้าอี้วีลแชร์ ฝึกทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งจัดสภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยให้ปลอดภัยในกรณีที่ผู้ป่วยมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น ความแข็งแรงหรือความสมดุลของร่างกาย การฝึกด้านต่าง ๆ นี้จะช่วยป้องกันผู้ป่วยไม่ให้ได้รับบาดเจ็บที่ข้อต่อหรือกล้ามเนื้อซ้ำอีกครั้ง
  • วิธีรักษาพิเศษ ผู้ป่วยอาจได้รับการรักษาด้วยวิธีพิเศษอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยนักกายภาพบำบัดจะได้รับการฝึกทำกายภาพวิธีพิเศษเพื่อรักษาผู้ป่วย ดังนี้
    • ฟื้นฟูระบบการทรงตัว (Vestibular Rehabilitation) ผู้ป่วยโรคบ้านหมุน หรือผู้ทีรู้สึกว่าสิ่งรอบตัวหมุนหรือเอียงนั้น จะได้รับการรักษาด้วยวิธีฟื้นฟูการทรงตัว เพื่อช่วยปรับความสมดุลของหูชั้นในที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายภายนอก เมื่อได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ป่วยจะสามารถรับมือกับอาการบ้านหมุนที่เกิดขึ้นได้
    • รักษาดูแลบาดแผล บาดแผลที่มีลักษณะร้ายแรงหรือไม่สามารถหายได้ เกิดจากระบบไหลเวียนโลหิตไหลไปเลี้ยงบริเวณดังกล่าวไม่เพียงพอ ผู้ที่เกิดแผลลักษณะนี้จำเป็นต้องได้รับการรักษาบาดแผลอย่างใกล้ชิด โดยแพทย์จะทำความสะอาดและพันแผลให้เรียบร้อยอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดด้วยออกซิเจนหรือกระตุ้นไฟฟ้า การทำกายภาพบำบัดจึงช่วยให้ผู้ป่วยขยับหรือจัดท่า เพื่อให้การรักษาบาดแผลนั้นดีขึ้น
    • กายภาพบำบัดสำหรับปัญหาอุ้งเชิงกราน ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกรานจะได้รับการทำกายภาพบำบัดสำหรับรักษาปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ เช่น ผู้ป่วยที่ประสบภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้หรือผู้ที่ปวดท้องน้อย จะได้รับการรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด เพื่อควบคุมหรือบรรเทาอาการของโรคให้ทุเลาลง
    • กายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการของโรค หรือได้รับผลข้างเคียงจากการรักษา อันส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวจะได้รับการทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย เพื่อรักษาปัญหาดังกล่าวให้หาย
    • นวดกระตุ้นระบบน้ำเหลือง ผู้ที่ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนไม่ดี จะได้รับการนวดเพื่อกระตุ้นระบบน้ำเหลือง โดยวิธีนี้จะช่วยลดอาการบวมน้ำเหลืองที่เกิดจากการที่น้ำเหลืองไม่ไหลออกจากเนื้อเยื่อภายในร่างกาย
  • วิธีบำบัดอื่น ๆ  การทำกายภาพบำบัดประกอบด้วยวิธีรักษาลักษณะอื่นอีกหลายประการ ดังนี้
    • ประคบเย็น การประคบเย็นด้วยน้ำแข็งจะช่วยบรรเทาอาการปวด บวม และอักเสบจากการได้รับบาดเจ็บหรือปัญหาสุขภาพ เช่น โรคข้ออักเสบ โดยจะใช้น้ำแข็งประคบครั้งละ 20 นาที วันละหลายครั้ง ทั้งนี้ นักกายภาพบำบัดยังใช้โลชั่นหรือสเปรย์สูตรเย็นในการรักษาผู้ป่วย
    • ประคบร้อน ผู้ที่มีอาการข้อต่อติดแข็งจากโรคข้อเข่าเสื่อมหรือขยับร่างกายไม่ได้ ควรประคบร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่ออ่อนคลายตัวและมีเลือดไหลเวียนมาเลี้ยง ทั้งนี้ การประคบร้อนยังช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวก่อนออกกำลังกาย อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและประคบร้อนเร็วเกินไป อาจเกิดอาการบวมที่บริเวณดังกล่าวมากขึ้น
    • รักษาด้วยคลื่นอัลตราซาวด์ (Ultrasound Therapy) วิธีนี้จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูงบรรเทาอาการกล้ามเนื้อกระตุก ช่วยคลายกล้ามเนื้อก่อนออกกำลังกาย บรรเทาอาการปวดและอักเสบ รวมทั้งกระตุ้นให้อาการป่วยหายเร็วขึ้น
    • กระตุ้นด้วยไฟฟ้า (Electrical Stimulation) วิธีนี้จะใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นการทำงานของร่างกาย โดยใช้กระแสไฟฟ้าระดับต่ำรักษาอาการเจ็บปวด หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อให้บีบตัวทั้งนี้ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าถูกนำมาศึกษาเพื่อใช้เป็นวิธีรักษาบาดแผลและกระดูกหักด้วย
    • วารีบำบัด (Hydrotherapy) วิธีนี้คือการรักษาโรคและดูแลสุขภาพด้วยการทำกิจกรรมอยู่ในน้ำ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การออกกำลังในน้ำ (Water Exercise) วารีบำบัดจะใช้รักษาผู้ที่ป่วยโรคข้อเสื่อม ประสบภาวะปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อนหรือโรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) หรือเกิดอาการปวดหลัง
    • 70878-8186544

กายภาพบำบัดทำอย่างไร

การทำกายภาพบำบัดใช้รักษาผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอาการปวดหลัง ปวดคอ ได้รับบาดเจ็บ หรือป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ที่ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ก่อนเลือกรักษาอาการป่วยด้วยวิธีกายภาพบำบัด โดยคำนึงถึงคำแนะนำแพทย์ว่าจำเป็นต้องเข้ารับการทำหรือมีข้อควรระวังหรือไม่

ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยกายภาพบำบัดจะต้องเตรียมตัวก่อนเข้ารับการรักษา โดยนักกายภาพบำบัดจะตรวจร่างกายและสอบถามอาการและกิจกรรมของผู้ป่วยในแต่ละวัน จากนั้นจะวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วย การทำกายภาพบำบัดจะช่วยให้ข้อต่อของผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น รวมทั้งฟื้นฟูและเสริมสร้างความยืดหยุ่น ความแข็งแรง ความทนทาน ความสมดุลในการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เมื่อเข้ารับการทำกายภาพบำบัด นักกายภาพบำบัดจะเริ่มบำบัดด้วยเทคนิคบำบัดด้วยมือ ฝึกผู้ป่วย และเทคนิคอื่น ๆ เช่น ประคบร้อน ประคบเย็น รักษาด้วยอัลตราซาวด์ และกระตุ้นด้วยไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดบวม

ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับการทำกายภาพบำบัดด้วยการออกกำลังกายยืดเส้น ฝึกความแข็งแรงของร่างกาย ยกน้ำหนัก หรือฝึกเดิน โดยนักกายภาพบำบัดจะช่วยฝึกการออกกำลังกายให้ผู้ป่วยจนสามารถทำได้เองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจเกิดอาการปวดแสบหรือบวมที่กล้ามเนื้อขึ้นมาบ้าง ซึ่งสามารถปรึกษานักกายภาพได้ในกรณีที่อาการดังกล่าวทำให้รู้สึกไม่สบายตัวมากเกินไป

www.sansiriphysiotherapy.com