ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุบางนา-สาขาพระราม 2

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ แบริ่ง 36


Leave a comment

ภาวะติดเชื้อที่ปอดในผู้สูงอายุ(Pneumonia)

images (1)

โรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อที่สามารถเกิดแรกซ้อนในผู้สูงอายุ วัยทำงานและเด็ก
สำหรับบุคคลส่วนใหญ่สามารถรักษาเองได้บ้าน ทานยา พักผ่อน หายภายใน1-2 สัปดาห์
แต่จะส่งผลได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุทารกอาจต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
การได้รับเชื้อโรคอาจเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสก็ได้ที่จะก่อให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อ
ผู้สูงอายุอาจมีโรคเรื้อรังอื่นรวมด้วยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายเช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ภาวะสำลักในผู้สูงอายุ
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สาเหตุ
1.การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปเช่น ไข้หวัดสายพันธ์ุเอ
2.หายใจแบคทีเรียจากจมูกและคอลงปอด
3.การสำลักอาหารและน้ำจากกระเพาะอาหารหรือการสำลักอาเจียนเข้าไปในปอด เนื่องจากมีปัญหาการกลืน(โรคหลอดเลือดสมอง,การชัก)
4.การเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)

อาการ
1.ในบุคคลวัยทำงานมักเริ่มจากเป็นไข้หวัด ไอจาม ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
2.ไอมีเสมหะเป็นสีเขียวหรือสีสนิมมีเลือปน
3.มีไข้สูง-หนาวสั่น
4.หายใจเร็วตื้น
5.เจ็บหน้าอกจากการไอมากๆหรือจาม
6.ชีพจรเต้นเร็วขึ้น
7.รู้สึกเหนื่อยมาก
8.คลื้นไส้อาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรค
1.ประวัติทางการแพทย์(โรคถุงลมโป่งพอง,ภูมิคุ้มกันบกพร่อง,หอบหืด)
2.การตรวจทางร่างกาย(จมูก,คอ,ระบบการกลืน)
3.การ ถ่ายภาพรังสีปอด
4.ตรวจสอบประเภทของเชื้อโรคจากสิ่งคัดหลั่ง น้ำมูก เสมหะเป็นต้น

การรักษา
1.การใช้ยาปฏิชีวนะ
2.ถ้าสูงอายุ>60ปี มีอาการพร่องออกซิเจน มีการให้ออกซิเจน Keep O2>95%
3.มีการดูดเสมหะในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถ ไออกเองได้
4.ในกรณีมีภาวะพร่องการกลืนจากโรคหลอดเลือดสมองแพทย์อาจพิจารณาให้อาหารทางสายยาง
5.ตรวจติดตามภาพรังสีของปอดเป็นระยะ

การป้องกัน
1.หลีกเลียงคนที่มีภาวะติดเชื้อ
2.อยู่ห่างจากบุคคลที่เป็นไข้หวัด(ญาติงดเยี่ยมหรือใส่หน้ากากอนามัย)
3.แจ้งเจ้าหน้าที่ดูแลทุกครั้งเพื่อขอคำแนะนำขณะเข้าเยี่ยม
4.ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด                                                                                                                          5.เฝ้าระวังในผู้ป่วยที่มีอาการเส้นเลือดสมองตีบ อาจมีภาวะแทรกซ้อน ปอดอักแสบ                                  6.มีปัญหาภาวะการกลืน สำลัก

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

 www.nursingthailand.org


Leave a comment

ภาวะกลืนลำบากในผู้สูงอายุ

     467478309.jpg

       ภาวะกลืนลำบากเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ และพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยหลายด้าน เช่น เป็นสาเหตุของการหายใจขัด ไอ หายใจไม่ออก ทั้งยังนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่น ภาวะขาดน้ำ ขาอาหาร การสำลักอาหารเข้าปอดทำให้เกิดการติดเชื้อ มีการอุดตันของทางเดินหายใจส่วนบนเกิดขึ้นบ่อยๆ บางรายอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจึงสำคัญมาก ได้รับเกียรติจาก คุณสมจิต รวมสุข นักกิจกรรมบำบัด หัวหน้างานแก้ไขการพูด ศูนย์สิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาแนะนำขั้นตอนและแนวทางการฟื้นฟูอันเป็นประโยชน์ ทั้งต่อผู้ป่วยและญาติผู้ดูแล

ภาวะกลืนลำบาก หมายถึง ภาวะที่ผู้ป่วยประสบความยากลำบากในการเริ่มต้นกลืนอาหาร หรือความยากลำบากในการเคลื่อนอาหารหรือของเหลว จากปากให้ผ่านคอหอย และหลอดอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร อาการที่บ่งชี้ว่าอาจมีภาวะกลืนลำบาก ได้แก่ ไม่สามารถกลืนได้ มีอาหารตกค้างกระพุ้งแก้ม รู้สึกเจ็บขณะกลืน มีน้ำลายไหล เสียงแหบเครือหลังการกลืน อาหารไหลย้อนกลับออกทางปาก และไอหรือสำลักขณะกลืน เป็นต้น

devour.jpg

ก่อนเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูแก้ไขปัญหาการกลืน ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นในระยะใดของขั้นตอนการกลืน ซึ่งมีทั้งหมด 3 ระยะ ได้แก่

• ระยะช่องปาก (Oral phase) เป็นระยะของการบดเคี้ยวและคลุกเคล้าอาหารกับน้ำลายภายในช่องปาก  ทำให้อาหารชิ้นเล็กลงเหมาะกับการกลืน โดยมีลิ้นช่วยในการเคลื่อนย้ายอาหารจากช่องปาก ไปยังคอหอยและหลอดอาหาร

• ระยะคอหอย (Pharyngeal phase) เป็นระยะที่เกิดขึ้นหลังจากอาหารผ่านต่อมทอนซิลลงมายังคอหอย กล้ามเนื้อหลายมัดบริเวณคอหอยจะถูกกระตุ้นให้ทำงานร่วมกัน โดยหดตัวรับอาหารต่อจากลิ้นแล้วส่งต่อไปยังหลอดอาหาร ในระยะนี้หลอดลมจะถูกปิดกั้นชั่วขณะ เพื่อป้องกันไม่ให้อาหารไหลเข้าสู่หลอดลมและปอด

• ระยะหลอดอาหาร (Esophageal phase) เป็นระยะที่หลอดอาหารจะบีบตัวและลำเลียงอาหารไปสู่กระเพาะอาหาร เพื่อทำการย่อยต่อไป

ผู้ป่วยที่พบส่วนใหญ่มักมีปัญหาในระยะช่องปาก หรือระยะช่องปากร่วมกับระยะคอหอย ในกรณีนี้นักกิจกรรมบำบัดสามารถให้การแก้ไขฟื้นฟูได้ ยกเว้นในรายที่เกิดปัญหาในระยะหลอดอาหาร เช่น หลอดอาหารตีบ จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์เฉพาะทาง

 

download.png

การบำบัดฟื้นฟู

โดยทั่วไปการบำบัดฟื้นฟู สามารถแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ การบำบัดฟื้นฟูทางตรง และการบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม

• การบำบัดฟื้นฟูทางตรง เช่น การฝึกบริหารกล้ามเนื้อในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมริมฝีปาก ลิ้น และขากรรไกรได้ไม่ดี เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ตัวอย่างท่าบริหารดังกล่าว ได้แก่ อ้าปากกว้าง แลบลิ้น เม้มริมฝีปากแน่นแล้วคลายออก ทำปากจู๋สลับฉีกยิ้ม เป็นต้น

• การบำบัดฟื้นฟูทางอ้อม เช่น การดูแลด้านโภชนาการ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหารและน้ำ เนื่องจากในการฝึกกลืนระยะแรกๆ ผู้ป่วยอาจไม่สามารถรับประทานอาหารได้อย่างเพียงพอ เพราะรับประทานได้น้อยในแต่ละมื้อ จึงควรจัดให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร 5-6 มื้อต่อวัน และอาจพิจารณาเสริมอาหารทางการแพทย์ร่วมด้วย อาหารสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะกลืนลำบาก ควรเป็นอาหารที่มีการดัดแปลงเนื้ออาหาร โดยพิจารณาจากลักษณะอาการของผู้ป่วยเป็นสำคัญ ในกรณีที่ผู้ป่วยเพิ่งเริ่มรับประทานอาหารทางปาก หรือไม่สามารถเคี้ยวอาหารหยาบได้ อาหารควรเป็นอาหารที่ได้รับการปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน เหมือนอาหารเด็ก ช่วยให้กลืนได้ง่าย เช่น โจ๊กปั่นข้น โยเกิร์ตครีม ไข่ตุ๋น ฟักทองบด กล้วยขูด เป็นต้น อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลว และอาหารที่มีเนื้ออาหารหลายรูปแบบ เพราะทำให้สำลักได้ง่าย เมื่อผู้ป่วยเริ่มเคี้ยวได้บ้าง อาจปรับอาหารเป็นโจ๊กข้น ข้าวต้มข้นๆ หรือไข่ลวก ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนหรือดัดแปลงรูปแบบอาหารได้ โดยพิจารณาจากพัฒนาการด้านการกลืนของผู้ป่วย

ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดจะเป็นผู้ให้คำแนะนำในส่วนนี้ นอกจากนี้อาจมีการปรับท่าทาง ดูว่าท่าทางแบบใด ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอาหารได้ง่ายที่สุด ซึ่งต้องมีการทดสอบดูก่อนว่าท่าใดที่จะช่วยให้ผู้ป่วยตอบสนองต่อการกลืนได้ง่ายที่สุด

จากการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟูจะมีภาวการณ์กลืนที่ดีขึ้นกว่า 50% บางรายสามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติอีกครั้ง ในขณะที่บางรายสามารถเปลี่ยนจากการรับประทานโจ๊ก มาเป็นข้าวสวยนิ่มๆ ได้ สำหรับระยะเวลาในการบำบัดจนเห็นพัฒนาการจะอยู่ที่ประมาณ 6-8 สัปดาห์ ทั้งนี้ต้องอาศัยความมุ่งมั่นตั้งใจของผู้ป่วย บวกกับความร่วมมือจากญาติผู้ดูแลร่วมด้วย ซึ่งปัญหาที่พบในการดูแลผู้ป่วยฝึกกลืน คือ การที่ผู้ดูแลแอบป้อนอาหารที่ถูกห้ามให้กับผู้ป่วยด้วยความสงสาร จุดนี้นับว่าเป็นอันตรายมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยสำลัก เกิดปัญหาปอดติดเชื้อตามมาจนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลกันมาหลายรายแล้ว จึงอยากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด ทั้งหมดนี้ก็เพื่อประโยชน์ของตัวผู้ป่วยเอง

โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

http://www.sansirihomecare.com

ติดต่อเยี่ยมชมสถานที่ 096-405-1562

 


Leave a comment

ภาวะโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

ภาวะโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ

โรคกระดูกพรุนเป็นภาวะที่มวลกระดูกลดลงและโครงสร้างการเรียงตัวภายในของกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมไป ซึ่งจะทาให้กระดูกเปราะบางและเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก

บุคคลที่เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน ได้แก่ บุคคลที่ ใช้สเตอรอยด์ในรักษาโรคเป็นระยะเวลานาน มีโรคตับหรือไทรอยด์ มีดรรชนีมวลกายน้อยกว่า19 กิโลกรัม/เมตร2 สูบบุหรี่ มีประวัติล้มบ่อย

Untitled.pngj

สาเหตุของโรค

1การไม่ได้รับแคลเซียมที่เพียงพอ โดยเฉพาะในช่วงวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว ทำให้มวลกระดูกไม่หนาแน่น และกระดูกพรุนได้ง่าย
2.กรรมพันธุ์ ซึ่งมีโอกาสเป็นสูงถึง 80% ส่วน 20% นั้นขึ้นอยู่กับลักษณะในการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย
3.การทานยาแก้โรคบางอย่างที่นำไปสู่การลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น คอร์ติโซนยาแก้โรคหืดยาเฮปาริน การรักษาโดยการฉายรังสี หรือการให้สารเคมี เป็นต้น
4.การสูบบุหรี่ และดื่มสุราเป็นประจำ

5.การดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำอัดลม ชา เป็นต้น ทำให้กระดูกเสื่อมง่ายขึ้น
6.การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนของหญิงวัยหมดประจำเดือน ทำให้ประสิทธิภาพในการดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น

Untitled.pngkk

7.การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำในวัยชรา ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนเพิ่มขึ้น
8.การสูญเสียแคลเซียม ผ่านทางผิวหนัง ปัสสาวะและอุจจาระ และไม่ได้รับการทดแทนเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก
9.การไม่เคลื่อนไหวหรือออกกำลังกาย เมื่อวัยชราโรคกระดูดพรุนเกิดขึ้นรุนแรง ถ้าขาดการออกกำลังกาย และการสูญเสียความแข็งแรงของกระดูก มักเกิดขึ้นในช่วงที่ไม่ได้เคลื่อนไหว เช่น ในขณะนั่งรถเข็น หรือนอนพักฟื้น
10.ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดีมีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเมื่อได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ

การป้องกันภาวะกระดูกพรุน
            1. ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร โดยเฉพาะกลางแจ้งตอนที่มีแดดอ่อน เช่น เวลาเช้า หรือเย็น 
            2. เมื่อมีความเจ็บป่วยไม่ว่าจากสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัด หรือเคลื่อน ไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย 
            3. รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ปลากระป๋อง ซึ่งสามารถรับประทาน กระดูกปลาได้ หรือดื่มนมพร่องไขมันเนย ผักผลไม้ เป็นต้น 
            4. งดการดื่มสุรา และสูบบุหรี่ 
            5. ไม่ควรซื้อยารับประทาน เช่น ยาลูกกลอน เพราะมักจะมีสารเสตียรอยด์ผสมอยู่ ทำให้กระดูกพรุนได้โดยไม่รู้ตัว

โรคกระดูกพรุน ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้อยลง และมักมีอาการเจ็บป่วยได้ง่าย ดังนั้น จึงควร ดูแลผู้สูงอายุ ป้องกันเอาไว้ก่อนที่จะสายเกินไปนะคะ

ความรู้โดยนักกายภาพบำบัด  นางสาวพิมพ์ธัญญา  หมันเทศมัน  ก.11044


Leave a comment

โรคตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ

images

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุกับโรคที่พบ

โรคเพมฟิกัส (pemphigus) เป็นโรคตุ่มน้ำพองเรื้อรังที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ โดยมีการสร้างแอนติบอดีที่มาทำลายการยึดเกาะของเซลล์ผิวหนัง ผิวหนังจึงหลุดลอกออกจากกันโดยง่าย ทำให้เกิดอาการตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ เป็นโรคที่พบไม่บ่อย มีรายงานอุบัติการณ์ 0.5 – 3.2 รายต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยที่เป็นโรคมักมีอายุเฉลี่ยที่ 50 – 60 ปี อย่างไรก็ตาม โรคนี้สามารถพบได้ทุกวัย รวมถึงในเด็ก เพศชายและหญิงมีโอกาสเกิดโรคเท่ากัน

อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพอง หรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกาย หรือเยื่อบุ โดยที่ 50 – 70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังโดยเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้

นอกจากนี้ อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่นๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย ส่วนอาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่น ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

  โรคเพมฟิกัสแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่
1.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นลึก (pemphigus vulgaris) ซึ่งพบบ่อยที่สุด
2.โรคเพมฟิกัสที่มีการแยกตัวของผิวหนังในชั้นตื้น (pemphigus foliaceus)

สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งมีการสร้างภูมิต้านทานต่อเซลล์ผิวหนังและเยื่อบุของตนเอง ร่วมกับปัจจัยทางพันธุกรรมและ
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การได้รับยาที่มีผลต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย มีบทบาทร่วมกันในการก่อโรค

images (1)

อาการและอาการแสดง
อาการหลักที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์คือ ตุ่มน้ำพองหรือแผลถลอกเรื้อรังที่บริเวณร่างกายหรือเยื่อบุ โดยที่ 50-70% มีอาการแผลในปากเรื้อรังเป็นอาการแรก
ซึ่งอาจนำมาก่อนอาการทางผิวหนังเฉลี่ยประมาณ 5 เดือน โดยทั่วไปจะตรวจไม่พบตุ่มน้ำในช่องปาก มักพบเป็นแผลถลอกที่บริเวณเหงือก กระพุ้งแก้ม หรือเพดานปาก รอยถลอกอาจพบเป็นบางบริเวณหรือกระจายทั่วทั้งปาก ทำให้มีอาการเจ็บปวดมาก และอาจเกิดรอยโรคที่บริเวณกล่องเสียง ทำให้มีอาการเสียงแหบได้ นอกจากนี้อาจพบรอยโรคที่บริเวณเยื่อบุอื่น ๆ เช่น หลอดอาหาร ทำให้กลืนเจ็บ เยื่อบุตา เยื่อบุทางเดินหายใจ เยื่อบุช่องคลอด อวัยวะเพศ ทางเดินปัสสาวะ และทางเดินอุจจาระได้ด้วย

อาการทางผิวหนังจะพบตุ่มน้ำพองเกิดขึ้นเองบนผิวหนังปกติ หรืออาจพบบนผิวหนังที่มีผื่นแดงนำมาก่อน ลักษณะตุ่มน้ำจะเป็นตุ่มน้ำที่แตกออกได้ง่าย (flaccid bullae) กลายเป็นรอยถลอก ร่วมกับสะเก็ดน้ำเหลือง แผลถลอกมักจะขยายออกไปจนกลายเป็นแผ่นใหญ่ (รูปที่ 2, 3) ทำให้เกิดอาการปวดแสบมาก เมื่อแผลหายจะทิ้งรอยดำโดยไม่เป็นแผลเป็น

การวินิจฉัยแยกโรค
ต้องวินิจฉัยแยกโรคในกลุ่มตุ่มน้ำพองที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ โดยเฉพาะโรคเพมพิกอยด์ (bullous pemphigoid) เนื่องจากเป็นอีกโรคที่พบบ่อย สามารถแยกจากกันได้จากลักษณะตุ่มน้ำในโรคเพมพิกอยด์จะเป็นตุ่มน้ำเต่งแตกยาก (tense bullae) และพบแผลในเยื่อบุเพียง 20-30% ลักษณะทางชิ้นเนื้อในโรคเพมพิกอยด์จะพบการแยกชั้นผิวหนังบริเวณรอยต่อของหนังแท้และหนังกำพร้า (subepidermal separation) และการตรวจพิเศษทางอิมมูนจะพบการเรืองแสงเป็นเส้นที่บริเวณรอยต่อของหนังกำพร้าและหนังแท้ต่อ IgG และ C(IgG and C3 deposit in basement membrane zone)

การรักษา
ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน ในช่วงที่โรคกำเริบ การรักษามีจุดประสงค์ในการลดการเกิดตุ่มน้ำใหม่และเร่งการสมานแผลให้เร็วที่สุด ยาที่ใช้รักษาหลักคือยาสเตียรอยด์ชนิดรับประทานโดยใช้ในขนาดสูง 0.5-1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของโรค ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคมากหรือมีผื่นในบริเวณกว้าง จำเป็นต้องได้รับยากดภูมิคุ้มกันชนิดอื่นๆ เช่นยา cyclophosphamide หรือยา azathioprine ร่วมด้วย แล้วค่อย ๆ ปรับลดยาลงช้า ๆ โดยใช้ยาที่น้อยที่สุดที่จะควบคุมโรคได้ ยาอื่น ๆ ที่อาจเป็นทางเลือกในการรักษาร่วมกับยาสเตียรอยด์ ได้แก่ยา dapsone หรือยา mycophenolic acid

การพยากรณ์โรค
โรคกลุ่มนี้เป็นโรคเรื้อรัง อาจมีอาการโรคกำเริบและสงบสลับกันไป ผู้ป่วยบางรายอาจเข้าสู่ระยะโรคสงบหลังรักษา 3-5 ปี แต่มีผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องได้รับการรักษาต่อเนื่องเป็นเวลานานและอาจเสียชีวิตจากความรุนแรงของโรคหรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา ผู้ป่วยที่มีอายุมาก เป็นรุนแรง มีผื่นในบริเวณกว้าง จะมีพยากรณ์โรคไม่ดี ผู้ป่วยเพมฟิกัสชนิดตื้น มักมีความรุนแรงน้อยกว่าและตอบสนองต่อการรักษาดีกว่า

คำแนะนำสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น
1. ควรมาพบแพทย์สม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาหรือปรับลดยาเอง
2. ควรทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ บริเวณที่เป็นแผลให้ใช้น้ำเกลือทำความสะอาด ใช้แปรงขนอ่อนทำความสะอาดลิ้นและฟัน ไม่แกะเกาผื่น
3. ผู้ป่วยมีภาวะภูมิต้านทานต่ำจากยาที่ใช้รักษา จึงควรหลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อ
4. ไม่มีข้อห้ามในการรับประทานอาหาร ในผู้ป่วยที่มีแผลในปาก ควรงดอาหารรสจัด งดรับประทานอาหารแข็ง เช่น ถั่ว ของขบเคี้ยว เนื่องจากอาจกระตุ้นการหลุดลอกของเยื่อบุในช่องปาก
5. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดคับ เพื่อลดการถลอกที่ผิวหนัง

ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอาจพบได้หลักการดูแล
1.ส่งไปพบแพทย์เพื่ออวินิจฉัยและรับยา
2.ปรับความคิดว่าไม่ได้เป็นโรคที่น่ารังเกียจแต่ควรดูแลและใส่ใจเป็นพิเศษ
3.ดูแลความสะอาดแผลป้องกันการติดเชื้อ
4.ดูแลให้ได้รับยาตามแพทย์

โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

www.nursingthailand.org

 


Leave a comment

ภาวะติดเชื้อที่ปอดในผู้สูงอายุ(Pneumonia)

images (1)

โรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อที่สามารถเกิดแรกซ้อนในผู้สูงอายุ วัยทำงานและเด็ก
สำหรับบุคคลส่วนใหญ่สามารถรักษาเองได้บ้าน ทานยา พักผ่อน หายภายใน1-2 สัปดาห์
แต่จะส่งผลได้มากในกลุ่มผู้สูงอายุทารกอาจต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
การได้รับเชื้อโรคอาจเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสก็ได้ที่จะก่อให้เกิดโรคปอดบวมหรือปอดติดเชื้อ
ผู้สูงอายุอาจมีโรคเรื้อรังอื่นรวมด้วยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายเช่น โรคหอบหืด โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ภาวะสำลักในผู้สูงอายุ
โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

สาเหตุ
1.การหายใจเอาเชื้อโรคเข้าไปเช่น ไข้หวัดสายพันธ์ุเอ
2.หายใจแบคทีเรียจากจมูกและคอลงปอด
3.การสำลักอาหารและน้ำจากกระเพาะอาหารหรือการสำลักอาเจียนเข้าไปในปอด เนื่องจากมีปัญหาการกลืน(โรคหลอดเลือดสมอง,การชัก)
4.การเจ็บป่วยเรื้อรังเช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง(COPD)

อาการ
1.ในบุคคลวัยทำงานมักเริ่มจากเป็นไข้หวัด ไอจาม ทานยาแล้วไม่ดีขึ้น
2.ไอมีเสมหะเป็นสีเขียวหรือสีสนิมมีเลือปน
3.มีไข้สูง-หนาวสั่น
4.หายใจเร็วตื้น
5.เจ็บหน้าอกจากการไอมากๆหรือจาม
6.ชีพจรเต้นเร็วขึ้น
7.รู้สึกเหนื่อยมาก
8.คลื้นไส้อาเจียนหรือมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย

การวินิจฉัยโรค
1.ประวัติทางการแพทย์(โรคถุงลมโป่งพอง,ภูมิคุ้มกันบกพร่อง,หอบหืด)
2.การตรวจทางร่างกาย(จมูก,คอ,ระบบการกลืน)
3.การ ถ่ายภาพรังสีปอด
4.ตรวจสอบประเภทของเชื้อโรคจากสิ่งคัดหลั่ง น้ำมูก เสมหะเป็นต้น

การรักษา
1.การใช้ยาปฏิชีวนะ
2.ถ้าสูงอายุ>60ปี มีอาการพร่องออกซิเจน มีการให้ออกซิเจน Keep O2>95%
3.มีการดูดเสมหะในกรณีผู้สูงอายุไม่สามารถ ไออกเองได้
4.ในกรณีมีภาวะพร่องการกลืนจากโรคหลอดเลือดสมองแพทย์อาจพิจารณาให้อาหารทางสายยาง
5.ตรวจติดตามภาพรังสีของปอดเป็นระยะ

การป้องกัน
1.หลีกเลียงคนที่มีภาวะติดเชื้อ
2.อยู่ห่างจากบุคคลที่เป็นไข้หวัด(ญาติงดเยี่ยมหรือใส่หน้ากากอนามัย)
3.แจ้งเจ้าหน้าที่ดูแลทุกครั้งเพื่อขอคำแนะนำขณะเข้าเยี่ยม
4.ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัด