Parkinson
พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิสภาพที่ basal ganglia บริเวณ substantia nigra ทำให้มีการผลิตสารสื่อประสาทที่ชื่อ สารโดปามีนน้อยลง ส่งผลให้สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงานของกล้ามเนื้อ
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่
ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทาน หากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน
ลักษณะอาการในระยะแรกที่ชัดเจนในผู้ป่วยพาร์กินสัน คือปัญหาด้านกล้ามเนื้อ ดังนี้
– akinesia (มีปัญหาในการเริ่มการเคลื่อนไหว)
– bradykinesia (การเคลื่อนไหวช้า)
– muscle rigidity (กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง)
– resting tremor (มีอาการสั่นขณะพัก)
– abnormalities of posture, gait, and balance (มีลักษณะการเดินที่ช้าลง ไหล่งุ้ม และล้มง่าย)
อาการอื่นๆที่พบคือ
– การเขียนตัวอักษรเล็กลง
– มีปัญหาด้านการพูด แบบ dysarthria
– ขณะเดินมีการแกว่งแขนน้อยลง
– เดินแบบก้าวสั้นๆ และโน้มตัวไปก่อนที่จะก้าวขา ที่เรียกว่า shuffling gait
– ไม่ค่อยกระพริบตา มีอาการตาแห้ง
– มีอาการเครียด วิตกกังวล
– มีปัญหานอนไม่หลับและมีความดันโลหิตลดลง
– ผิวหนังมีปัญหา เช่น รังแค หรือผิวมันผิดปกติ
– เกิดอาการความดันตกในขณะเปลี่ยนท่า ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้ม
– การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ
– สูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย
– มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการรับความรู้สึก เช่น มีอาการปวด ชา ปวดแสบร้อน ปวดศีรษะ
ปวดหลังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน
การรักษาโรคพาร์กินสัน
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้
การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร
บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน
1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)
- ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา
– musculoskeletal problem (ปัญหาเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อ)
– cardiopulmonary condition (ปัญหาเรื่องหัวใจและปอด)
– psycho-social deteriorate
- พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพโดย ใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น
- ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
- ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
การรักษาโรคพาร์กินสัน
ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้
การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร
บทบาทนักกายภาพบำบัดในการดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน
1.ประเมินความสามารถในการทำกิจกรรมและประเมินระยะของโรค (stage of the disease)
- ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นตามมา
– musculoskeletal problem (ปัญหาเรื่องกระดูกและกล้ามเนื้อ)
– cardiopulmonary condition (ปัญหาเรื่องหัวใจและปอด)
– psycho-social deteriorate
- พยายามพัฒนาการเคลื่อนไหวให้มีคุณภาพโดย ใช้วิธีการออกกำลังกายซึ่งถือว่ามีความสำคัญมากในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถ จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหว ร่างกายในชีวิต ประจำวันได้ดีขึ้น
- ให้ความรู้และแนะนำการปฏิบัติตนให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล
- ถ้าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายควรสอนวิธีการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์