ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-สาขาพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ แบริ่ง 36


Leave a comment

โรคต่อมลูกหมากโต ความเสื่อมในชายสูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายของคนเราก็จะค่อยๆ เสื่อมลงเป็นธรรมดา และบางครั้งก็อาจมีโรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียน มากบ้าง น้อยบ้าง ตามสภาพร่างกายของแต่ละคนในผู้ชายเมื่ออายุมากขึ้น โรคต่างๆ         ที่อาจเกิดขึ้นได้มีมากมายหลายโรค แต่ที่พบได้บ่อยและเป็นกันมาก คือโรคต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากคืออะไร
ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะ สืบพันธุ์อย่างหนึ่ง อยู่ใต้กระเพาะปัสสาวะ มีหน้าที่หลักคือผลิตน้ำอสุจิ การที่มนุษย์เราสามารถมีลูก มีหลาน ต่อเผ่าสืบพันธุ์กันได้ก็ เพราะต่อมลูกหมากนี่เอง

โรคของต่อมลูกหมาก
ตามปกติต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่ไม่ค่อยมีโรคภัยมาเบียดเบียน ยกเว้นในกรณีที่เมื่ออายุมากขึ้น ต่อมลูกหมากก็จะมีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ คือ จะโตขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นความเสื่อมตามวัย เหมือนเช่นที่เรามีผิวหนังเหี่ยวย่น หรือผมหงอก ขาวนั่นเอง

ต่อมลูกหมากอักเสบ และเนื้องอกของต่อมลูกหมาก ซึ่งเนื้องอก ที่ว่านี้แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ เนื้องอกชนิดธรรมดา และเนื้องอกชนิดร้ายแรง หรือมะเร็ง โดย ทั่วไป เมื่อพูดถึงโรคต่อมลูกหมากโต เรามักจะหมายถึงเนื้องอกชนิดธรรมดา
ในกรณีที่เป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา เนื้องอกชนิดนี้จะไม่กลาย เป็นมะเร็ง เพราะเป็นคนละโรคกัน แต่ในบางคนอาจจะเกิดทั้งเนื้องอกธรรมดา และเนื้องอกชนิดร้ายแรง ขึ้นพร้อมๆ กันได้  ต่อมลูกหมากโตโดยปกติจะไม่สามารถคลำได้จากภายนอก จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อแพทย์ทำการตรวจ โดยการใช้มือล้วงทวารหนักเข้าไป จึงจะคลำได้และถึงแม้ต่อมลูก หมากจะมีการเปลี่ยนแปลงจริงตามวัย คือมีขนาดโตขึ้น แต่อาการของโรคกับขนาดจะไม่สัมพันธ์กันบางคนมีต่อมลูกหมากโตไม่มาก แต่อาการอาจจะเป็นมากได้ หรือบางคนอาจมีต่อมลูกหมากที่โตมาก แต่มีอาการเพียงเล็กน้อยก็เป็นได้ ทั้งนี้เพราะเหตุปัจจัยอื่นๆ อีกมาก มายที่เข้ามาเกี่ยวโยงด้วย

อาการของต่อมลูกหมากโต
อาการหลักๆ ของต่อมลูก หมากโตจะมี ๒ กลุ่ม คือ
๑. อาการจากการอุดตัน (obstructive symptom) อาการ หลักๆ ของผู้ป่วยกลุ่มนี้คือ ต้องเบ่ง ต้องรอนานกว่าจะปัสสาวะออก เมื่อปัสสาวะออกมาแล้วลักษณะปัสสาวะไม่ค่อยพุ่ง หรือพุ่งไม่แรงบางครั้งออกมาเป็นหยดๆ ในรายที่ ผู้ป่วยเป็นมาก อาจถึงขนาดปัสสาวะไม่ออกเลย
๒. อาการที่รบกวน (irritative symptom) คือ อาการที่เราจะรู้สึกได้ว่าไม่ค่อยปกตินักอย่าง เช่น คนส่วนใหญ่เมื่อนอนหลับไปแล้ว อาจตื่นมาเข้าห้องน้ำสัก ๑-๒ ครั้ง แต่ผู้ที่มีอาการของต่อมลูกหมากโตในกลุ่มนี้ จะตื่นมาปัสสาวะบ่อยครั้ง และปัสสาวะแล้วปัสสาวะอีกไม่หมดสักที เมื่อปวดปัสสาวะ จะต้องรีบเข้าห้องน้ำทันทีเพราะอั้นไม่อยู่ และถ้าเข้าห้องน้ำไม่ทัน ก็จะปัสสาวะราดได้
ปัสสาวะเป็นเลือด ไม่ใช่อาการหลักของต่อมลูกหมากโต แต่ว่าเนื้องอกของต่อมลูกหมากก็ทำให้ปัสสาวะเป็นเลือดได้ในบางกรณี คือถ้าต่อมลูกหมากมีอาการอักเสบ หรือว่าปัสสาวะคั่ง เมื่อต่อมลูกหมากบวมมากหรือคั่งมากๆ ก็จะมีเลือดออกได้ แต่ส่วนใหญ่ถ้าปัสสาวะออกมาเป็นเลือด ในการวินิจฉัยแยกโรคแพทย์จะนึกถึงโรคอื่นก่อน เพราะอาการดังกล่าวไม่ใช่อาการนำของโรคนี้

ต่อมลูกหมากโตพบในผู้ชายอายุเท่าใด
อาการของต่อมลูกหมากโต จะเริ่มปรากฏเมื่ออายุประมาณ  ๕๐-๖๐ ปี โดยที่ผู้ชายที่มีอายุ ๖๐ ปีขึ้นไปครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ ๕๐  จะเริ่มมีอาการชัดเจน เมื่อถึงอายุ๘๐ ปี ประมาณร้อยละ ๘๐-๙๐ของคนวัยนี้ จะมีอาการต่อมลูก หมากโต หรืออาจพูดได้ว่า ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าใด โอกาสที่จะเป็นต่อมลูกหมากโตก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย
ความจริงโรคต่อมลูกหมากโตไม่ใช่เรื่องใหม่ จะว่าไปแล้วต่อมลูกหมากโตถือเป็นโรคชรา หรือ โรคสามัญชนิดหนึ่งที่ผู้สูงอายุสมัย ก่อนเป็นกันมาก และส่วนใหญ่ก็ยอมรับสภาพว่า คนแก่ คนสูงอายุ ต้องมีอาการขัดเบาเป็นธรรมดาจึง มีผู้ที่เป็นโรคนี้และไม่ได้ไปรักษาเป็นจำนวนมาก ในรายที่เป็นรุนแรง ผู้ป่วยจะเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อนจากอาการไตวาย

ปัจจุบันความรู้ในการดูแลสุขภาพแพร่หลายไปสู่ประชาชนมากขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มาพบแพทย์เร็วขึ้นเมื่อมีอาการผิดปกติ ดังนั้นโอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตด้วยไตวายอย่างแต่ก่อนจึงน้อยลง ขณะเดียวกันประชาชนมีอายุที่ยืนยาวขึ้น จึงมีการพูดถึงโรคนี้กันมากขึ้นด้วยเช่นกัน เลยดูเหมือนกับว่าต่อมลูกหมากโตเป็นโรคที่เพิ่งจะเกิดขึ้นใหม่

ต่อมลูกหมากโตเป็นโรคอันตรายหรือไม่
ดังที่กล่าวไปแล้วว่า ถ้าอยู่ ถึงอายุ ๘๐-๙๐ ปี ส่วนใหญ่จะ เป็นโรคนี้กันแทบทุกคน ส่วนจะเป็นอันตรายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่าใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองมากน้อยแค่ไหน เพราะ โรคนี้เป็นโรคที่ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วย ว่ารู้สึกอย่างไรกับอาการที่เกิดขึ้น

บางคนยอมรับสภาพที่มีอาการปัสสาวะบ่อย และถือว่าเป็นเรื่องธรรมดาของคนแก่ จึงไม่รู้สึกเดือดร้อน ในขณะที่มีผู้สูงอายุบางคนรู้สึกว่าสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ เป็น เรื่องรุนแรง หรือเป็นภาวะที่น่ารำคาญ ที่รบกวนวิถีชีวิตประจำวัน (ผู้สูงอายุสมัยใหม่จะมีวิถีชีวิตที่ ต้องอยู่นอกบ้าน หรือทำกิจกรรมนอกบ้านมาก เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนที่มีชีวิตเรียบง่าย) ก็จะไปพบแพทย์เพื่อหาวิธีแก้ไขหรือบรรเทาอาการ

เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับความอดทน ของแต่ละคนซึ่งไม่เท่ากัน แต่บาง คนก็ปล่อยปละละเลยหรือฝืน ร่างกายจนมีอาการรุนแรง และเกิดโรคแทรกซ้อนที่อันตราย เช่น กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ หรือภาวะไตวาย เป็นต้น ยิ่งถ้าผู้สูงอายุเป็นโรคอื่นๆ อยู่ก่อน แล้ว (เช่น เบาหวาน ความดันเลือด สูง ฯลฯ) ก็จะเป็นเหตุปัจจัยทำให้เกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่เมื่อเริ่มมีอาการเพียงเล็กน้อย

เมื่อไรควรไปพบแพทย์
สำหรับผู้ที่อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป ถ้ามีอาการผิดปกติในระบบขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่ค่อยออก ต้องเบ่งหรือรอนานกว่าจะปัสสาวะออกมาได้ หรือปัสสาวะที่ออกมาไม่ค่อยพุ่ง บางครั้งออกมาเป็นหยดๆ หรือมีอาการปวดปัสสาวะบ่อย อั้นไม่อยู่ ถ่ายไม่สุด หรือถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด ก็ควรหาเวลาไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
และตามปกติเมื่อผู้สูงอายุ ไปตรวจสุขภาพประจำปี แพทย์ก็มักจะทำการตรวจต่อมลูกหมาก(โดยล้วงทวารหนัก) ให้ควบคู่กันไปด้วยอยู่แล้ว

แพทย์จะรักษาอย่างไร
เมื่อไปพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติของผู้ป่วย ตรวจดูอาการหลักๆ ที่เป็นอยู่ และตรวจทางทวารหนัก หรือตรวจปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจในขั้นพื้นฐานตามปกติทั่วไป หรืออาจทำการเอกซเรย์ในกรณีที่สงสัยว่า ผู้ป่วยอาจจะเป็นนิ่วร่วมด้วย หรือบางรายอาจต้องมีการเจาะเลือดเพื่อตรวจให้แน่ใจว่าเนื้องอกที่เป็นนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งหรือไม่
การเจาะเลือดเพื่อตรวจหามะเร็งของต่อมลูกหมากนี้ ถ้าหากไม่มีข้อบ่งชี้หรือมีอาการที่น่าสงสัยจริงๆ แพทย์ส่วนใหญ่ (ในโรง พยาบาลของรัฐ) มักจะไม่ตรวจ  ให้เพราะการตรวจดังกล่าวมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ ในประเทศไทยก็พบมะเร็งต่อมลูกหมากไม่มากนัก ซึ่งไม่เหมือนกับประเทศทางตะวันตก

การรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

  • หากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องรักษา
  • ควรงดดื่มของเหลวหรือแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินไปโดยเฉพาะในเวลากลางคืน
  • แพทย์อาจะสั่งยาบางชนิดให้ เช่น Proscar (finasteride) ซึ่งช่วยให้ต่อมลูกหมากมีขนาดเล็กลง หรือยาคลายกล้ามเนื้อเรียบในต่อมลูกหมากให้อ่อนตัวลง (alpha-blockers)
  • รักษาด้วยความร้อน (การใช้ความร้อนกับเนื้อเยื่อของต่อมลูกหมาก) สามารถใช้เพื่อลดอาการของต่อมลูกหมากโตได้ ข้อดีของการรักษานี้ก็คือสามารถดำเนินการรักษาในขณะที่เป็นผู้ป่วยนอกได้ โดยจะมีการใช้พลังงานจากคลื่นไมโครเวฟหรือคลื่นความถี่วิทยุจำนวนเล็กน้อยในการรักษา
  • รักษาด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง เพื่อตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่เกินออกมาจากต่อมลูกหมาก (TURP) วิธีนี้ถือว่าเป็นวิธีผ่าตัดที่ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ แพทย์ผ่าตัดจะส่งท่อที่มีกล้องขนาดเล็กผ่านเข้าสู่ท่อปัสสาวะ ตรงปลายท่อจะมีเครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กใช้สำหรับตัดเนื้อเยื่อต่อมลูกหมากส่วนที่กดทับท่อปัสสาวะไว้
  • ในกรณีที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่มากผิดปกติ แพทย์อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องเพื่อนำเอาเนื้อเยื่อส่วนเกินออกมา

กล่าวโดยสรุป การรักษาอาการต่อมลูกหมากโตมี ๓ วิธี คือ เฝ้าดู กินยา และผ่าตัด แล้วแต่ว่า ผู้ป่วยจะมีข้อบ่งชี้อะไร ซึ่งถ้าหากมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็อาจจะแค่เฝ้าดูแต่ถ้ามีอาการสุดโต่งไปอีกทางหนึ่ง คือมีข้อบ่งชี้ชัดเจนก็ต้องผ่าตัด ส่วนผู้ที่มีอาการมากกว่าจะเฝ้าดูเฉยๆ แต่ไม่มีข้อบ่งชี้ เพียงพอว่าจะต้องผ่าตัดก็จะรักษาด้วยยา

บางคนอาจสงสัยว่า ทำไมแพทย์ไม่ผ่าตัดไปเสียเลยจะได้ หมดปัญหา แต่ความจริงแล้วเรื่องการผ่าตัดใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ อย่างที่คนทั่วไปคิดกัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องต่อมลูกหมากโตที่ผู้ป่วยเป็นคนสูงอายุ ถ้าหากทำการผ่าตัดโดยไม่มีข้อบ่งชี้พอเพียงผลที่ได้จะไม่คุ้มกับที่เสีย

ดังนั้น แพทย์จะต้องคำนึง ถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดรอบคอบ เช่น ๑) ความสมบูรณ์ของร่างกายของผู้ป่วย ที่จะต้องดี พอสมควร

๒) โรคประจำตัวของผู้สูงอายุซึ่งเป็นกันมาก อย่างเช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ที่มีผลต่อการผ่าตัด

๓) ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการดมยาสลบ หรือการผ่าตัดซึ่งถ้าไม่มีความจำเป็นจริงๆ การไม่ต้องผ่าตัดเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว

๔) สถานที่หรือแพทย์เฉพาะทาง คือ ศัลยแพทย์เกี่ยวกับระบบทาง เดินปัสสาวะยังมีน้อยมาก (ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ คน ทั้งประเทศ) เมื่อเทียบกับจำนวนคนไข้ทั้งหมด

อ่านมาถึงบรรทัดนี้คงหายข้องใจกันแล้วว่า ทำไมแพทย์จึงไม่ใช้วิธีผ่าตัดรักษาโรคนี้กับทุกคน เพราะแท้ที่จริงแล้วการไม่ต้องขึ้นเขียง เข้าห้องผ่าตัด นับเป็นลาภอันประเสริฐอย่างหนึ่งในชีวิต

การป้องกันการเกิดโรคต่อมลูกหมากโต

ยังไม่มีทางป้องกันภาวะการเกิดต่อมลูกหมากโต

www.sansirihomecare.com


3 Comments >

 ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

          ห้างหุ้นส่วนแสนสิริ โฮม แคร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท มีปัญหาด้านหารช่วยเหลือตนเอง โดยเน้นการดูแลเสมือนบ้าน บรรยากาศร่มรื่น เงียบสงบ สะอาด ถูกหลักอนามัย โดยมีพยาบาลวิชาชีพดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังมีบุคลากรทางสุขภาพที่ช่วยฟื้นฟูสุขภาพผู้สูงอายุ อาทิเช่น นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮม แคร์ ยินดีให้บริการทุกท่านทั้ง  4 สาขา

สาขาสุขุมวิท107 (ซอยแบริ่ง 17บ้านเดี่ยว)

สาขาแบริ่ง 36

สาขาอนามัยงามเจริญ 23

รายละเอียดการบริการ

1.การดูแลและพยาบาลทั่วไป 24 ชั่วโมง

2.ที่พักปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก เครื่องทำน้ำอุ่น ทีวี

3.อาหารหลัก 3 มื้อ อาหารว่าง 2 มื้อตามที่ผู้สูงอายุต้องการหรือสามรถทานได้ (ไม่เป็นผลเสียกับโรคประจำตัว)

4.ออกกำลังกายและกายภาพบำบัดพื้นฐาน โดยนักกายภาพ 2 ครั้ง/สัปดาห์

5.มีเตียงลม,ครื่องดูดเสมหะ ไม่คิดค่าบริการ ค่าไฟ(เป็นของที่เตรียมไว้ประจำศูนย์)

6.ไม่คิดค่าบริการ เปลี่ยสายสวนปัสสาวะ สายให้อาหาร ค่าทำแผลกดทับ อัตราค่าบริการ เริ่มต้นที่ 18000/เดือน

(ผู้ป่วยให้อาหารทางสายให้อาหาร 18000-25000/เดือน)

อัตราค่าบริการไม่รวมค่าเวชภัณ 2800บาท/เดือน#เลือกเป็นแบบเหมาจ่ายหรือคิดตามจริงได้
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณสุธัญญา 090-569-7945
สาขาแบริ่ง 36 TEL.096-405-1562,02-051-5283

สาขาพระราม 2  TEL.02-003-2424

สาขาอนามัยงามเจริญ 23  095-869-3595

Website www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

www.sansirihomecare.com

http://sansiri-homecare.blogspot.com/

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ สาขาอนามัยงามเจริญ 23 พร้อมเปิดให้บริการสำหรับผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัว ต้องทานยาต่อเนื่องและควบคุมอาหาร ทั้งเบาหวาน ความมดัน ทำกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวช่วยเหลือตัวเองได้น้อย โดยมีนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ ดูแลต่อเนื่องทุกอาทิตย์ (วัน จ-ศ จะมีพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาลทำกายภาพต่อเนื่องตามคำแนะนำของนักกายภาพวิชาชีพ)

สภาพอาคารชั้นเดียว พื้นที่ 300 ตรว. เป็นห้องแอร์ ทีวี น้ำอุ่น กว้าง โปร่ง มีสวน ลานออกกำลังกาย เดินเล่น

แผนที่ศูนย์ดูแลแสนสิริ โฮมแคร์ ทั้ง4 สาขา


Leave a comment

การป้องกันการเกิดแผลกดทับและวิธีดูแลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดแผลกดทับ 

1827

  1. การกดทับ โดยมีข้อสังเกตุดังนี้
    1.1 บริเวณที่มีกล้ามเนื้อมากจะทนต่อแรงกดทับได้ดี
    1.2 มีรายงานว่า แรงกดประมาณ 70 มม.ปรอท กดทับเป็นเวลา 1 – 2 ชั่วโมง ติดต่อกันจะทำให้เกิด
    การขาดเลือดขึ้น
    1.3 แรงกดจำนวนมากแม้เพียงระยะเวลาสั้นๆ ก็ทำให้เกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อได้ เท่ากับแรงกดน้อยๆ แต่
    ระยะเวลานาน
    1.4 แผลกดทับมักพบในผู้ป่วยอัมพาตช่วยเหลือตัวเองได้น้อย
  2. แรงไถและความเสียดทาน ซึ่งจะทำให้เกิดการปริแตกของเนื้อเยื่อได้ง่าย และมักจะพบในผู้ป่วยอัมพาตที่นั่ง
    รถเข็น โดยเฉพาะเวลามีการเคลื่อนตัวบนรถเข็น
  3. อุณหภูมิ ผลของการเพิ่มอุณหภูมิ จะทำให้มีการเพิ่มของเมตาบอลิสซึมของเซลล์ ส่งเสริมให้เนื้อเยื่อขาด
    เลือดและตายได้ง่ายขึ้น
  4. ความมีอายุ
  5. ภาวะทางโภชนาการ การขาดโปรตีนจะทำให้การเสริมสร้างเนื้อเยื่อช้าลง ส่งผลให้แผลหายช้า พบว่าผู้ป่วย
    เหล่านี้ทำให้แผลหายช้าลง
  6. การบวมน้ำ ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางการส่งผ่านอาหาร และออกซิเจนจากเส้นเลือดฝอยมาเลี้ยงเซลล์ ทำให้เกิด
    แผลกดทับได้ง่ายขึ้น และหายช้าลงด้วย
  7. ภาวะความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น เบาหวาน
  8. ปัจจัยอื่นๆ เช่นความชื้นจากเหงื่อ อุจจาระ

การป้องกันแผลกดทับ และการพยาบาล

  1. ดูแลพลิกตะแคงตัว เปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ หรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ
  2. ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ
  • ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก
  • การยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ควรมีผ้ารองยก และใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดการเสียดสี
  • ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะอย่างภายหลังผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง และหากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนังที่ฉายรังสี
  • ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี
  • ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับเพราะผู้ป่วย จะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลทำนวนมาก น้ำอย่างสมดุลย์ด้วย
  • ดูแลทำความสะอาดแผลโดยวิธีปราศจากเชื้อ มีแนวทางปฎิบัติ ดังนี้

8.1 การทำความสะอาดแผลที่อยู่ในระยะงอกขยาย
– ควรล้างแผลเบาๆ ควรทำเฉพาะผิวหนังรอบๆ แผลเท่านั้น หลีกเลี่ยงการขัดถูแผล
– น้ำยาที่ใช้ล้างแผลต้องไม่มีพิษต่อเซลล์ ได้แก่ น้ำเกลือนอร์มัล ส่วนน้ำยาฆ่าเชื้อโรค เช่น Povidone – Iodine , Chlorhexidine, Dekin- solution, Hydrogen peroxide ไม่ควรใช้ในระยะงอกขยาย เพราะจะทำลายเซลล์ที่จำเป็นในซ่อมแซมแผล ทำให้แผลหายช้า

8.2 การทำความสะอาดแผลติดเชื้อหรือแผลเนื้อตาย
– ใช้การชะล้างแผลด้วยความดันสูง เพื่อขจัดเศษเนื้อตายและแบคทีเรีย
– ใช้น้ำยาทำความสะอาดแผล ( น้ำเกลือนอร์มัล) หรือน้ำยาฆ่าเชื้อล้างแผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผลติดเชื้อจากการปนเปื้อน
– กำจัดเศษเนื้อตายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เพราะเป็นแหล่งให้แบคทีเรียเจริญได้ดี จึงควรตัดเล็บออกให้หมด และเซลล์ใหม่จะงอกขยายเจริญมาปกคลุมแผลได้ดี
– กำจัดช่องหรือโพรงที่อยู่ภายใต้ผิวหนัง เนื่องจากช่องหรือโพรงมักมีสารคัดหลั่งจากแผลซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่ดีของ แบคทีเรีย จึงควรทำการอุดช่องหรือโพรงอย่างหลวมๆ ด้วยก๊อสหรือวัสดุที่เหมาะสม

  1. อธิบาย ให้คำแนะนำ รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ให้ตระหนักถึงความสำคัญของการพริกตะแคงตัวและการทำความสะอาดแผล

สนสใจสอบถาม-ปรึกษษเพิ่มเติมไม่เสียค่าใช้จ่าย

TEL 090-569-7945


Leave a comment

ภาวะพร่องโภชนาการ

S__14409730

ภาวะโภชนาการหมายถึงอะไร
หมายถึง ผล สภาพ หรือภาวะของร่างกายที่เกิดจากการบริโภคอาหาร แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้

1. ภาวะโภชนาการดี (good nutritional status) หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ คือ มีสารอาหารครบถ้วน ในปริมาณเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และร่างกายใช้สารอาหารเหล่านั้นในการเสริมสร้างสุขภาพอนามัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพเต็มที่

2. ภาวะโภชนาการไม่ดี (bad nutritional status) หรือภาวะทุพโภชนาการ (malnutrition)
หมาย ถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับเพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้ประโยชน์จากสารอาหารที่ได้รับ หรือการได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินความต้องการของร่างกาย จึงทำให้เกิดภาวะผิดปกติขึ้น

ภาวะโภชนาการไม่ดี แบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ (under nutrition or nutritional deficiency) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยอาจขาดสารอาหารเพียง 1 ชนิด หรือมากกว่า และอาจขาดพลังงานด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น โรคขาดโปรตีน(kwashiorkor)โรคขาดพลังงาน (marasmus)หรือโรคขาดโปรตีนและพลังงาน (marasmic-kwashiorkor) โรคที่เกิดจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ เช่น โรคเหน็บชา คอพอก
2.ภาวะโภชนาการเกิน (over nutrition) หมายถึง ภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารมากเกินความต้องการของร่างกาย และเก็บสะสมไว้จนเกิดอาการปรากฏ เช่น ได้รับสารอาหารที่ให้พลังงานมากเกินไปจะมีการสะสมไว้ในร่างกายในสภาพไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วน หรือการได้รับสารอาหารบางอย่างที่ขับถ่ายยากในปริมาณมากเกินไป จนมีการเก็บสะสมในร่างกาย และทำให้เกิดโทษ เช่น การได้รับวิตามิน เอ และ ดี มากเกินความต้องการของร่างกาย และร่างกายเก็บสะสมไว้ทำให้เกิดภาวะไฮเปอร์วิตามินโนซีส เอ และ ดี (hyper vitaminosis A และ D)

สนใจขอคำแนะนะเพิ่มเติม TLE.090-569-7945

http://www.ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ.com

 


Leave a comment

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

67358_666904

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง(Aphasia)

ความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า                                        “อะเฟเซีย (Aphasia: การเสียการสื่อความ)” เป็นความบกพร่องของการสื่อสารเนื่องจากการมีพยาธิสภาพของสมองที่ควบคุมการพูดและภาษา ความผิดปกติทางภาษาและการพูดมักเกิดร่วมกับโรคอัม พาตซีกขวาในคนที่ถนัดมือขวา แต่เนื่องจากสมองส่วนที่เป็นศูนย์กลางการพูดและภาษา (Speech and language center) อยู่ที่สมองซีกซ้ายซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวา ดังนั้นการกล่าวถึงสมองที่เกี่ยวข้องกับภาษาและการพูดจึงหมายถึงสมองซีกซ้ายในคนถนัดขวา

สมองพิการเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง เช่น หลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) หลอดเลือดในสมองมีลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolism) หลอดเลือดในสมองแตกหรือการตกเลือดในสมอง (อ่านเพิ่มเติมในบทความเรื่อง โรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดและชนิดเลือดออก) หรือสมองได้รับอุบัติเหตุ (Head injury) เช่น สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือจากการกระทบกระเทือนจากผ่าตัดเอาเลือดคั่งหรือเนื้องอกในสมองออก ฯ

การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการพูดและทางภาษาจากสมองพิการ เบื้องต้นควรเข้าใจสภาพจิตใจผู้ป่วย เนื่องจากเคยพูดสื่อสารและทำงานได้อย่างดี แต่ต้องกลายมาเป็นภาระต่อครอบครัว และทำอะไรด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ป่วยต้องการเวลาในการปรับตัว และต้องการกำลังใจจากบุคคลใกล้ชิด ครอบครัวจึงควรปฏิบัติตัวและให้การช่วยเหลือผู้ป่วย ดังนี้

  1. ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทั้งด้านความเข้าใจและการพูด ให้เน้นฝึกด้านความเข้าใจก่อน
  2. เรียกผู้ป่วยให้ฟังและสนใจก่อนสอนพูดกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำอะไร หรือให้ตอบคำถามเสมอ
  3. ใช้ท่าทางและการพูดร่วมกันในการสื่อสารกับผู้ป่วย
  4. ใช้คำพูดง่ายๆ สั้นๆ ชัดเจน และมีรูปแบบเดียวกันในการสอนผู้ป่วยระยะแรกเช่นชี้ตาชี้หู ชี้ปากเป็นต้น
  5. รอให้ผู้ป่วยตอบสนองก่อน ประมาณ 5 วินาที แล้วจึงบอกใบ้คำ ตอบ ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการออกเสียงของผู้ป่วย
  6. ช่วยพูดซ้ำๆ ขยายคำพูดของผู้ป่วย ต่อเติมในกรณีที่ผู้ป่วยพูดไม่ชัด พูดสั้นเกินไป
  7. ควรฝึกพูดก่อนฝึกกายภาพบำบัดหรือกิจกรรมบำบัด
  8. ไม่ตกใจเมื่อผู้ป่วยพูดคำหยาบ
  9. กรณีที่ผู้ป่วยหัวเราะ หรือทำอะไรซ้ำๆ ซึ่งอาจเกิดจากการเหนื่อยล้าหรือ การฝึกมากเกินที่ผู้ป่วยจะรับได้ ให้ผู้ป่วยพักประมาณ 2-3 นาทีแล้วจึงฝึกต่อ
  10. เวลาในการฝึกพูดแต่ละครั้ง ประมาณ 20-30 นาที วันละประมาณ 3-4 ครั้ง
    1. ทำการประเมิน และวางแผนการฝึกพูด เพื่อรับโปรแกรมการฝึกพูดไปฝึกต่อที่บ้านได้อย่างเหมาะสมกับผู้ป่วย และต้องนำผู้ป่วยไปติดตามการประเมินและการฝึกพูดเป็นระยะๆกับนักแก้ไขการพูดตามนัดเสมอ เพื่อปรับโปรแกรมการฝึกพูดอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

      ประเภทของความผิดปกติทางการพูดมี  2  แบบ

      1. การพูดไม่ชัด (Neurological articulation disorders)

               การพูดไม่ชัดจากการบกพร่องของกลไกประสาทที่ควบคุมอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด(Dysarthria)
      ทำให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดอ่อนแรง เป็นอัมพาต หรือ เกร็ง โดยจะพูดไม่ชัดมากขึ้นถ้าพูดยาวๆ หรือนานๆ ผู้ป่วยอาจมีน้ำลายไหลที่มุมปากด้านใดด้านหนึ่งร่วมด้วยควรรักษาที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรัก ษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมิน และการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยได้

      การฝึกพูดในผู้ป่วย                                                                                                              hj      

      • การออกกำลังกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการพูด
        • การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด ซ้ำๆ เร็วๆ ชัดๆ จนเหนื่อย แล้วพัก 2-3 นาที/กิจกรรม และทำกิจกรรมใหม่ต่อ โดยพิจารณาความสามารถของผู้ป่วยเป็นเกณฑ์ กิจกรรมเหล่านี้ ได้แก่ การออกเสียง อา–อู อู–อี อา–อี ลัน ลัน ลัน ลา เปอะ-เตอะ-เกอะ เพอะ-เทอะ–เคอะ กระดกลิ้นซ้ำๆ
      • การฝึกพูดที่เรียงลำดับให้ชัดเจน ความสำคัญ คือการนับเลข
        • การท่องชื่อวันใน 1 สัปดาห์
        • การท่องชื่อ 12 เดือนใน 1 ปี
        • การท่องสูตรคูณ
        • การท่องพยัญชนะ ก–ฮ
        • การอ่านหนังสือออกเสียง
        • การถามตอบ
      • ในรายที่พูดเสียงเบา พูดประโยคสั้นๆแล้วเสียงหายไป ควรฝึกสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ช้าๆ แล้วลากเสียงสระยาวๆ อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ อือ สลับกัน
      • การฝึกพูดกับบุคคลใกล้ชิด คนในครอบครัว และคนในสังคม และควรนำผู้ป่วยเข้าสังคมตามปกติ ไปซื้อของเพื่อให้มีการฝึกพูด และพัฒนาการพูดในบริบทที่เป็นธรรมชาติ
      2. การพูดไม่ชัดแบบมีความบกพร่องของสมองที่ควบคุมโปรแกรมการพูด(Aprasia of speech:AOS)

      ทำให้การเรียบเรียงลำดับตำ แหน่งอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดบกพร่อง ผู้ป่วยจะพูดไม่ชัดโดยไม่พบอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด การพูดไม่ชัดจะเกิดขึ้นในคำหรือวลี หรือประโยคที่ตั้งใจจะพูด แต่ในบางครั้งจะพูดได้ชัดเมื่อไม่ตั้งใจจะพูด  การรักษาควรที่สาเหตุ การฟื้นฟูสมรรถภาพการพูดเป็นการรักษาลำดับแรกๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงการตรวจประเมินและการฝึกพูดที่ผู้ดูแลสามารถนำ ไปใช้กับผู้ป่วยและญาติที่มีปัญหาดังนี้                                                                1-1

      -การฝึกกิจกรรมการเคลื่อนไหวอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูด เช่น อ้าปาก ยิงฟัน ทำปากจู๋ เผยอปาก ฯลฯ
      -การฝึกกิจกรรมการออกเสียงสระในพยางค์ง่ายๆ เช่น อา อู อี โอ เอ แอ ออ เออ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ ที่ใช้ริมฝีปาก เช่น มอ ปอ พอ บอ เม เป เพ เบ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะต้นอื่นๆ เช่น ดา ตา ทา ชา จา กา คา งา ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น อาอู อีเอ แอเออ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงสระรวมกับพยัญชนะ 2 พยางค์ที่มีพยัญชนะต้นต่างกัน เช่น มาอู อีเบ แปเพอ ฯลฯ
      -ฝึกการออกเสียงพูดคำที่มีความหมาย 1 2 3 พยางค์ วลี ประโยค ตามลำดับ เช่น มอมแมม แม่มา ปาบอล แม่ปาบอล พี่ทาปากแดง

      โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์


Leave a comment

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG)

e9d5994227290f9ac966be4f77d00af9--school-nursing-medical-school.jpg

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia Gravis: MG) หรือโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี คือโรคที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการหนังตาตก ยิ้มได้น้อยลง หายใจลำบาก มีปัญหาการพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกาย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยทุกเพศทุกวัย ปัจจุบัน การรักษาทำได้เพียงเพื่อบรรเทาอาการ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสมและเอาใจใส่จากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ

อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โดยปกติแล้วมักไม่พบอาการเจ็บหรือปวด แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือปวดหลังมีประจำเดือนหรือหลังออกกำลังกาย อาการที่สังเกตได้ตามบริเวณส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตา ใบหน้า ลำคอ แขนและขา โดยอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมักมีรายละเอียดดังนี้

  • กล้ามเนื้อรอบดวงตา หนังตาตกข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง เป็นอาการแรกที่สังเกตได้ รวมถึงพบปัญหาด้านการมองเห็น เช่น มองไม่ชัด หรือเห็นภาพซ้อน เป็นต้น อาการจะดีขึ้นเมื่อหลับตาข้างใดข้างหนึ่งลง
  • ใบหน้า หากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกบนใบหน้าได้รับผลกระทบ จะทำให้การแสดงออกทางสีหน้าถูกจำกัด เช่น ยิ้มได้น้อยลง หรือกลายเป็นยิ้มแยกเขี้ยวเนื่องจากไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อบนใบหน้าได้
  • การหายใจ ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวนหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก โดยเฉพาะเมื่อนอนราบอยู่บนเตียงหรือหลังออกกำลังกาย
  • การพูด การเคี้ยวและการกลืน เกิดจากกล้ามเนื้อรอบปาก เพดานอ่อน หรือลิ้นอ่อนแรง ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติบางอย่าง เช่น พูดเสียงเบาแหบ พูดเสียงขึ้นจมูก เคี้ยวไม่ได้ กลืนลำบาก ไอ สำลักอาหาร บางกรณีอาจเป็นสาเหตุไปสู่การติดเชื้อที่ปอด
  • ลำคอ แขนและขา อาจเกิดขึ้นร่วมกับอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ มักเกิดขึ้นที่แขนมากกว่าที่ขา ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น เดินเตาะแตะ เดินตัวตรงได้ยาก กล้ามเนื้อบริเวณคออ่อนแรง ทำให้ตั้งศีรษะหรือชันคอลำบาก เกิดปัญหาในการแปรงฟัน การยกของ รวมไปถึงการปีนบันได

หากพบว่ามีปัญหาด้านการมอง การหายใจ การพูด การเคี้ยว การกลืน รวมไปถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่เป็นไปโดยลำบาก เช่น การใช้มือและแขน การทรงตัว การเดิน เป็นต้น ควรรีบไปพบแพทย์

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมักเกิดขึ้นจากปัญหาการแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune Disorder) โดยมีรายละเอียดสาเหตุของอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ดังนี้

  • สารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ (Antibodies) และการส่งสัญญาณประสาท ปกติระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตแอนติบอดี้ออกมาเพื่อทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง แอนติบอดี้จะไปทำลายหรือขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) โดยถูกส่งไปที่ตัวรับ (Receptor) ซึ่งอยู่ที่ปลายระบบประสาทบนกล้ามเนื้อแต่ละมัด ทำให้กล้ามเนื้อไม่สามารถหดตัวได้
  • ต่อมไทมัส (Thymus Gland) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกระดูกอก มีส่วนในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ผลิตสารภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ไปขัดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน เด็กจะมีต่อมไทมัสขนาดใหญ่และจะค่อย ๆ เล็กลงเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ แต่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีขนาดของต่อมไทมัสที่ใหญ่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยบางรายมีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่มีสาเหตุมาจากเนื้องอกของต่อมไทมัส ซึ่งพบประมาณร้อยละ 10 ในผู้ป่วยสูงอายุ

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การวินิจฉัยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติและอาการของผู้ป่วยว่าอาการที่พบอยู่ในกลุ่มของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือไม่ ขยับลูกตาและเปลือกตาได้ตามปกติหรือผิดปกติอย่างไร แพทย์อาจส่งตัวผู้ป่วยไปให้นักประสาทวิทยาหรือจักษุแพทย์วินิจฉัยเพิ่มเติม และอาจมีการทดสอบด้วยวิธีดังต่อไปนี้ร่วมด้วย

  • การตรวจระบบประสาท ด้วยการทดสอบการตอบสนอง กำลังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ความรู้สึกจากการสัมผัส การทรงตัว หรือการมองเห็น เป็นต้น
  • การตรวจเลือด แพทย์จะตรวจนับจำนวนของแอนติบอดี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงนั้นจะมีจำนวนของแอนติบอดี้ที่ไปยับยั้งการทำงานของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ส่วนมากจะตรวจพบแอนติบอดี้ชนิด Anti-MuSK
  • การตรวจการชักนำประสาท (Nerve Conduction Test) ทำได้ 2 วิธี คือ Repetitive Nerve Stimulation Test เป็นการทดสอบด้วยการกระตุ้นเส้นประสาทซ้ำ ๆ เพื่อดูการทำงานของมัดกล้ามเนื้อ โดยการติดขั้วไฟฟ้าที่ผิวหนังบริเวณที่พบอาการอ่อนแรง และส่งกระแสไฟฟ้าปริมาณเล็กน้อยเข้าไปเพื่อตรวจสอบความสามารถของเส้นประสาทในการส่งสัญญาณไปที่มัดกล้ามเนื้อ และการตรวจด้วยไฟฟ้า (Electromyography) เป็นการวัดกระแสไฟฟ้าจากสมองที่ส่งไปยังกล้ามเนื้อเพื่อดูการทำงานของเส้นใยกล้ามเนื้อเพียงเส้นเดียว (Single-fiber Electromyography หรือ EMG)
  • Edrophonium Test หรือ Tensilon Test โดยการฉีด Edrophonium Chloride ปกติกล้ามเนื้อหดตัวทำงานจากการที่สารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ไปจับตัวรับที่กล้ามเนื้อ จากนั้นจะมีกระบวนการที่ทำให้แอซิติลโคลีนปล่อยจากตัวรับที่กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว การฉีด Edrophonium จะไปยับยั้งขั้นตอนการปล่อยตัวจากตัวรับ ทำให้แอซิติลโคลีนเกาะตัวกับตัวรับนานขึ้นจึงทำให้กล้ามเนื้อยังคงทำงานหดตัวได้นานขึ้น ไม่เกิดอาการอ่อนแรง แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปัญหาการเต้นของหัวใจและการหายใจ แพทย์จะวินิจฉัยด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อพบความผิดปกติจากการตรวจเลือดและการตรวจด้วยไฟฟ้า ทำโดยแพทย์ประสาทวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญและมีอุปกรณ์ครบครัน จึงเป็นผลให้แพทย์ไม่นิยมวินิจฉัยด้วยวิธีนี้
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized Tomography) หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อหาเนื้องอกหรือความผิดปกติที่บริเวณต่อมไทมัส
  • การทดสอบการทำงานของปอด (Pulmonary Function Tests) เพื่อประเมินสภาพการทำงานของปอดและการหายใจ
  • Ice Pack Test เป็นการทดสอบเสริม โดยแพทย์จะนำถุงน้ำแข็งมาวางในจุดที่มีอาการตาตกเป็นเวลา 2 นาที และวิเคราะห์การฟื้นตัวจากหนังตาตกเพื่อวินิจฉัยโรคต่อไป

การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ในปัจจุบัน การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีหลายวิธี แต่ส่วนใหญ่รักษาตามอาการและเน้นเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ทั้งนี้แพทย์จะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับเงื่อนไขของผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงแต่ละราย เช่น อายุ ความรุนแรงของอาการ ตำแหน่งที่เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น โดยมีวิธีการรักษาดังนี้

  • การรับประทานยา
    • ยาในกลุ่ม Cholinesterase Inhibitors เช่น ไพริโดสติกมีน (Pyridostigmine) เหมาะแก่ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงระดับเบาหรือผู้ที่เพิ่งเริ่มมีอาการ โดยยาจะช่วยเพิ่มการทำงานระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัวและแข็งแรงขึ้น การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ เหงื่อออกและน้ำลายไหลมาก เป็นต้น
    • ยาในกลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เช่น เพรดนิโซน (Prednisone) เป็นยาชนิดเม็ดที่ใช้ในปริมาณต่ำ เพื่อยับยั้งการผลิตแอนติบอดี้ การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงได้ เช่น กระดูกบางลง น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงโรคเบาหวาน
    • ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressants) เช่น อะซาไธโอพรีน, ไมโคฟีโนเลต โมฟีทิล, ไซโคลสปอริน, เมทโธเทร็กเต หรือทาโครลิมัส การใช้ยานี้อาจมีผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหาร ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่น ๆ รวมไปถึงตับและไตอักเสบ การใช้ยานี้จำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานจึงจะเห็นผล ควรตรวจเลือดอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบระบบภูมิคุ้มกันและผลข้างเคียงอื่น ๆ
  • การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (Plasmapheresis) โดยเป็นการกำจัดแอนติบอดี้ที่จะไปขัดขวางการทำงานของกล้ามเนื้อออกจากร่างกาย โดยวิธีการรักษานี้จะให้ผลอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ และอาจเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ความดันเลือดลดลง มีเลือดไหล จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • การบำบัดด้วยอิมมูโนโกลบูลิน (Intravenous Immunoglobulin) หรือ IVIg จะช่วยเพิ่มจำนวนแอนติบอดี้ที่มีความเป็นปกติ ซึ่งจะช่วยปรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การรักษาด้วยวิธีนี้เสี่ยงน้อยกว่าการเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า เห็นผล 3-6 สัปดาห์ แต่ส่งผลข้างเคียงในระดับที่ไม่รุนแรงนัก เช่น หนาวสั่น วิงเวียน ปวดศีรษะ และบวมน้ำ การรักษาด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • การฉีดยา Rituximab เข้าเส้นเลือด จะใช้กับผู้ป่วยในบางกรณี มีผลในการกำจัดเซลล์เม็ดเลือดขาว และเสริมระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การผ่าตัดต่อมไทมัส พบว่าในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจำนวน 15% มีเนื้องอกเกิดขึ้นที่บริเวณต่อมไทมัส ซึ่งเป็นต่อมที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แพทย์จะผ่าตัดต่อมไทมัสเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในอนาคต เช่น เนื้องอกที่ต่อมไทมัสที่อาจกระจายสู่หน้าอก เป็นต้น

แนวทางปฎิบัติสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงและคนใกล้ชิด

  • พักผ่อนให้มาก เพื่อลดการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • หลีกเลี่ยงความร้อนและความเครียด เพราะอาจทำให้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแย่ลงได้
  • ติดตั้งราวจับสำหรับผู้ป่วย เช่น ในห้องน้ำ รวมถึงเก็บกวาดบ้านเพื่อป้องกันผู้ป่วยสะดุด
  • เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าแทนการออกแรงเอง เพื่อป้องกันอาการเหนื่อยในผู้ป่วย เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า
  • รับประทานอาหารที่อ่อนนุ่มและไม่ต้องเคี้ยวมาก แบ่งมื้ออาหารเป็นหลาย ๆ มื้อ และเพลิดเพลินกับการรับประทานและการเคี้ยวในช่วงที่กล้ามเนื้อมีความแข็งแรง
  • ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการใช้ผ้าปิดตาในผู้ป่วยที่เห็นภาพซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพในกระทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เขียนหรืออ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ และเพื่อลดการเกิดภาพซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง รักษาให้อาการดีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่ได้เข้ารับการรักษาที่ทันท่วงที อาจมีแนวโน้มทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น

  • ภาวะหายใจล้มเหลว (Myasthenic Crisis) เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อที่มีหน้าที่ควบคุมการหายใจอยู่ในภาวะอ่อนแอ แทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถหายใจได้ด้วยตนเอง
  • เนื้องอกที่ต่อมไทมัส มีโอกาสเกิดขึ้นได้ประมาณ 15% ในผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งต้อมไทมัสนี้เป็นต่อมที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • ภาวะพร่องไทรอยด์ (Hypothyroid) หรือภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroid) ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมที่อยู่บริเวณด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเผาผลาญ หากเกิดการแทรกซ้อนของภาวะพร่องไทรอยด์ ผู้ป่วยจะมีอาการขี้หนาว น้ำหนักขึ้น ส่วนในผู้ป่วยที่มีการแทรกซ้อนของภาวะไทรอยด์เป็นพิษ จะมีอาการขี้ร้อน น้ำหนักลดลง
  • มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองอื่น ๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรดเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus) หรือที่รู้จักในชื่อโรคพุ่มพวง

การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ในปัจจุบัน โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงยังไม่สามารถป้องกันได้ แต่หลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ด้วยการมีสุขอนามัยที่ดี และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย
  • หากเกิดการติดเชื้อหรือป่วย ควรรีบรักษาด้วยวิธีที่ถูกต้องทันที
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังที่หนักเกินไป
  • ไม่ควรทำให้ตัวเองรู้สึกร้อนหรือหนาวมากจนเกินไป
  • ควบคุมความเครียด

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์


Leave a comment

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในระยะ 1 – 3 สัปดาห์แรก จะมีอาการอ่อนแรงในลักษณะอ่อนปวกเปียก ภายหลังจากนี้กล้ามเนื้อจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระยะการเกร็งตัวซึ่งจะทำงานในลักษณะหดสั้นตลอดเวลา ยกเว้นขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อใดที่มีการเกร็งตัวมากก็จะมีการหดตัวมาก

ปัญหาของผู้ป่วยที่มีการเจ็บปวดข้อไหล่และมือค่อนข้างสูง เนื่องจาก

  1. การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก หัวไหล่และศอก
  2. การเคลื่อนไหวข้อไหล่ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การ เหวี่ยง หรือ การกระชากแขน การทิ้งแขนห้อยข้างลำตัวหรือการนอนทับเป็นเวลานาน
  3. การลดลงของการเคลื่อนไหวข้อไหล่หรือแขน เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. จากผู้เฝ้าไข้ดึงแขนของผู้ป่วยแทนการยกตัวจากการดึงเข็มขัด
    ส่งผลให้ เนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่ เกิดการ หดรั้ง และ สั้น อีกทั้งยังมีการเลื่อนหล่นของข้อไหล่ เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อไม่แข็งแรง หรือไม่สมดุล

วงจรจากการเจ็บปวดข้อไหล่

Picture15.png

ศูนย์กายภาพบำบัดแสนสิริ

  1. ท่ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
    นอนหงายจับบริเวณศอก ข้อมือและนิ้วมือ ให้ เหยียดตรงยกแขนขึ้นจนติดศีรษะ แล้วเอาลง สลับกัน                           Shoulder_pain-02.jpg
  2. ท่ากางแขนพร้อมหมุนออก
    นอนหงายจับข้อศอก ข้อมือและนิ้วมือให้อยู่ใน แนวตรง แล้วกางแขนออกห่างจากลำตัว พร้อมหมุนแขนออก (ฝ่ามือหงายขึ้น) จากนั้นหุบแขนเข้า ทำสลับกัน                       Shoulder_pain-03

      3.ท่ายืดสะบักไปด้านหน้าและกลับด้านหลัง
   นอนตะแคงวางแขนผู้ป่วยบนแขนท่อนล่างของเรา จัดให้ข้อศอกอยู่ในแนวตรง มืออีกด้านจับบริเวณสะบัก    ให้ออกแรงที่มือด้านนี้ . ขยับสะบักมาด้านหน้าจนสุดแล้วดันกลับไปด้านหลัง ทำสลับกันShoulder_pain-04.jpg

  1. ท่าเหยียดแขนไปด้านหลัง
    นอนตะแคงมือด้านหนึ่งจับที่ศอก อีกด้านจับที่นิ้วมือให้เหยียดตรง ญาติช่วยขยับแขนไปด้านหลัง จากนั้นเคลื่อนกลับที่ข้างลำตัว ทำสลับกัน                                      Shoulder_pain-05              
  2. ท่างอและเหยียดข้อมือและนิ้วมือ
    นอนหงายหรือนั่งจับมือผู้ป่วยแล้วขยับข้อมืองอและเหยียดสลับกัน สำหรับนิ้วมือให้จับแบบมือให้สุดและกำมือ ดังภาพ ในกรณีมีหลังมือบวมให้เน้นแบบมือ ห้ามกำมือโดยเด็ดขาดShoulder_pain-06
  3. ท่านั่งจัดให้ผู้ป่วยนั่งเท้าแขน หรือจัดหมอนรองรับ ดังภาพ


Leave a comment

Parkinson’s Disease

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ

หลายคนเคยมีอาการมือไม้สั่นขณะตื่นเต้นซึ่งทุกคนมักคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่อาการมือสั่นบางครั้งอาจเป็นสัญญาณเตือนว่า คุณกำลังมีความผิดปกติทางระบบประสาท อาการมือสั่นสามารถจำแนกออกเป็นหลายรูปแบบ ทั้งแบบปกติ และไม่ปกติ ดังนั้นเราจึงควรทราบว่าลักษณะใดที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ เพื่อให้เราคอยหมั่นตรวจสอบตนเองและคนรอบข้าง

ลักษณะของอาการมือสั่นมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบจะบ่งบอกตำแหน่งความผิดปกติทางระบบประสาทที่แตกต่างกันออกไป สำหรับบทความนี้จะขอหยิบยกลักษณะอาการมือสั่นที่พบได้บ่อย ซึ่งมีอยู่ 4 ลักษณะ ดังนี้

การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ

การดูแลผู้สูงอายุโรคพาร์กินสัน ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ

 

ลักษณะที่ 1 อาการมือสั่นขณะที่ร่างกายอยู่เฉยๆ ไม่ได้มีความตั้งใจที่จะขยับ ซึ่งเราไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวนี้ได้หรือที่เรียกว่า Resting tremor เป็นหนึ่งในลักษณะอาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของสมองส่วน substantia nigra ที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาทโดปามีน (Dopamine)

ลักษณะที่ 2 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อตั้งใจจะเคลื่อนไหวหรือมีเป้าหมายในการเคลื่อนไหว เช่น การเอื้อมมือหยิบสิ่งของ ในทางการแพทย์เรียกว่า Intention tremor อาการนี้มักพบความผิดปกติของสมองส่วน Cerebellum (สมองน้อย) หรือส่วนก้านสมอง (Brain stem) ซึ่งอาจเกิดในกรณีที่สมองส่วนนั้นขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีเนื้องอก หรืออาจพบได้ในผู้ป่วยที่ทานยากันชักเกินขนาด หรือคนที่ติดสุราเรื้อรัง

ลักษณะที่ 3 อาการสั่นที่เกิดขึ้นเมื่อแขนหรือขาอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วงโลก หรือ Postural tremor เป็นอาการที่มีสาเหตุจากภาวะเครียด,ตื่นเต้น, ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ ภาวะถอนพิษสุรา (Alcohol withdrawal) นอกจากนี้อาจเป็นลักษณะของโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุ (Essential tremor)

ลักษณะที่ 4 อาการสั่นจากสภาวะจิตใจ หรือ Psychogenic tremor เป็นอาการสั่นที่เกิดขึ้นทันทีทันใด อาการสามารถดีขึ้นได้เอง เป็นการสั่นที่ตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เมื่อไม่ได้รับสิ่งกระตุ้นอาการสั่นจะดีขึ้น ลักษณะนี้เป็นอาการทางจิตประเภทหนึ่ง

จากที่กล่าวไปข้างต้น จะเห็นว่าอาการมือสั่นมีหลากหลายรูปแบบซึ่งมีสาเหตุมาจากพยาธิสภาพที่แตกต่างกัน การตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้รับแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง ดังนั้น การหมั่นสังเกตอาการดังกล่าวเป็นสิ่งสำคัญสำหรับท่านเองและเพื่อคนที่ท่านรัก

หลังจากที่ทราบลักษณะอาการมือสั่นรูปแบบต่างๆ แล้ว ลำดับถัดไปจะขอนำเสนอรอยโรคต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการในแต่ละลักษณะ เริ่มจากอาการแรก นั่นคือ

อาการมือสั่นจากโรคพาร์กินสัน หรือ Resting tremor เป็นอาการสั่นขณะร่างกายอยู่เฉยๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในลักษณะอาการที่จะพบได้ในผู้ปวยโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของระบบประสาทที่พบมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสันมักพบมากในผู้ที่มีอายุ 55-60 ปี แต่ก็สามารถพบได้ในคนอายุน้อยเช่นกัน เรียกว่า Young-onset Parkinson’s disease (YOPD) โรคนี้พบในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีอาการเหมือนผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน แต่มีการดำเนินโรคที่ต่างกัน ผู้ป่วยจะมีปัญหาความผิดปกติทางการรับรู้ และมีปัญหาการเดินน้อยกว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอายุมาก แต่ผู้ป่วยจะตอบสนองต่อการรักษาทางยาไม่ดี ดังนั้นทำให้การดำเนินโรคค่อนข้างเร็วกว่าผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอายุมาก

เมื่อพูดถึงโรคพาร์กินสันแล้ว หลายคนจะนึกถึงอาการมือสั่นเป็นอันดับแรก แต่ในความเป็นจริงแล้วการเสื่อมของ Substantia nigra ทำให้การผลิตสารสื่อประสาท dopamine ลดลง ซึ่งเป็นสารที่เชื่อมโยงไปยังสมองส่วน Corpus striatum ทำให้การควบคุมการทำงานและการประสานงานของกล้ามเนื้อลดลง

 

นอกจากอาการสั่นขณะอยู่เฉยๆ แล้ว ผู้ป่วยยังแสดงอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia), อาการแข็งเกร็ง (Ragidity) และอาการทรงตัวไม่มั่นคง (Postural instability) ในการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันต้องมีลักษณะอาการอย่างน้อย 3 ใน 4 ของอาการที่กล่าวมา อาการเหล่านี้ทำให้การดำเนินชีวิตของผู้ป่วยเป็นไปได้ยาก เช่น ลุกขึ้นยืนยาก, หยิบจับสิ่งของได้ลำบาก หรือ เดินไม่มั่นคง ซึ่งลักษณะการเดินจะเป็นแบบเดินซอยเท้าถี่ๆ (Shuffle), โน้มตัวไปด้านหน้า (Festination) หรือก้าวขาไม่ออกเหมือนเท้าติดอยู่กับพื้น (Freezing gait)

การรักษา

ยังไม่มีวิธีการรักษาที่ทำให้อาการหายขาดได้ เนื่องจากส่วนของสมองที่เสื่อมไปแล้วไม่สามารถฟื้นตัวหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ ดังนั้นจึงทำได้เพียงเพิ่มสารสื่อประสาท dopamine ในสมองให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ยาที่ใช้ในปัจจุบันคือ ยากลุ่ม LEVODOPA และ DOPAMINE AGONIST นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว การทำกายภาพบำบัดจะเป็นอีกแนวทางการรักษาหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยให้กลับมาใกล้เคียงปกติมากที่สุด อีกทั้งยังช่วยชะลอการดำเนินโรคให้เกิดช้าลงด้วย แนวทาวการรักษาทางกายภาพบำบัดเน้นการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ, ส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวของแขนและขา, การเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ, การฝึกการทรงตัวขณะยืนและเดิน เป็นต้น

1747-0550x0475

อาการผู้ป่วยพาร์กินสัน

การรักษาสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เริ่มแรกต้องรักษาตามพยาธิสภาพที่ทำให้เกิดความผิดปกติของสมองน้อย (Cerebellum) เมื่ออาการคงที่แล้ว การฟื้นฟูร่างกายเป็นสิ่งสำคัญในลำดับถัดมา ซึ่งเป็นหน้าที่ของนักกายภาพบำบัดที่จะทำการฟื้นฟูร่างกายให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด โดยการฟื้นฟูกล้ามเนื้อที่สูญเสียการควบคุมให้สามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งร่วมกับการฝึกการทรงตัว

ลักษณะการสั่นลำดับถัดไปคือ Postural tremor อาการสั่นที่เกิดเมื่อแขนหรือขาอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วง เป็นลักษณะที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคไทรอยด์เป็นพิษ หรืออยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุ (Essential tremor) โดยทั่วไป อาการมักใกล้เคียงกับอาการสั่นจากโรคพาร์กินสัน แต่สามารถแยกออกจากกันได้ดังนี้

ในด้านการรักษา หากมีอาการสั่นไม่มากจะไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต อาจไม่จำเป็นต้องรับการรักษา เพียงแต่พยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้น การฝึกสมาธิทำให้เกิดความผ่อนคลายช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ถ้ามีอาการสั่นมากอาจต้องใช้ยาเพื่อความคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาการสั่นอาจทำให้เสียบุคลิกภาพและทำให้ขาดความมั่นใจในการทำกิจกรรม

ลักษณะสุดท้ายอาการมือสั่นจากสภาวะทางจิต เป็นลักษณะอาการสั่นที่มีลักษณะแตกต่างจากการสั่นประเภทอื่น ดังนี้

  1. เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด อยู่ๆ ก็สั่นขึ้นเอง
  2. มีลักษณะอาการสั่นหลายรูปแบบ อาจจะสั่นขณะอยู่เฉยๆ หรือขณะอยู่ในท่าที่ต้านแรงโน้มถ่วง หรือขณะตั้งใจทำการเคลื่อนไหว
  3. อาการสั่นลดลงเมื่อมีสิ่งรบกวน หรือสูญเสียสมาธิ
  4. การสั่นมีหลากหลายความถี่
  5. มีอาการอื่นร่วมด้วย นอกจากอาการสั่น

ในด้านการรักษา ไม่มียาที่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ ทางกายภาพบำบัดสามารถช่วยในด้านการให้คำแนะนำ การป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะข้อติดแข็งจากการเคลื่อนไหวร่างกายไม่สุดการเคลื่อนไหว อาการปวดกล้ามเนื้อ เป็นต้น

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.sansirihomecare.com

 


Leave a comment

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในระยะ 1 – 3 สัปดาห์แรก จะมีอาการอ่อนแรงในลักษณะอ่อนปวกเปียก ภายหลังจากนี้กล้ามเนื้อจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระยะการเกร็งตัวซึ่งจะทำงานในลักษณะหดสั้นตลอดเวลา ยกเว้นขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อใดที่มีการเกร็งตัวมากก็จะมีการหดตัวมาก

ปัญหาของผู้ป่วยที่มีการเจ็บปวดข้อไหล่และมือค่อนข้างสูง เนื่องจาก

  1. การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก หัวไหล่และศอก
  2. การเคลื่อนไหวข้อไหล่ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การ เหวี่ยง หรือ การกระชากแขน การทิ้งแขนห้อยข้างลำตัวหรือการนอนทับเป็นเวลานาน
  3. การลดลงของการเคลื่อนไหวข้อไหล่หรือแขน เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. จากผู้เฝ้าไข้ดึงแขนของผู้ป่วยแทนการยกตัวจากการดึงเข็มขัด
    ส่งผลให้ เนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่ เกิดการ หดรั้ง และ สั้น อีกทั้งยังมีการเลื่อนหล่นของข้อไหล่ เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อไม่แข็งแรง หรือไม่สมดุล

วงจรจากการเจ็บปวดข้อไหล่

 

 

Picture15

  1. ท่ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
    นอนหงายจับบริเวณศอก ข้อมือและนิ้วมือ ให้ เหยียดตรง
    ยกแขนขึ้นจนติดศีรษะ แล้วเอาลง สลับกันShoulder_pain-02
  2. ท่ากางแขนพร้อมหมุนออก
    นอนหงายจับข้อศอก ข้อมือและนิ้วมือให้อยู่ใน แนวตรง แล้วกางแขนออกห่างจากลำตัว พร้อมหมุนแขนออก (ฝ่ามือหงายขึ้น) จากนั้นหุบแขนเข้า ทำสลับ                              Shoulder_pain-03
  3.                                                                                                                                                                ท่ายืดสะบักไปด้านหน้าและกลับด้านหลัง
    นอนตะแคงวางแขนผู้ป่วยบนแขนท่อนล่างของเรา จัดให้ข้อศอกอยู่ในแนวตรง มืออีกด้านจับบริเวณสะบักให้ออกแรงที่มือด้านนี้   ขยับสะบักมาด้านหน้าจนสุดแล้วดันกลับไปด้านหลัง ทำสลับกัน                           Shoulder_pain-04   
  4.  ท่าเหยียดแขนไปด้านหลัง
    นอนตะแคง มือด้านหนึ่งจับที่ศอก อีกด้านจับที่นิ้วมือให้เหยียดตรง ญาติช่วยขยับแขนไปด้านหลัง จากนั้นเคลื่อนกลับที่ข้างลำตัว                                                               Shoulder_pain-05
  5. ท่างอและเหยียดข้อมือและนิ้วมือ
    นอนหงายหรือนั่งจับมือผู้ป่วยแล้วขยับข้อมืองอและเหยียดสลับกัน สำหรับนิ้วมือให้จับแบบมือให้สุดและกำมือ ดังภาพ ในกรณีมีหลังมือบวมให้เน้นแบบมือ ห้ามกำมือโดยเด็ดขาด                   Shoulder_pain-06
  6.   ท่านั่งจัดให้ผู้ป่วยนั่งเท้าแขน หรือจัดหมอนรองรับ ดังภาพ                                  Shoulder_pain-07             Shoulder_pain-08.jpg                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                             www.sansiriphysiotherapy.com