ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-สาขาพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ แบริ่ง 36


Leave a comment

การป้องกันการเกิดแผลกดทับและวิธีดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ 

1827

  1. การกดทับ โดยมีข้อสังเกตุดังนี้
    1.1 บริเวณที่มีกล้ามเนื้อมากจะทนต่อแรงกดทับได้ดี
    1.2 มีรายงานว่า แรงกดประมาณ 70 มม.ปรอท กดทับเป็นเวลา 1 – 2 ชั่วโมง ติดต่อกันจะทำให้เกิด
    การขาดเลือดขึ้น
    1.3 แรงกดจำนวนมากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้ เท่ากับแรงกดน้อยๆ แต่
    ระยะเวลานาน
    1.4 แผลกดทับมักพบในผู้ป่วยอัมพาตช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
  2. แรงไถและความเสียดทาน ซึ่งจะทำให้เกิดการปริแตกของเนื้อเยื่อได้ง่าย และมักจะพบในผู้ป่วยอัมพาตที่นั่ง
    รถเข็น โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนตัวบนรถเข็น

  3. อุณหภูมิ ผลของการเพิ่มอุณหภูมิ จะทำให้มีการเพิ่มของเมตาบอลิสซึมของเซลล์ ส่งเสริมให้เนื้อเยื่อขาด
    เลือดและตายได้ง่ายขึ้น
  4. ความมีอายุ
  5. ภาวะทางโภชนาการ การขาดโปรตีนจะทำให้การเสริมสร้างเนื้อเยื่อช้าลง ส่งผลให้แผลหายช้า พบว่าผู้ป่วย
    เหล่านี้ทำให้แผลหายช้าลง
  6. การบวมน้ำ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการส่งผ่านอาหาร และออกซิเจนจากเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิด
    แผลกดทับได้ง่ายขึ้น และหายช้าลงด้วย
  7. ภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
  8. ปัจจัยอื่นๆ เช่นความชื้นจากเหงื่อ อุจจาระ

การป้องกันแผลกดทับ และการพยาบาล

  1. ดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ หรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ
  2. ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
  • ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก

  • การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี

  • ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี

  • ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี

  • ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเพราะผู้ป่วย จะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลทำนวนมาก น้ำอย่างสมดุลย์ด้วย

  • ดูแลทำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ มีแนวทางปฎิบัติ ดังนี้

  • 8.1 การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย
    – ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล
    – น้ำยาที่ใช้ล้างแผลต้องไม่มีพิษต่อเซลล์ ได้แก่ น้ำเกลือนอร์มัล ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น Povidone – Iodine , Chlorhexidine, Dekin- solution, Hydrogen peroxide ไม่ควรใช้ในระยะงอกขยาย เพราะจะทำลายเซลล์ที่จำเป็นในซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้า

    8.2 การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย
    – ใช้การชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย
    – ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล ( น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อจากการปนเปื้อน
    – กำจัดเศษเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้แบคทีเรียเจริญได้ดี จึงควรตัดเล็บออกให้หมด และเซลล์ใหม่จะงอกขยายเจริญมาปกคลุมแผลได้ดี
    – กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แบคทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม

    1. อธิบาย ให้คำแนะนำ รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพริกตะแคงตัวและการทำความสะอาดแผล

    สนสใจสอบถาม-ปรึกษษเพิ่มเติมไม่เสียค่าใช้จ่าย

    TEL 090-569-7945

     

    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-พระราม2-บางขุนเทียน

    1 Comment

    s__3334156

    ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

    บริการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ที่มีโรคประจำตัวต้องดูแและทานยาต่อเนื่อง

    (เบาหวาน,ความดันสูง,มะเร็ง,กระดูกหัก,ข้อติด,การให้อาหารทางสายยาง,ผู้ป่วยเจาะคอ การดูแลแผลกดทับ

    คำนวนสารอาหารที่ควรได้รับ/วัน)

    แสนสิริ โฮม แคร์ ยินดีให้บริการทุกท่านทั้ง 3 สาขา

    สาขาสุขุมวิท101/1

    สาขาบางนา-แบริ่ง 17

    สาขาพระราม2-บางขุนเทียน

    รายละเอียดการบริการ

    1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

    2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

    3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

    4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

    5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

    6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 15000/เดือน

    (ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000/เดือน)

    อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2000บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้

     

     

    www.sansirihomecare.com

    สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 090-569-7945,02-050-1900


    Leave a comment

    ภาวะติดเชื้อที่ปอดในผู้สูงอายุ(Pneumonia)

    images (1)

    โรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อที่สามารถเกิดแรกซ้อนในผู้สูงอายุ วัยทำงานและเด็ก
    สำหรับบุคคลส่วนใหญ่สามารถรักษาเองได้บ้าน ทานยา พักผ่อน หายภายใน1-2 สัปดาห์
    แต่จะส่งผลได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุทารกอาจต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
    การได้รับเชื้อโรคอาจเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสก็ได้ที่จะก่อให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อ
    ผู้สูงอายุอาจมีโรคเรื้อรังอื่นรวมด้วยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายเช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ภาวะสำลักในผู้สูงอายุ
    โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

    สาเหตุ
    1.การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปเช่น ไข้หวัดสายพันธ์ุเอ
    2.หายใจแบคทีเรียจากจมูกและคอลงปอด
    3.การสำลักอาหารและน้ำจากกระเพาะอาหารหรือการสำลักอาเจียนเข้าไปในปอด เนื่องจากมีปัญหาการกลืน(โรคหลอดเลือดสมอง,การชัก)
    4.การเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)

    อาการ
    1.ในบุคคลวัยทำงานมักเริ่มจากเป็นไข้หวัด ไอจาม ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
    2.ไอมีเสมหะเป็นสีเขียวหรือสีสนิมมีเลือปน
    3.มีไข้สูง-หนาวสั่น
    4.หายใจเร็วตื้น
    5.เจ็บหน้าอกจากการไอมากๆหรือจาม
    6.ชีพจรเต้นเร็วขึ้น
    7.รู้สึกเหนื่อยมาก
    8.คลื้นไส้อาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย

    การวินิจฉัยโรค
    1.ประวัติทางการแพทย์(โรคถุงลมโป่งพอง,ภูมิคุ้มกันบกพร่อง,หอบหืด)
    2.การตรวจทางร่างกาย(จมูก,คอ,ระบบการกลืน)
    3.การ ถ่ายภาพรังสีปอด
    4.ตรวจสอบประเภทของเชื้อโรคจากสิ่งคัดหลั่ง น้ำมูก เสมหะเป็นต้น

    การรักษา
    1.การใช้ยาปฏิชีวนะ
    2.ถ้าสูงอายุ>60ปี มีอาการพร่องออกซิเจน มีการให้ออกซิเจน Keep O2>95%
    3.มีการดูดเสมหะในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถ ไออกเองได้
    4.ในกรณีมีภาวะพร่องการกลืนจากโรคหลอดเลือดสมองแพทย์อาจพิจารณาให้อาหารทางสายยาง
    5.ตรวจติดตามภาพรังสีของปอดเป็นระยะ

    การป้องกัน
    1.หลีกเลียงคนที่มีภาวะติดเชื้อ
    2.อยู่ห่างจากบุคคลที่เป็นไข้หวัด(ญาติงดเยี่ยมหรือใส่หน้ากากอนามัย)
    3.แจ้งเจ้าหน้าที่ดูแลทุกครั้งเพื่อขอคำแนะนำขณะเข้าเยี่ยม
    4.ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด

     

     


    การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise)ตอนที่ 1

    การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา 

    การออกกำลังกาย (Exercise) คือการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

    การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise) คือการเคลื่อนไหวส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทุกส่วนของร่างกายเพื่อการบำบัดรักษา ลดอาการของผู้ป่วย หรือช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้น

    การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษาเริ่มมีมานานตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ เริ่มมีการจารึกสมัยจีนโบราณ และมีการนำการออกกำลังกายมาใช้ในการแพทย์อย่างจริงจังสมัยกรีกโดยมี Herodicus ได้รับการยกย่องเป็นบิดาแห่งการบำบัดรักษาโดยวิธีออกกำลัง ต่อมาในสมัยโรมันการออกกำลังกายเป็นที่นิยมมากจนมีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก เมื่อการแพทย์เจริญมากขึ้นสามารถอธิบายกลไก ประโยชน์และข้อระวังของการออกกำลังกายจนในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับและเข้าใจว่าการออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของการบำบัดรักษาผู้ป่วย

    การแบ่งชนิดของการออกกำลังกาย แบ่งได้หลายวิธี

    1. ตามวัตถุประสงค์ หรือผลที่ต้องการ เช่น
    • เพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ (range of motion)
    • เพื่อเพิ่มความแข็งแรง (strength) และความทนทาน (endurance)
    • เพื่อเพิ่มการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ (coordination) และทักษะ (skill)
    • เพื่อการผ่อนคลาย (relaxation)

    1. ตามผู้ออกแรง
    • Active exercise คือการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยเป็นผู้เกร็งกล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวเองทั้งหมด

    • Active-assistive exercise คือการออกกำลังกายที่ให้ผู้ป่วยออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อร่วมกับมีแรงจากภายนอกช่วยให้เกิดการเคลื่อนไหว

    • Passive exercise คือการอาศัยให้ผู้อื่นหรือแรงจากภายนอกทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย

    1. ตามลักษณะการทำงานของกล้ามเนื้อ
    • Static หรือ isometric exercise คือการเกร็งกล้ามเนื้อโดยที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของข้อ ความยาวของกล้ามเนื้อไม่เปลี่ยนแปลงแต่ความตึงตัว (tension) ของกล้ามเนื้อจะเพิ่มขึ้น

    • Dynamic หรือ isotonic  exercise คือการออกกำลังกายที่มีการเปลี่ยนแปลงความยาวของกล้ามเนื้อทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของข้อ น้ำหนักหรือแรงต้านการเคลื่อนไหวคงที่แต่ความเร็วในการเคลื่อนไหวข้ออาจไม่คงที่ ซึ่งแบ่งได้เป็น

    Concentric exercise คือ กล้ามเนื้อมีความยาวสั้นลงในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น การงอข้อศอกจากท่าเหยียดศอกสุด กล้ามเนื้อ biceps brachii หดสั้นลงจึงเรียกได้ว่าเป็นการทำงานของกล้ามเนื้อแบบ concentric contraction ของกล้ามเนื้อ biceps หรือเหยียดเข่าตรงจากท่านั่งห้อยขา ขณะที่กล้ามเนื้อ quadriceps เกร็งเพื่อเหยียดเข่าตรงก็เป็นการทำงานแบบ concentric contraction เช่นเดียวกัน

    Eccentric exercise คือ กล้ามเนื้อมีความยาวเพิ่มขึ้นในขณะที่ออกกำลังกาย เช่น เมื่อมือถือน้ำหนักแล้วค่อยๆเหยียดศอกจากท่างอศอกเพื่อวางของ ขณะนั้นกล้ามเนื้อ biceps brachii จะเกร็งตัวเพื่อชะลอให้การเคลื่อนไหวช้าและนุ่มนวลแขนไม่ตกลงทันที เรียกการเคลื่อนไหวขณะนั้นว่า eccentric contraction

    • Isokinetic exercise คือ การออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวของข้อด้วยความเร็วคงที่ โดยแรงต้านอาจเปลี่ยนตลอดการเคลื่อนไหว

    การนำการออกกำลังกายไปใช้ในการบำบัดรักษาก่อนอื่นต้องรู้วัตถุประสงค์ที่ต้องการจากการออกกำลังกาย แล้วจึงพิจารณาชนิด (mode) ความแรง (intensity) จำนวนครั้ง-เวลา (repetition-time)ความถี่(frequency) ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน

    การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

    (range of motion exercise : ROM)

    เมื่อมีการอักเสบ บาดเจ็บ หรือขาดการเคลื่อนไหว (immobilization) จะมีผลทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อค่อยๆลดลง ในผู้ที่ยังไม่มีข้อติดแต่เสี่ยงต่อภาวะข้อติดเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง หรือบวมรอบๆข้อ การขยับข้อให้สุดพิสัยการเคลื่อนไหวทำเพื่อป้องกันข้อติด แต่ในผู้ป่วยที่มีข้อติดแล้วการขยับข้อทำเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

    การยึดติดของข้อเกิดจากการหดสั้นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ การหล่อลื่นของข้อลดลง การเพิ่มของเนื้อเยื่อชนิด collagen และ reticulin ทำให้ connective tissue แปลงสภาพจาก loose connective tissue กลายเป็น dense connective tissue ซึ่งจะเกิดในข้อที่ขาดการเคลื่อนไหว (immobility)นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือถ้ามีการอักเสบหรือการขาดเลือดมาเลี้ยง การเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งเร็วขึ้น

    Range of motion exercise (ROM exercise) แบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ

    1. Active exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อเองทั้งหมด
    2. Acitive-assistive exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับให้เต็มที่ก่อนแล้วใช้แรงจากภายนอกหรือผู้อื่นช่วยขยับต่อจนสุดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
    3. Passive  exercise คือให้ผู้ช่วยหรือใช้แรงจากภายนอกเป็นผู้ขยับตลอดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ โดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย
    4. Passive stretching exercise คือผู้ช่วยหรือผู้บำบัดช่วยดัดยืดเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อในกรณีที่มีข้อติด

    หลักการ

    • ถ้ายังไม่มีข้อติด ทำเพื่อป้องกัน โดยเคลื่อนไหวข้อจนครบพิสัยของข้อนั้นอย่างน้อยวันละ 2รอบ (set) รอบละ 3 ครั้ง (repetition) ซึ่งจะทำเป็น active หรือ passive ROM exercise ก็ได้
  • ถ้ามีข้อติด ต้องใช้การดัดยืด (stretching) คือมีแรงมากระทำที่มากพอจนทำให้เนื้อเยื่อนั้นมีการเปลี่ยนรูป (deformation) ซึ่งต้องทำบ่อยและค้างไว้นานพอ (ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลา จำนวนครั้งและความถี่) โดยทั่วไปดัดค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที
  • การดัดยืด (stretching exercise)

    • ควรใช้แรงขนาดที่ทำให้เกิดการเจ็บตึงเล็กน้อย แต่อาการเจ็บนั้นควรหายไปหลังสิ้นสุดการดัดข้อ
  • ควรใช้แรงน้อยๆแต่นาน ดีกว่าใช้แรงมาก แต่ทำด้วยเวลาสั้นๆ หรือออกแรงกระตุก
  • ควรให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อจนสุดพิสัยที่ทำได้เองก่อน (active  exercise) แล้วผู้ช่วยจึงออกแรงช่วยดัดต่อ (passive stretching exercise) ในขณะที่ให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อ หรือในกรณีที่ติดมากผู้ป่วยไม่สามารถขยับได้เลยให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อแล้วให้ผู้ช่วยดัด

  • การให้ความร้อนก่อนหรือระหว่างการดัดข้อจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การแช่น้ำร้อน การใช้paraffin กระเป๋าน้ำร้อน หรือใช้ความร้อนลึกเช่น ultrasound และใช้ความเย็นประคบข้อหลังดัดข้อเพื่อลดอาการปวดระบม

  • ในกรณีที่มีภาวะเกร็ง (spastic) มากควรรักษาภาวะเกร็งร่วมด้วย เช่น การใช้ยารับประทาน การฉีดยาลดเกร็ง (neurolysis) การแก้ไขสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการเกร็ง

  • ต้องระมัดระวังการดัดข้อที่มีการบวมหรือการอักเสบเนื่องจาก tensile strength ของเนื้อเยื่อรอบข้อน้อยลงได้ถึง 50% ทำให้มีโอกาสเกิดการฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้ง่าย

  • – ข้อศอกเป็นข้อที่ไม่แข็งแรง เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้อได้ง่าย อาจเกิดภาวะ myositis ossificans ซึ่งทำให้ข้อติดมากขึ้นได้ การดัดข้อศอกจึงต้องระมัดระวังและไม่ใช้แรงดัดมากเกินไป

    – ข้อนิ้วมือควรมีการขยับ (mobilization) นวด (massage) เนื้อเยื่อรอบๆก่อนการดัด

    – ข้อสะโพก ในผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ มีโอกาสเกิดข้อสะโพกติดในท่างอจึงควรดัดสะโพกร่วมด้วยในผู้ป่วยที่ต้องนอนนาน

    – ข้อเท้า มักติดในท่าเท้าตก (equines deformity) ควรดัดโดยใช้มือจับส้นเท้า แขนสัมผัสทั้งฝ่าเท้า แล้วโน้มตัวดัดให้ทั้งฝ่าเท้ากระดกขึ้น ไม่ควรออกแรงแต่ที่ปลายเท้าเพราะจะทำให้เกิด Rocker-bottom deformity ได้

    ข้อห้ามของการดัดข้อ

    • bony block
  • recent fracture
  • acute inflammation / infection ของข้อหรือบริเวณรอบข้อที่จะทำการดัด

  • hematoma / uncontrolled bleeding

  • joint effusion

  • contracture ที่ทำให้เกิดความมั่นคงของข้อ การยืดดัดอาจทำให้เสียความมั่นคงของข้อได้

  • การทำกายภาพบำบัด(เครดิตคุณหมอโจ)

    —————-มีต่อตอนที่ 2——————————–

    การทำกายภาพบำบัด Range of motion exercise (ROM exercise)