ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-สาขาพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ แบริ่ง 36


Leave a comment

กายภาพบำบัดสำหรับผู้สูงอายุและผู้ป่วยหลังผ่าตัด

ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์ เล็งเห็นประโยชน์การทำกายภาพบำบัดออกกำลังกาย ที่มีต่อผู้สูงอายุและผู้ป่วยทุกแบบ จึงดำเนินการเปิดศูนย์กายภาพบำบัดโดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพประจำ ที่เน้นการดูแลฟื้นฟู โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิกกายภาพซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเงินและเวลา ในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ

ราคาการทำกายภาพสำหรับลูกค้าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

Slide1

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและคลีนิกกายภาพบำบัด 096-405-1562

การทำกายภาพบำบัด มีผลต่อการทำงานของร่างกายแล้ว จะเห็นได้ว่า การออกกำลังสามารถทำให้ผู้สูงอายุ มีสมรรถภาพ ทางร่างกายดีขึ้น ชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ และสามารถฟื้นฟูอวัยวะที่เสื่อมไปแล้วให้ดีขึ้นได้

                       ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อร่างกายผู้สูงอายุ อาจสรุปได้ดังนี้

1.    ทำให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ
2.    ทำให้มีสมรรถภาพทางกายด้านต่าง ๆ สูง ทำงานต่าง ๆ ได้มากขึ้น ความเหนื่อย มีน้อยลง แรงกล้าม           เนื้อมากขึ้น ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง การทรงตัว
3.    ช่วยควบคุมน้ำหนักตัวและทรวดทรง
4.    ป้องกันโรคที่เกิดจากความเสื่อม เช่นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบโรคความดันเลือดสูงโรคข้อเสื่อมต่าง ๆ
5.    ช่วยฟื้นฟูสภาพในผู้ที่มีโรคจากความเสื่อม เช่น เส้นเลือดสมองทำให้มีอาการอ่อนแรงหรือฟื้นฟูหลัง             ผ่าตัด

6.   ผู้ป่วยฟื้นฟูและป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุติดเตียงที่มีภาวะเสี่ยงข้อติด กล้ามเนื้อฝ่อ          ลีบ ปอดขยายตัวได้น้อย

7.   ช่วยควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงการออกกำลังกายจะทำให้การควบคุมเบาหวานง่ายขึ้น ลดภาวะ            พึ่งพาอินซูลิน และทำให้น้ำหนักลด

การทำกายภาพสำหรับลูกค้าศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.sansiriphysiotherapy.com

www.sansirihomecare.com


Leave a comment

ภาวะพร่องโภชนาการ

S__14409730

ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มที่

2. ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition)
หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น

ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (under nutrition or nutritional deficiency) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน(kwashiorkor)โรคขาดพลังงาน (marasmus)หรือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (marasmic-kwashiorkor) โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น โรคเหน็บชา คอพอก
2.ภาวะโภชนาการเกิน (over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ เช่น การได้รับวิตามิน เอ และ ดี มากเกินความต้องการของร่างกาย และร่างกายเก็บสะสมไว้ทำให้เกิดภาวะไฮเปอร์วิตามินโนซีส เอ และ ดี (hyper vitaminosis A และ D)

สนใจขอคำแนะนะเพิ่มเติม TLE.090-569-7945

http://www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

 


Leave a comment

ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ

     467478309.jpg

       ภาวะกลืนลำบากเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน เช่น เป็นสาเหตุของการหายใจขัด ไอ หายใจไม่ออก ทั้งยังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะขาดน้ำ ขาอาหาร การสำลักอาหารเข้าปอดทำให้เกิดการติดเชื้อ มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นบ่อยๆ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงสำคัญมาก ได้รับเกียรติจาก คุณสมจิต รวมสุข นักกิจกรรมบำบัด หัวหน้างานแก้ไขการพูด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาแนะนำขั้นตอนและแนวทางการฟื้นฟูอันเป็นประโยชน์ ทั้งต่อผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล

ภาวะกลืนลำบาก หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยประสบความยากลำบากในการเริ่มต้นกลืนอาหาร หรือความยากลำบากในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลว จากปากให้ผ่านคอหอย และหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะกลืนลำบาก ได้แก่ ไม่สามารถกลืนได้ มีอาหารตกค้างกระพุ้งแก้ม รู้สึกเจ็บขณะกลืน มีน้ำลายไหล เสียงแหบเครือหลังการกลืน อาหารไหลย้อนกลับออกทางปาก และไอหรือสำลักขณะกลืน เป็นต้น

devour.jpg

ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแก้ไขปัญหาการกลืน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นในระยะใดของขั้นตอนการกลืน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่

• ระยะช่องปาก (Oral phase) เป็นระยะของการบดเคี้ยวและคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายภายในช่องปาก  ทำให้อาหารชิ้นเล็กลงเหมาะกับการกลืน โดยมีลิ้นช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากช่องปาก ไปยังคอหอยและหลอดอาหาร

• ระยะคอหอย (Pharyngeal phase) เป็นระยะที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารผ่านต่อมทอนซิลลงมายังคอหอย กล้ามเนื้อหลายมัดบริเวณคอหอยจะถูกกระตุ้นให้ทำงานร่วมกัน โดยหดตัวรับอาหารต่อจากลิ้นแล้วส่งต่อไปยังหลอดอาหาร ในระยะนี้หลอดลมจะถูกปิดกั้นชั่วขณะ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไหลเข้าสู่หลอดลมและปอด

• ระยะหลอดอาหาร (Esophageal phase) เป็นระยะที่หลอดอาหารจะบีบตัวและลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อยต่อไป

ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มักมีปัญหาในระยะช่องปาก หรือระยะช่องปากร่วมกับระยะคอหอย ในกรณีนี้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้การแก้ไขฟื้นฟูได้ ยกเว้นในรายที่เกิดปัญหาในระยะหลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารตีบ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง

 

download.png

การบำบัดฟื้นฟู

โดยทั่วไปการบำบัดฟื้นฟู สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ การบำบัดฟื้นฟูทางตรง และการบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม

• การบำบัดฟื้นฟูทางตรง เช่น การฝึกบริหารกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรได้ไม่ดี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างท่าบริหารดังกล่าว ได้แก่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น เม้มริมฝีปากแน่นแล้วคลายออก ทำปากจู๋สลับฉีกยิ้ม เป็นต้น

• การบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม เช่น การดูแลด้านโภชนาการ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหารและน้ำ เนื่องจากในการฝึกกลืนระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอ เพราะรับประทานได้น้อยในแต่ละมื้อ จึงควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร 5-6 มื้อต่อวัน และอาจพิจารณาเสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมด้วย อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ควรเป็นอาหารที่มีการดัดแปลงเนื้ออาหาร โดยพิจารณาจากลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มรับประทานอาหารทางปาก หรือไม่สามารถเคี้ยวอาหารหยาบได้ อาหารควรเป็นอาหารที่ได้รับการปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนอาหารเด็ก ช่วยให้กลืนได้ง่าย เช่น โจ๊กปั่นข้น โยเกิร์ตครีม ไข่ตุ๋น ฟักทองบด กล้วยขูด เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลว และอาหารที่มีเนื้ออาหารหลายรูปแบบ เพราะทำให้สำลักได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยเริ่มเคี้ยวได้บ้าง อาจปรับอาหารเป็นโจ๊กข้น ข้าวต้มข้นๆ หรือไข่ลวก ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงรูปแบบอาหารได้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการด้านการกลืนของผู้ป่วย

ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในส่วนนี้ นอกจากนี้อาจมีการปรับท่าทาง ดูว่าท่าทางแบบใด ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้ง่ายที่สุด ซึ่งต้องมีการทดสอบดูก่อนว่าท่าใดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการกลืนได้ง่ายที่สุด

จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูจะมีภาวการณ์กลืนที่ดีขึ้นกว่า 50% บางรายสามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติอีกครั้ง ในขณะที่บางรายสามารถเปลี่ยนจากการรับประทานโจ๊ก มาเป็นข้าวสวยนิ่มๆ ได้ สำหรับระยะเวลาในการบำบัดจนเห็นพัฒนาการจะอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย บวกกับความร่วมมือจากญาติผู้ดูแลร่วมด้วย ซึ่งปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยฝึกกลืน คือ การที่ผู้ดูแลแอบป้อนอาหารที่ถูกห้ามให้กับผู้ป่วยด้วยความสงสาร จุดนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก เกิดปัญหาปอดติดเชื้อตามมาจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกันมาหลายรายแล้ว จึงอยากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง

โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

http://www.sansirihomecare.com

ติดต่อเยี่ยมชมสถานที่ 096-405-1562

 


Leave a comment

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

67358_666904

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า                                        “อะเฟเซีย (Aphasia: การเสียการสื่อความ)” เป็นความบกพร่องของการสื่อสารเนื่องจากการมีพยาธิสภาพของสมองที่ควบคุมการพูดและภาษา ความผิดปกติทางภาษาและการพูดมักเกิดร่วมกับโรคอัม พาตซีกขวาในคนที่ถนัดมือขวา แต่เนื่องจากสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางการพูดและภาษา (Speech and language center) อยู่ที่สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา ดังนั้นการกล่าวถึงสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการพูดจึงหมายถึงสมองซีกซ้ายในคนถนัดขวา

สมองพิการเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก) หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ (Head injury) เช่น สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการกระทบกระเทือนจากผ่าตัดเอาเลือดคั่งหรือเนื้องอกในสมองออก ฯ

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เบื้องต้นควรเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากเคยพูดสื่อสารและทำงานได้อย่างดี แต่ต้องกลายมาเป็นภาระต่อครอบครัว และทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยต้องการเวลาในการปรับตัว และต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิด ครอบครัวจึงควรปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

  1. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน
  2. เรียกผู้ป่วยให้ฟังและสนใจก่อนสอนพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำอะไร หรือให้ตอบคำถามเสมอ
  3. ใช้ท่าทางและการพูดร่วมกันในการสื่อสารกับผู้ป่วย
  4. ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรกเช่นชี้ตาชี้หู ชี้ปากเป็นต้น
  5. รอให้ผู้ป่วยตอบสนองก่อน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำ ตอบ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย
  6. ช่วยพูดซ้ำๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป
  7. ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด
  8. ไม่ตกใจเมื่อผู้ป่วยพูดคำหยาบ
  9. กรณีที่ผู้ป่วยหัวเราะ หรือทำอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือ การฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ
  10. เวลาในการฝึกพูดแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที วันละประมาณ 3-4 ครั้ง
    1. ทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูด เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำผู้ป่วยไปติดตามการประเมินและการฝึกพูดเป็นระยะๆกับนักแก้ไขการพูดตามนัดเสมอ เพื่อปรับโปรแกรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

      ประเภทของความผิดปกติทางการพูดมี  2  แบบ

      1. การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders)

               การพูดไม่ชัดจากการบกพร่องของกลไกประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด(Dysarthria)
      ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดอ่อนแรง เป็นอัมพาต หรือ เกร็ง โดยจะพูดไม่ชัดมากขึ้นถ้าพูดยาวๆ หรือนานๆ ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายไหลที่มุมปากด้านใดด้านหนึ่งร่วมด้วยควรรักษาที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรัก ษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมิน และการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยได้

      การฝึกพูดในผู้ป่วย                                                                                                              hj      

      • การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด
        • การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก 2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ-เทอะ–เคอะ กระดกลิ้นซ้ำๆ
      • การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข
        • การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์
        • การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี
        • การท่องสูตรคูณ
        • การท่องพยัญชนะ ก–ฮ
        • การอ่านหนังสือออกเสียง
        • การถามตอบ
      • ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน
      • การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ
      2. การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)

      ทำให้การเรียบเรียงลำดับตำ แหน่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดบกพร่อง ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือวลี หรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจจะพูด  การรักษาควรที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรักษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาดังนี้                                                                1-1

      -การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ
      -การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก เช่น มอ ปอ พอ บอ เม เป เพ เบ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ เช่น ดา ตา ทา ชา จา กา คา งา ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น อาอู อีเอ แอเออ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น มาอู อีเบ แปเพอ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง

      โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์


การออกกำลังกาย Range of motion exercise (ROM exercise)ตอนที่ 2

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทาน

(strength training and endurance exercise)

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength) หมายถึง ความตึงสูงสุดหรือแรงสูงสุดที่กล้ามเนื้อทำได้จากการหดตัว

ความทนทานของกล้ามเนื้อ (muscle endurance) หมายถึง ความสามารถของกล้ามเนื้อที่จะหดตัวทำงานซ้ำๆได้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีความทนทาน (endurance) อีกความหมายหนึ่งคือความทนทานของทั้งร่างกาย (general endurance) หรือ สมรรถภาพของหัวใจ ปอดและระบบไหลเวียนโลหิต(cardiopulmonary fitness)

หลักการ

การออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (strength training, strengthening) ต้องให้กล้ามเนื้อหดตัวด้วยแรงสูงสุดหรือเกือบสูงสุด ส่วนการออกกำลังเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ(endurance exercise) ให้ใช้แรงต้านน้อยแต่ให้ทำซ้ำจนกล้ามเนื้อล้า ซึ่งการออกกำลังกายทั้ง 2 แบบมีผลต่อกล้ามเนื้อต่างกัน การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงจะเพิ่ม myofibrillar protein มากกว่าส่วนการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานจะเพิ่ม sarcoplasmic protein และ oxidative enzyme (ซึ่งเกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาที่ใช้ออกซิเจน) มากกว่า

อย่างไรก็ตามความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ไปด้วยกัน คือแม้ออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงก็จะพบว่ากล้ามเนื้อนั้นมีความทนทานเพิ่มขึ้นด้วย และการออกกำลังกายเพื่อให้กล้ามเนื้อทนทานก็จะทำให้ความแข็งแรงเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

สามารถแบ่งการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานออกเป็น 3 แบบคือ

  1. การออกกำลังแบบ isometric หรือ static คือ การเกร็งกล้ามเนื้อโดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของ

ข้อซึ่งอาจเกร็งต้านวัตถุที่อยู่นิ่งหรือจากร่างกายตัวเอง

ข้อดี

  • ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อ ใช้ได้ในกรณีข้ออักเสบระยะแรกที่ยังไม่ต้องการให้มีการขยับข้อ
  • ใช้ในกรณีที่ขยับไม่ได้ เช่น อยู่ในเฝือก ข้อติดแข็ง
  • ทำได้ง่าย
  • ไม่ต้องใช้อุปกรณ์

ข้อเสีย

  • มีผลต่อความดันโลหิต ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นโดยเฉพาะเมื่อออกกำลังกายกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ไม่เหมาะกับผู้ที่มีความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ
  • ถ้าทำไม่ถูกต้องโดยกลั้นหายใจจะเกิด valsava effect ทำให้หน้ามืดได้
  • ความแข็งแรงที่เพิ่มขึ้นจะเป็นเฉพาะมุม (angle-specific) คือออกกำลังกล้ามเนื้อในมุมไหนจะ ได้ความแข็งแรงที่มุมนั้น เช่น ถ้าออกกำลังกล้ามเนื้อเหยียดเข่าในท่าเข่าเหยียดตรง กล้ามเนื้อ   quadriceps ก็จะแข็งแรงเฉพาะในท่าที่เข่าเหยียดตรง ไม่ใช่ในท่าเข่างอ 90 องศาเป็นต้น

แนะนำ

ออกแรงเกร็งต้านประมาณ 5-6 วินาทีต่อครั้ง พัก 1-2 วินาทีระหว่างครั้ง ทำ 8-10 ครั้งต่อ 1รอบ(set)  2-3 รอบ(set) ต่อวัน ควรทำในหลายๆมุมเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงทุกมุม

ถ้าต้องการให้กล้ามเนื้อแข็งแรง (strength) แนะนำให้ออกแรงเกร็งต้านสูงสุดหรือเกือบสูงสุด

  1. การออกกำลังกายแบบ isotonic หรือ dynamic คือ การออกกำลังที่มีแรงต้านตลอดการ

เคลื่อนไหวของข้อ แต่ความยาวของกล้ามเนื้อ แรงตึงตัว (tension) และความเร็วมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งสามารถใช้แรงโน้มถ่วงต้านหรืออุปกรณ์อื่นๆ เช่น Dumbell Barbell และ เครื่องมืออื่นที่เห็นใน fitnessหรือ Gym

ข้อดี

  • ไม่ค่อยมีผลต่อความดันโลหิต สามารถใช้ได้ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
  • ทำได้ง่าย ตั้งแต่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์หรือประยุกต์ใช้อุปกรณ์ใกล้ตัว อุปกรณ์มีขายอยู่ทั่วไปหรือมีใน fitness/gym

ข้อเสีย

  • มีข้อจำกัดของแรงต้านต่อกล้ามเนื้อเปลี่ยนแปลงในมุมต่างๆ คือกล้ามเนื้อจะมีแรงตึงตัวในมุมต่างๆเปลี่ยนแปลงไปตลอดการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อไม่สามารถออกแรงสูงสุดได้ทุกมุมของการเคลื่อนไหว
  • มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าแบบอื่นๆ

Progressive Resistive Exercise (PRE) ของ DeLome คือการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเพิ่มน้ำหนักขึ้นเรื่อยๆ ตามสัดส่วน เริ่มต้นจากการหา 10 RM คือน้ำหนักมากที่สุดที่สามารถยกได้เพียง 10 ครั้ง โดยเริ่มยกน้ำหนักจาก 50%, 75% และ 100% ของ 10 RM รอบละ 10 ครั้ง (ผู้ทำจะเกิด muscle fatique) ทำ 3-5 วันต่อสัปดาห์

แนะนำการออกกำลังในชีวิตประจำวัน

  • เพื่อเพิ่มความแข็งแรง : ใช้น้ำหนักมากกว่า 70% ของน้ำหนักที่ยกได้สูงสุดหรือน้ำหนักที่ยกได้8-10 ครั้งต่อเนื่อง ทำ 8-12 ครั้งต่อรอบ(set) 3 รอบ(set) ต่อวัน โดยทำช้าๆ ทั้งขาขึ้น(concentric) และขาลง(eccentric)  และให้มีช่วงพัก 2-5 วินาที หลีกเลี่ยงการทำโดยการเหวี่ยงช่วย

ความหนักที่เหมาะสมคือใช้น้ำหนักหรือแรงต้านซึ่งทำแล้ว 8-12 ครั้งเกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อ (muscle fatique)

  • เพื่อเพิ่มความทนทาน : ใช้น้ำหนัก15-40% ของน้ำหนักที่ยกได้สูงสุด ทำ 20-30 ครั้งขึ้นไปต่อรอบ (set) จนเกิดอาการล้าของกล้ามเนื้อ
  1. การออกกำลังกายแบบ isokinetic คือการออกกำลังต้านการเคลื่อนไหวด้วยความเร็วคงที่ซึ่ง

สามารถปรับความเร็วได้ตามต้องการ

ข้อดี

  • กล้ามเนื้อสามารถออกแรงได้สูงสุดตลอดการเคลื่อนไหว
  • ปลอดภัย ไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บ
  • สามารถฝึกได้ทั้งความแข็งแรงและความเร็ว

ข้อเสีย

  • ต้องอาศัยเครื่องมือเฉพาะซึ่งราคาแพงมาก
  • ไม่สามารถใช้ในบางตำแหน่งของร่างกาย

การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของทั้งร่างกาย (general endurance) ซึ่งก็คือการออกกำลังกายแบบ aerobic นั่นเอง

การออกกำลังกายแบบ aerobic  คือการออกกำลังกายที่ต่อเนื่องกันนานพอที่จะกระตุ้นให้ร่างกายใช้พลังงานแบบใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นกว่าในภาวะปกติ ซึ่งได้แก่การออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ต่อเนื่องกันนานเกิน 15 นาที ให้รู้สึกเหนื่อยปานกลาง และทำ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อพูดถึงการออกกำลังกายแบบ aerobic จะมีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องแนะนำผู้ป่วยคือ

  1. ความหนักของการออกกำลังกาย (intensity)

ความหนักน้อยที่สุดที่ทำให้ร่างกายมีการปรับตัวคือ ความหนักที่ทำให้ชีพจร 55% ของชีพจรสูงสุด  American College of Sport Medicine 1998 แนะนำใช้ความหนักประมาณ 55-90% ของชีพจรสูงสุด ซึ่งชีพจรสูงสุดคำนวณจาก 220- อายุ (ใช้ในผู้ที่มีสุขภาพดีทั่วไป) ในปัจจุบันมีเครื่องออกกำลังกายที่สามารถจับชีพจรขณะออกกำลังกายได้ หรือเป็นนาฬิกาจับชีพจรทำให้สะดวกยิ่งขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถจับชีพจรได้โดยทั่วไปใช้ระดับของความเหนื่อยในการบอก intensity คือความเหนื่อยปานกลางที่ทำให้ยังสามารถพูดเป็นประโยคต่อเนื่องได้

  1. ความนานของการออกกำลังกาย (duration)

กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากระบบ aerobic หลังออกกำลังกายได้ 3 นาที ส่วนหัวใจ ปอดและระบบหลอดเลือดโดยทั่วไปจะได้ประโยชน์เมื่อออกกำลังกายนาน 15 นาทีขึ้นไป จึงแนะนำการออกกำลังกายต่อเนื่องนานเกิน 15 นาที ซึ่ง American College of Sport Medicine 1998 แนะนำให้ออกกำลังกาย20-60 นาทีต่อเนื่อง หรือ อย่างน้อยครั้งละ 10 นาที สะสมให้ได้เวลาครบ เนื่องจากพบว่าการออกกำลังกายแบบสะสมก็ได้ประโยชน์ต่อหัวใจและปอดโดยเฉพาะคนที่สภาพร่างกายไม่แข็งแรงหรือไม่เคยออกกำลังกายมาก่อนแนะนำให้เริ่มออกกำลังกายแบบนี้จะมีโอกาสร่วมมือและทำได้มากกว่า

  1. ความถี่ของการออกกำลังกาย (frequency)

ควรแนะนำการออกกำลังกายแบบ aerobic สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง ควรมีวันพักไม่ควรทำทุกวัน

  1. วิธีออกกำลังกาย (mode of exercise)

การออกกำลังกายแบบ aerobic เน้นการใช้กลุ่มกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่ไม่ได้จำเพาะที่มัดใดมัดหนึ่ง ซึ่งสามารถปรับหรือแนะนำให้เหมาะกับแต่ละคนตามสภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม ความถนัดหรือความชอบ เช่น ถ้ามีปัญหาที่ข้อเข่า ข้อเท้า หรือน้ำหนักตัวมาก ควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่ลงน้ำหนักกระแทกที่เข่าและข้อเท้ามาก เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เดินเร็ว

นอกจากนี้ก่อนการออกกำลังกายแบบ aerobic ต้องมีการอบอุ่นร่างกาย (warm-up) ซึ่งรวมถึงการยืดกล้ามเนื้อ 10-15 นาที เพื่อเตรียมความพร้อมของร่างกายและกล้ามเนื้อก่อนการออกกำลังกาย และการผ่อนความหนัก (cool-down) หลังการออกกำลังกายไม่ควรหยุดออกกำลังกายทันทีเนื่องจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อยังขยายตัว เลือดไหวเวียนกลับหัวใจไม่ทันมีผลให้เกิดอาการหน้ามืดได้โดยเฉพาะผู้สูงอายุ

ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายวิธีใดก็ตามควรค่อยๆเพิ่มความหนัก/ความเหนื่อย และความนาน ไม่หักโหม เริ่มจากการ warm-up และการยืดกล้ามเนื้อที่จะใช้ออกกำลังกาย เช่น ถ้าออกกำลังกายโดยการเดินเร็วก็ยืดกล้ามเนื้อขา จากนั้นค่อยๆเพิ่มความหนัก คือ ค่อยๆเดินเร็วขึ้น จนถึงระดับที่เหนื่อยปานกลางแล้วคงไว้ที่ระดับนี้นานตามเวลาที่กำหนด แล้วค่อยๆลดระดับความเหนื่อยลงหรือ cool-down คือค่อยๆเดินช้าลงเรื่อยๆ และตามด้วยการยืดกล้ามเนื้อ ให้ระยะเวลาการออกกำลังกายค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่จะได้ประโยชน์เต็มที่เมื่อออกกำลังกายต่อเนื่องกันนาน 20-60 นาที

บุคคลทั่วไปที่สุขภาพดี ชายอายุน้อยกว่า 40ปี หญิงอายุน้อยกว่า 50ปี สามารถเริ่มออกกำลังกายแบบ aerobic ได้เลยดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวหรือมีอาการผิดปกติที่ไม่เคยออกกำลังกายเป็นประจำ อยากเริ่มออกกำลังกายไม่ควรเริ่มจากออกกำลังกายอย่างหนักเลย ควรปรึกษาแพทย์ก่อน หรือเริ่มออกกำลังกายจากเบาและค่อยๆเพิ่มความหนักและระยะเวลาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

การออกกำลังกายเพื่อลดไขมัน

ช่วงแรกของการออกกำลังกาย ร่างกายจะใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นพลังงานหลัก แต่ถ้าออกกำลังกายต่อเนื่องไปจะมีสัดส่วนการใช้ไขมันมากขึ้นหลัง 30 นาทีและจะเห็นผลชัดเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่องนาน 60 นาที ดังนั้นถ้าหวังผลการลดไขมันจะแนะนำให้ออกกำลังกายต่อเนื่องนานเกิน 30 นาที โดยให้ความหนักน้อยกว่าปกติเพื่อให้ทำได้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

การออกกำลังกายเพื่อฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและทักษะ

(Exercise for coordination and skill)

การประสานงานของกล้ามเนื้อ (muscle coordination) คือ ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อที่ถูกต้องในเวลาและจังหวะถูกต้องด้วยแรงที่เหมาะสม

ทักษะ (skill) คือ ความสามารถที่จะทำงานเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การที่กล้ามเนื้อสามารถทำงานประสานกันได้ดีต้องอาศัยการทำงานในระดับต่างๆ คือ

  • ระดับสมองและระบบประสาท

สมองและระบบประสาทจะควบคุมการเคลื่อนไหวโดยสั่งผ่านลงมาให้กล้ามเนื้อทำงานและมีการรับรู้ (feedback) ตลอดเวลา เช่น จะหยิบแก้วน้ำ สมองจะสั่งไปที่แขนให้ยกขึ้นเอื้อมไปยังแก้วน้ำ การรับรู้ของข้อและสายตาจะส่งสัญญาณกลับไปบอกสมองว่าขณะนี้แขนอยู่ใกล้เป้าหมายหรือยัง เพื่อให้การเคลื่อนไหวราบรื่นและแม่นยำ ปัญหาการเคลื่อนไหวที่เกิดจากสมอง เช่น CVA, cerebral palsy

  • ระดับกล้ามเนื้อ

การเคลื่อนไหวอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อ 4 กลุ่มที่ประสานกันอย่างดีคือ

  1. Prime mover (agonist) คือกล้ามเนื้อหลักที่ทำงาน เช่น กล้ามเนื้อ biceps เป็นกล้ามเนื้อหลักในการงอข้อศอก
  2. Antagonist คือกล้ามเนื้อที่ทำงานตรงข้ามกับกล้ามเนื้อหลัก เช่น กล้ามเนื้อ tricepsเป็น antagonist ของกล้ามเนื้อ biceps ซึ่งในงานที่หนักมากกล้ามเนื้อ antagonist จะเกร็งช่วย prime mover ด้วย
  3. Synergist คือกล้ามเนื้อที่ช่วย prime mover ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวในทางเดียวกัน เช่น  กล้ามเนื้อ brachialis เป็น synergist ของกล้ามเนื้อ biceps ในการงอข้อศอก
  4. Stabilizer คือกล้ามเนื้อที่หดตัวเพื่อตรึงการเคลื่อนไหวของข้อที่อยู่ต้นกว่าในขณะที่มีการเคลื่อนไหวของข้อที่อยู่ถัดไป เช่น เมื่องอข้อศอกโดยไม่มีอะไรรองรับแขน กล้ามเนื้อrotator cuff จะทำหน้าที่เป็น stabilizer ประคองข้อไหล่ให้ข้อศอกเกิดการเคลื่อนไหวอย่างที่ต้องการ

สาเหตุการเคลื่อนไหวที่ขาดการประสานงานในระดับกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อบางกลุ่มขาดความแข็งแรงหรือทนทานเพียงพอ

โดยทั่วไปการเคลื่อนไหวที่ทำซ้ำๆร่วมกับการปรับปรุงการเคลื่อนไหวนั้นให้ดีขึ้น ประมาณ20,000 – 30,000 ครั้ง จะเกิดเป็นการเคลื่อนไหวที่ทำได้อัตโนมัติ และถ้าทำซ้ำไปเป็นล้านครั้งก็จะเกิดเป็น ทักษะ

การฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและทักษะมีหลักการคือ เริ่มจากการการฝึกกล้ามเนื้อprime mover โดยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย ไม่เครียด ผู้ฝึกช่วยทำ passive exercise พร้อมกับการกระตุ้นความรู้สึกในการเคลื่อนไหว (proprioception) จากนั้นให้ผู้ป่วยขยับเป็น active assistive exercise และ active exercise ตามลำดับ โดยเน้นการทำงานของกล้ามเนื้อ prime mover และหลีกเลี่ยงการทำงานของกล้ามเนื้อมัดอื่น เมื่อทำได้คล่องแล้วจึงฝึก neuromuscular coordination คือฝึกการทำงานของกล้ามเนื้อหลายมัดมากขึ้น จากง่ายไม่ซับซ้อนทำซ้ำๆ เมื่อทำได้ดีแล้วจึงฝึกการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนขึ้น ใช้กล้ามเนื้อหลายกลุ่มมากขึ้น

โดยที่การฝึกการประสานงานของกล้ามเนื้อและทักษะควรหลีกเลี่ยงภาวะเหล่านี้คือ

–          ความเครียด กังวล

–          กล้ามเนื้อล้า

–          ความเจ็บปวด

–          กล้ามเนื้อไม่แข็งแรงหรือกล้ามเนื้อเกร็ง

การออกกำลังกายเพื่อการผ่อนคลาย

(Relaxation exercise)

การออกกำลังกายเพื่อความผ่อนคลายใช้ในกรณีที่มีอารมณ์ตึงเครียด กล้ามเนื้อเกร็งตัวจนเป็นสาเหตุของอาการปวดและความทุกข์ทรมาน เช่น กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) โรคปอดเรื้อรังอย่าง COPD ซึ่งมีการเกร็งของกล้ามเนื้อการหายใจทำให้ประสิทธิภาพในการหายใจแย่ลง เป็นต้น

หลักการคือให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความแตกต่างของกล้ามเนื้อที่หดตัวและผ่อนคลาย ตอนแรกฝึกโดยผู้ป่วยรู้ตัว (consciously) เมื่อทำจนคล่องแล้วจะสามารถทำได้โดยไม่รู้ตัว (unconsciously)

การฝึกเริ่มจากจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม ผ่อนคลาย ปราศจากสิ่งกระตุ้น ให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่กล้ามเนื้อผ่อนคลายที่สุด จากนั้นให้เริ่มเกร็งกล้ามเนื้อแต่ละส่วนทั้งแขน ขา ใบหน้า และลำตัวเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างการเกร็งกล้ามเนื้อและการผ่อนคลาย ทำซ้ำๆจนสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ต้องการได้เต็มที่และทำได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมถึงทำได้แม้ไม่รู้ตัว

1299


การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise)ตอนที่ 1

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา 

การออกกำลังกาย (Exercise) คือการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise) คือการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทุกส่วนของร่างกายเพื่อการบำบัดรักษา ลดอาการของผู้ป่วย หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น

การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษาเริ่มมีมานานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มมีการจารึกสมัยจีนโบราณ และมีการนำการออกกำลังกายมาใช้ในการแพทย์อย่างจริงจังสมัยกรีกโดยมี Herodicus ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการบำบัดรักษาโดยวิธีออกกำลัง ต่อมาในสมัยโรมันการออกกำลังกายเป็นที่นิยมมากจนมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เมื่อการแพทย์เจริญมากขึ้นสามารถอธิบายกลไก ประโยชน์และข้อระวังของการออกกำลังกายจนในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับและเข้าใจว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดรักษาผู้ป่วย

การแบ่งชนิดของการออกกำลังกาย แบ่งได้หลายวิธี

  1. ตามวัตถุประสงค์ หรือผลที่ต้องการ เช่น
  • เพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ (range of motion)
  • เพื่อเพิ่มความแข็งแรง (strength) และความทนทาน (endurance)
  • เพื่อเพิ่มการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ (coordination) และทักษะ (skill)
  • เพื่อการผ่อนคลาย (relaxation)
  1. ตามผู้ออกแรง
  • Active exercise คือการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยเป็นผู้เกร็งกล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวเองทั้งหมด
  • Active-assistive exercise คือการออกกำลังกายที่ให้ผู้ป่วยออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อร่วมกับมีแรงจากภายนอกช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว
  • Passive exercise คือการอาศัยให้ผู้อื่นหรือแรงจากภายนอกทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย
  1. ตามลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ
  • Static หรือ isometric exercise คือการเกร็งกล้ามเนื้อโดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ ความยาวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลงแต่ความตึงตัว (tension) ของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้น
  • Dynamic หรือ isotonic  exercise คือการออกกำลังกายที่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อ น้ำหนักหรือแรงต้านการเคลื่อนไหวคงที่แต่ความเร็วในการเคลื่อนไหวข้ออาจไม่คงที่ ซึ่งแบ่งได้เป็น

Concentric exercise คือ กล้ามเนื้อมีความยาวสั้นลงในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น การงอข้อศอกจากท่าเหยียดศอกสุด กล้ามเนื้อ biceps brachii หดสั้นลงจึงเรียกได้ว่าเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ concentric contraction ของกล้ามเนื้อ biceps หรือเหยียดเข่าตรงจากท่านั่งห้อยขา ขณะที่กล้ามเนื้อ quadriceps เกร็งเพื่อเหยียดเข่าตรงก็เป็นการทำงานแบบ concentric contraction เช่นเดียวกัน

Eccentric exercise คือ กล้ามเนื้อมีความยาวเพิ่มขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น เมื่อมือถือน้ำหนักแล้วค่อยๆเหยียดศอกจากท่างอศอกเพื่อวางของ ขณะนั้นกล้ามเนื้อ biceps brachii จะเกร็งตัวเพื่อชะลอให้การเคลื่อนไหวช้าและนุ่มนวลแขนไม่ตกลงทันที เรียกการเคลื่อนไหวขณะนั้นว่า eccentric contraction

  • Isokinetic exercise คือ การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวของข้อด้วยความเร็วคงที่ โดยแรงต้านอาจเปลี่ยนตลอดการเคลื่อนไหว

การนำการออกกำลังกายไปใช้ในการบำบัดรักษาก่อนอื่นต้องรู้วัตถุประสงค์ที่ต้องการจากการออกกำลังกาย แล้วจึงพิจารณาชนิด (mode) ความแรง (intensity) จำนวนครั้ง-เวลา (repetition-time)ความถี่(frequency) ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

(range of motion exercise : ROM)

เมื่อมีการอักเสบ บาดเจ็บ หรือขาดการเคลื่อนไหว (immobilization) จะมีผลทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อค่อยๆลดลง ในผู้ที่ยังไม่มีข้อติดแต่เสี่ยงต่อภาวะข้อติดเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง หรือบวมรอบๆข้อ การขยับข้อให้สุดพิสัยการเคลื่อนไหวทำเพื่อป้องกันข้อติด แต่ในผู้ป่วยที่มีข้อติดแล้วการขยับข้อทำเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

การยึดติดของข้อเกิดจากการหดสั้นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ การหล่อลื่นของข้อลดลง การเพิ่มของเนื้อเยื่อชนิด collagen และ reticulin ทำให้ connective tissue แปลงสภาพจาก loose connective tissue กลายเป็น dense connective tissue ซึ่งจะเกิดในข้อที่ขาดการเคลื่อนไหว (immobility)นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือถ้ามีการอักเสบหรือการขาดเลือดมาเลี้ยง การเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งเร็วขึ้น

Range of motion exercise (ROM exercise) แบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

  1. Active exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อเองทั้งหมด
  2. Acitive-assistive exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับให้เต็มที่ก่อนแล้วใช้แรงจากภายนอกหรือผู้อื่นช่วยขยับต่อจนสุดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
  3. Passive  exercise คือให้ผู้ช่วยหรือใช้แรงจากภายนอกเป็นผู้ขยับตลอดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ โดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย
  4. Passive stretching exercise คือผู้ช่วยหรือผู้บำบัดช่วยดัดยืดเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อในกรณีที่มีข้อติด

หลักการ

  • ถ้ายังไม่มีข้อติด ทำเพื่อป้องกัน โดยเคลื่อนไหวข้อจนครบพิสัยของข้อนั้นอย่างน้อยวันละ 2รอบ (set) รอบละ 3 ครั้ง (repetition) ซึ่งจะทำเป็น active หรือ passive ROM exercise ก็ได้
  • ถ้ามีข้อติด ต้องใช้การดัดยืด (stretching) คือมีแรงมากระทำที่มากพอจนทำให้เนื้อเยื่อนั้นมีการเปลี่ยนรูป (deformation) ซึ่งต้องทำบ่อยและค้างไว้นานพอ (ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลา จำนวนครั้งและความถี่) โดยทั่วไปดัดค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที

การดัดยืด (stretching exercise)

  • ควรใช้แรงขนาดที่ทำให้เกิดการเจ็บตึงเล็กน้อย แต่อาการเจ็บนั้นควรหายไปหลังสิ้นสุดการดัดข้อ
  • ควรใช้แรงน้อยๆแต่นาน ดีกว่าใช้แรงมาก แต่ทำด้วยเวลาสั้นๆ หรือออกแรงกระตุก
  • ควรให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อจนสุดพิสัยที่ทำได้เองก่อน (active  exercise) แล้วผู้ช่วยจึงออกแรงช่วยดัดต่อ (passive stretching exercise) ในขณะที่ให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อ หรือในกรณีที่ติดมากผู้ป่วยไม่สามารถขยับได้เลยให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อแล้วให้ผู้ช่วยดัด
  • การให้ความร้อนก่อนหรือระหว่างการดัดข้อจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การแช่น้ำร้อน การใช้paraffin กระเป๋าน้ำร้อน หรือใช้ความร้อนลึกเช่น ultrasound และใช้ความเย็นประคบข้อหลังดัดข้อเพื่อลดอาการปวดระบม
  • ในกรณีที่มีภาวะเกร็ง (spastic) มากควรรักษาภาวะเกร็งร่วมด้วย เช่น การใช้ยารับประทาน การฉีดยาลดเกร็ง (neurolysis) การแก้ไขสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการเกร็ง
  • ต้องระมัดระวังการดัดข้อที่มีการบวมหรือการอักเสบเนื่องจาก tensile strength ของเนื้อเยื่อรอบข้อน้อยลงได้ถึง 50% ทำให้มีโอกาสเกิดการฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้ง่าย

– ข้อศอกเป็นข้อที่ไม่แข็งแรง เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้อได้ง่าย อาจเกิดภาวะ myositis ossificans ซึ่งทำให้ข้อติดมากขึ้นได้ การดัดข้อศอกจึงต้องระมัดระวังและไม่ใช้แรงดัดมากเกินไป

– ข้อนิ้วมือควรมีการขยับ (mobilization) นวด (massage) เนื้อเยื่อรอบๆก่อนการดัด

– ข้อสะโพก ในผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ มีโอกาสเกิดข้อสะโพกติดในท่างอจึงควรดัดสะโพกร่วมด้วยในผู้ป่วยที่ต้องนอนนาน

– ข้อเท้า มักติดในท่าเท้าตก (equines deformity) ควรดัดโดยใช้มือจับส้นเท้า แขนสัมผัสทั้งฝ่าเท้า แล้วโน้มตัวดัดให้ทั้งฝ่าเท้ากระดกขึ้น ไม่ควรออกแรงแต่ที่ปลายเท้าเพราะจะทำให้เกิด Rocker-bottom deformity ได้

ข้อห้ามของการดัดข้อ

  • bony block
  • recent fracture
  • acute inflammation / infection ของข้อหรือบริเวณรอบข้อที่จะทำการดัด
  • hematoma / uncontrolled bleeding
  • joint effusion
  • contracture ที่ทำให้เกิดความมั่นคงของข้อ การยืดดัดอาจทำให้เสียความมั่นคงของข้อได้

การทำกายภาพบำบัด(เครดิตคุณหมอโจ)

—————-มีต่อตอนที่ 2——————————–

การทำกายภาพบำบัด Range of motion exercise (ROM exercise)


Leave a comment

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาพระราม 2 -อนามัยงามเจริญ23

cropped-25171.jpg

ด้วยประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยด้านสมอง เช่นอ่อนแรง อัมพฤก อัมพาต กายภาพบำบัดจึงได้ก่อตั้งสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุด้วยราคาเป็นธรรม เรียกได้หลายอย่าง เกี่ยวกับการดูแลและบริการ เช่น ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุป่วย สถานดูแลผู้ป่วยพักฟื้น สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานฟื้นฟูผู้ป่วย ศูนย์พยาบาลผู้ป่วย ศูนย์พยาบาลผู้ป่วย ที่พักผู้ปวย บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานบริบาลผู้ป่วย สถานรับเลี้ยงผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา ศูนย์ดูแลคนสูงอายุ บ้านพักคนชรา บ้านพักผู้สูงอายุ ศูนย์รับดูแลผู้ป่วย ศูนย์บริบาลผู้ป่วยสูงอายุ สถานดูแลคนชรา เนอร์สซิ่งโฮม

สนใจเยี่ยมชม ใช้บริการทั้ง 3 สาขาบางขุนเทียน บางนา สุขุมวิท สมุทรปราการ บางมด ท่าข้าม บางบอน บางแค ท่าพระ ดาวคะนอง สุขสวัสดิ์ ประชาอุทิศ เจริญกรุง ตลิ่งชัน หรือ มหาชัย สมุทรสาตร ถนนเอกชัย ก็สามารถมาใช้บริการได้

แผนที่

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาอนามัยงามเจริญ 23

เลขที่ 1/1 ซอยอนามัยงามเจริญ 23 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน

กรุงเทพฯ 10150 สำนักงาน 02-050-1900 มือถือ 095-869-3595

ID:0958693595

7566

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสาขาอนามัยงามเจริญ 23

GoogleMapsเดินทางไปสาขาอนามัยงามเจริญ23

www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

www.sansirihomecare.com


Leave a comment

โรคตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

images

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกับโรคที่พบ

โรคเพมฟิกัส (pemphigus) เป็นโรคตุ่มน้ำพองเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีการสร้างแอนติบอดีที่มาทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันโดยง่าย ทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย มีรายงานอุบัติการณ์ 0.5 – 3.2 รายต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยที่เป็นโรคมักมีอายุเฉลี่ยที่ 50 – 60 ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถพบได้ทุกวัย รวมถึงในเด็ก เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคเท่ากัน

อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพอง หรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกาย หรือเยื่อบุ โดยที่ 50 – 70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังโดยเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้

นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่นๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย ส่วนอาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่น ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

  โรคเพมฟิกัสแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นลึก (pemphigus vulgaris) ซึ่งพบบ่อยที่สุด
2.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นตื้น (pemphigus foliaceus)

สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีการสร้างภูมิต้านทานต่อเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง ร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรมและ
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การได้รับยาที่มีผลต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย มีบทบาทร่วมกันในการก่อโรค

images (1)

อาการและอาการแสดง
อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพองหรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกายหรือเยื่อบุ โดยที่ 50-70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก
ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้ นอกจากนี้อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่น ๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย

อาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย (flaccid bullae) กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่นใหญ่ (รูปที่ 2, 3) ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

การวินิจฉัยแยกโรค
ต้องวินิจฉัยแยกโรคในกลุ่มตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะโรคเพมพิกอยด์ (bullous pemphigoid) เนื่องจากเป็นอีกโรคที่พบบ่อย สามารถแยกจากกันได้จากลักษณะตุ่มน้ำในโรคเพมพิกอยด์จะเป็นตุ่มน้ำเต่งแตกยาก (tense bullae) และพบแผลในเยื่อบุเพียง 20-30% ลักษณะทางชิ้นเนื้อในโรคเพมพิกอยด์จะพบการแยกชั้นผิวหนังบริเวณรอยต่อของหนังแท้และหนังกำพร้า (subepidermal separation) และการตรวจพิเศษทางอิมมูนจะพบการเรืองแสงเป็นเส้นที่บริเวณรอยต่อของหนังกำพร้าและหนังแท้ต่อ IgG และ C(IgG and C3 deposit in basement membrane zone)

การรักษา
ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน ในช่วงที่โรคกำเริบ การรักษามีจุดประสงค์ในการลดการเกิดตุ่มน้ำใหม่และเร่งการสมานแผลให้เร็วที่สุด ยาที่ใช้รักษาหลักคือยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานโดยใช้ในขนาดสูง 0.5-1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมากหรือมีผื่นในบริเวณกว้าง จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ เช่นยา cyclophosphamide หรือยา azathioprine ร่วมด้วย แล้วค่อย ๆ ปรับลดยาลงช้า ๆ โดยใช้ยาที่น้อยที่สุดที่จะควบคุมโรคได้ ยาอื่น ๆ ที่อาจเป็นทางเลือกในการรักษาร่วมกับยาสเตียรอยด์ ได้แก่ยา dapsone หรือยา mycophenolic acid

การพยากรณ์โรค
โรคกลุ่มนี้เป็นโรคเรื้อรัง อาจมีอาการโรคกำเริบและสงบสลับกันไป ผู้ป่วยบางรายอาจเข้าสู่ระยะโรคสงบหลังรักษา 3-5 ปี แต่มีผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานและอาจเสียชีวิตจากความรุนแรงของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ผู้ป่วยที่มีอายุมาก เป็นรุนแรง มีผื่นในบริเวณกว้าง จะมีพยากรณ์โรคไม่ดี ผู้ป่วยเพมฟิกัสชนิดตื้น มักมีความรุนแรงน้อยกว่าและตอบสนองต่อการรักษาดีกว่า

คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น
1. ควรมาพบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดยาเอง
2. ควรทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลให้ใช้น้ำเกลือทำความสะอาด ใช้แปรงขนอ่อนทำความสะอาดลิ้นและฟัน ไม่แกะเกาผื่น
3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำจากยาที่ใช้รักษา จึงควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อ
4. ไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยที่มีแผลในปาก ควรงดอาหารรสจัด งดรับประทานอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ของขบเคี้ยว เนื่องจากอาจกระตุ้นการหลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก
5. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดคับ เพื่อลดการถลอกที่ผิวหนัง

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอาจพบได้หลักการดูแล
1.ส่งไปพบแพทย์เพื่ออวินิจฉัยและรับยา
2.ปรับความคิดว่าไม่ได้เป็นโรคที่น่ารังเกียจแต่ควรดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษ
3.ดูแลความสะอาดแผลป้องกันการติดเชื้อ
4.ดูแลให้ได้รับยาตามแพทย์

โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.nursingthailand.org

 


Leave a comment

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาพระราม 2 -อนามัยงามเจริญ23

s__3334156

ด้วยประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยด้านสมอง เช่นอ่อนแรง อัมพฤก อัมพาต กายภาพบำบัดจึงได้ก่อตั้งสถานที่รับดูแลผู้สูงอายุด้วยราคาเป็นธรรม เรียกได้หลายอย่าง เกี่ยวกับการดูแลและบริการ เช่น ศูนย์ดูแลผู้ป่วย ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์รับดูแลผู้สูงอายุป่วย สถานดูแลผู้ป่วยพักฟื้น สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานฟื้นฟูผู้ป่วย ศูนย์พยาบาลผู้ป่วย ศูนย์พยาบาลผู้ป่วย ที่พักผู้ปวย บ้านพักฟื้นผู้ป่วย สถานบริบาลผู้ป่วย สถานรับเลี้ยงผู้ป่วย สถานพักฟื้นคนชรา ศูนย์ดูแลคนสูงอายุ บ้านพักคนชรา บ้านพักผู้สูงอายุ ศูนย์รับดูแลผู้ป่วย ศูนย์บริบาลผู้ป่วยสูงอายุ สถานดูแลคนชรา เนอร์สซิ่งโฮม

สนใจเยี่ยมชม ใช้บริการทั้ง 3 สาขาบางขุนเทียน บางนา สุขุมวิท สมุทรปราการ บางมด ท่าข้าม บางบอน บางแค ท่าพระ ดาวคะนอง สุขสวัสดิ์ ประชาอุทิศ เจริญกรุง ตลิ่งชัน หรือ มหาชัย สมุทรสาตร ถนนเอกชัย ก็สามารถมาใช้บริการได้

แผนที่

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ สาขาอนามัยงามเจริญ 23

เลขที่ 1/1 ซอยอนามัยงามเจริญ 23 แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน

กรุงเทพฯ 10150 สำนักงาน 02-050-1900 มือถือ 095-869-3595

ID:0958693595

7566

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุสาขาอนามัยงามเจริญ 23

GoogleMapsเดินทางไปสาขาอนามัยงามเจริญ23

www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

www.sansirihomecare.com

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ สาขาอนามัยงามเจริญ 23 พร้อมเปิดให้บริการสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว ต้องทานยาต่อเนื่องและควบคุมอาหาร ทั้งเบาหวาน ความมดัน ทำกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวช่วยเหลือตัวเองได้น้อย โดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ดูแลต่อเนื่องทุกอาทิตย์ (วัน จ-ศ จะมีพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลทำกายภาพต่อเนื่องตามคำแนะนำของนักกายภาพวิชาชีพ)

สภาพอาคารชั้นเดียว พื้นที่ 300 ตรว. เป็นห้องแอร์ ทีวี น้ำอุ่น กว้าง โปร่ง มีสวน ลานออกกำลังกาย เดินเล่น

 

 

แผนที่ศูนย์ดูแลแสนสิริ โฮมแคร์ ทั้ง4 สาขา